การให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่มารับบริการด้านงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียน คำนวณตามสูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน่ จำนวน 356 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test และ F-test ตามลำดับ
ผลการวิจัยพบว่า
- การให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ รองลงมาคือด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ
- ผลเปรียบเทียบระดับการให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ที่จำแนกตามตามคุณลักษณะส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพโดยภาพรวม พบว่าประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ไม่แตกต่างกัน
- ข้อเสนอแนวทางในการให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ควรเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ สิ่งอำนวยความสะดวก และสถานที่ ที่ใช้สำหรับการติดต่อประสานงานให้มีเพียงพอต่อประชาชนที่มารับบริการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
บุษกร รังษีภโนดร และธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). คุณภาพของการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ปิยณัฐ จันทร์เกิด. (2560). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลนครนครสวรรค์ ตามการรับรู้ของประชาชน. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐแนวใหม่.
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 6(1). (2565). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hii.or.th. (วันที่ค้นข้อมูล: 7 ธันวาคม 2565).
รมัทร์ ขันแก้ว และพิชิต รัชตพิบุลภพ. (2561). คุณภาพการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, ฉบับเสริมครบรอบ 12 ปี, 174 -184.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2565). หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 250. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.kpi.ac.th. (วันที่ค้นข้อมูล: 7 ธันวาคม 2565).
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Edition). Harper and Row: New York.