ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการและคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำ: กรณีศึกษาแมคโดนัลด์ จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

กฤษดา เชียรวัฒนสุข
สุกัญญา ใจดี
ศุภลักษณ์ บุญโส
กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ และคุณค่าของตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำแมคโดนัลด์ของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ กลุ่มผู้บริโภคอาหารแมคโดนัลด์ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ


            ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านอาชีพที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำแมคโดนัลด์ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานีแตกต่างกัน  2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการในด้านกระบวนการให้บริการด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์/บริการ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำแมคโดนัลด์ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี ตามลำดับ และ 3) ปัจจัยคุณค่าของตราสินค้าในด้านความภักดีต่อตราสินค้า และด้านการรับรู้คุณภาพตราสินค้า ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำแมคโดนัลด์ของผู้บริโภค ในจังหวัดปทุมธานี ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2551). การจัดการและการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ฐานเศรษฐกิจ. (2560). ‘เคเอฟซี-แมคโดนัลด์’ปรับทัพใหม่ ขายเฟรนไชส์-ทุ่มงบสู้ศึกดูดลูกค้าตลาดฟาสต์ฟูด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thansettakij.com/general-news/128639.

นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 181-188.

บุญไทย แสงสุพรรณ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). คุณค่าของตราสินค้าและปัจจัยส่วนประสมการตลาด บริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคกาแฟร้านคาเฟ่อเมซอน สาขาในห้างสรรพสินค้า จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 47-59.

วริทธิ์ คงกิจเชิดชู และวัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2562). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนแบบ Takeaway ในพื้นที่ศูนย์กลางทางธุรกิจ. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 8(2), 85-95.

วิพัฒตรา เที่ยงมาก, กิตติพร จินพระ, อารยา อิ่นคำ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2565). คุณค่าตราสินค้าและส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยของผู้ประกอบการร้านอาหารตามสั่งในเขตอำเภอเมืองและอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 11(2), 1-12.

อริยชัย สังข์สุวรรณ และปาลิดา ศรีศรกำพล. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารรูปแบบ Fast Casual ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 15(1), 229-237.

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity. New York: Free Press.

Brand Buffet. (2020). 7 กลยุทธ์ “แมคโดนัลด์” ขอเป็นแบรนด์ในใจลูกค้า – ทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์ม – โฟกัส Personalization. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.brandbuffet.in.th/2020/08/mcdonalds-thailand-business-strategies/.

Chen M. L. (2002). Empirical study on the determinants of repurchase intention in different life cycles of customers. J. Management World, 11, 93–107.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons Inc.

Curtis, T. (2009). Customer Satisfaction, Loyalty, and Repurchase: Meta-Analytical Review, and Theoretical and Empirical Evidence of Loyalty and Repurchase Differences. Dissertation of business administration, Nova Southeastern University.

Gundlach, G. T., and Wilkie, W. L. (2009). The American Marketing Association's new definition of marketing: Perspective and commentary on the 2007 revision. Journal of Public Policy & Marketing, 28(2), 259-264.

Hazée, S., Vaerenbergh, V. Y., and Armirotto, V. (2017). Co- creating service recovery after service failure: The role of brand equity. Journal of Business Research, 74(1), 101–109.

Husain, R., Ahmad, A., and Khan, B. M. (2022). The impact of brand equity, status consumption, and brand trust on purchase intention of luxury brands. Cogent Business & Management, 9(1), 2034234.

Marketeer. (2022). ส่องธุรกิจร้านอาหารบริการด่วน มูลค่า 45,000 ล้าน ในไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://marketeeronline.co/archives/273778