การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการจัดการเรียนรู้แบบActive Learning ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย 2. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย 3. เพื่อทดลองการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากนักศึกษาที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning แบบวัดความสามารถในการเรียนรู้ แผนการจัดกิจกรรมและ แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและ วิเคราะห์ข้อมูลการหาค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 4 ลักษณะ ได้แก่ การเรียนเพื่อรู้ การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติ การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน และการเรียนรู้เพื่อชีวิต จึงควรมีการวางแผนและกำหนดจุดมุ่งหมายในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ และวิธีการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และผลของแบบสอนถามพบว่า การสรุปองค์ความรู้ และการสะท้อนความคิดของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก ( = 4.33) 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.49) 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยพบว่าโดยภาพรวมทุกด้านมีค่าร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 43.81 4. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = 0.37)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กมลวรรณ ทิพยเนตร. (2561). การพัฒนาครูในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ฉัตรชัย วีระเมธีกุล. (2559). การนำวิธีการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (Active Learning) มาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_25602561/PDF/8364e/ 8364.
ดิเรก พรสีมา. (2559). ครูไทย 4.0. มติชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.matichon.co.th/news/345042.
ประวิต เอราวรรณ์. (2562). โครงการการสังเคราะห์ระบบและแนวทางการปฏิรูปการพัฒนาวิชาชีพครู : จากแนวคิดการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา.
พีระพร รัตนาเกียรติ์ และกนกวรรณ ศรีวาปี. (2563). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษาไทย 4.0: ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราพร เอราวรรณ์. (2562). การตัดเกรดการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
วราลักษณ์ ชูกำเนิด, เอกรินทร์ สังข์ทอง และชวลิต เกิดทิพย์. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 12(2), 123-134.
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 135-145.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สรวงพร กุศลส่ง และฐิติโชติ กุศลส่ง. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงการโดยใช้ ICT เพื่อส่งเสริมความสามารถในการรู้คิดเชิงระบบสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 142-169.
สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริม การจัดการเรียนรู้เชิงลึก (Active Learning). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://academic.obec.go.th/images/.
Bonwell, Chareles c., and James. A. Eison. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Report No. 1. Washington, D. C. The George Washington University, School of Education and Human Development.
Felder, R. & Brent, R. (1996). Navigating the Bumpy Road to Student-Centered Instruction. Journal of College Teaching, 44(2), 43-47.
Meyers, C., & Jones, T. B. (1993). Promoting Active Learning: Strategies or the College Classroom. San Francisco: Josey-Bass Publishers.
Robbins, S. P. (2001). Organizational Behavior. New Jersey: Prentice Hall.