คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ: กรณีศึกษา ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ สังกัดทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการ สังกัดทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ จำนวน 189 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าที และความแปรปรวนทางเดียว กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ สังกัดทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุงานต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ลักษณะงาน ระดับตำแหน่ง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ สถานภาพสมรส ต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
คมสัน สุขฤทธิ์, ยุภาพร ยุภาศม และภักดี โพธิ์สิงห์. (2562, 1-2 พฤศจิกายน). คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เขต 4. ในวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแแก่น, การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5 (น. 777-786). ขอนแก่น.
ประภารัตน์ พรมเอี้ยง, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, มธุรส ทิพยมงคลกุล และฉลีวรรณ บุญสุยา. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 769-778.
สุนิภา ชินวุฒิ, กฤษณา อุไรศรีพงศ์ และจุฑามาศ วงจันทร์. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 30(3), 90-103.
สำราญ วิชาโคตร และพิชัยรัฐ หมื่นด้วง. (2565, มกราคม-มิถุนายน). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่น. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(1), 73-86.
Goforth, C. (2015, 16 November). Using and Interpreting Cronbach’s Alpha. [Online]. Available from: https://data.library.virginia.edu/using-and-interpreting-cronbachs-alpha/. (accessed: 6 February 2023)
Lau, R. S. M., and May, B. E. (1998, Fall). A win‐win paradigm for quality of work life and business performance. Human Resource Development Quarterly, 9(3), 211-226.
Walton, R.E. (1973, Fall). Quality of Working Life: What is it?. Sloan Management Review, 15(1), 11–21.
Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd Edition). New York: Harper and Row.