การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การเรียนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์ส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมแพศึกษา

Main Article Content

ธีรภัทร นาหนองตูม
ประวิทย์ สิมมาทัน
ทรงศักดิ์ สองสนิท

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การเรียนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์ส 2) เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์ส 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์ส กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ห้อง 7 โรงเรียนชุมแพศึกษา จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์ส แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทีซีที-ดีพี แบบบันทึกการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกอนุทินและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การเรียนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์ส เป็นการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนคือ 1.กระตุ้นความสนใจ 2.ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ 3.ค้นคว้าและคิด 4.นำเสนอและ 5.ประเมินผล ผู้เรียนได้รวมกลุ่มตั้งคำถามและศึกษาสิ่งที่สนใจ ภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์สซึ่งอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีพื้นที่ให้ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ได้ตามต้องการ สามารถเข้าทบทวนและแบ่งปันความรู้กับผู้อื่นได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา 2) ผู้เรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนอยู่ในระดับสูง และ 3) ผู้เรียนมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา พูลลาภ. (2563). การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานสำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเปิดตามแนวคิดคอนเน็คติวิสต์ซึม เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ภวิสาณัชช์ ศรศิริวงศ์. (2564). ห้องเรียนเสมือนจริง Virtual Classroom. วารสารศึกษาสาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 81–93.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วิพรพรรณ ศรีสุธรรม. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยาศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิมลพรรณ จูฑะพงศ์ธรรม. (2561). การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยการจัดการเรียนรู้แบบ สร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับเว็บสนับสนุนรายวิชา วิชาการใช้งานโปรแกรมกราฟิก สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2559). ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช!. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (28 พฤศจิกายน 2560). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การคิดเชิงสร้างสรรค์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ocsc.go.th/node/3934.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2560). กระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานในกระบวนวิชา CEE2205 (ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็ก). วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(2) ,1-8.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานกับกิจกรรมพหุปัญญา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(5), 371-384.

สุธีรา งามเกียรติทรัพย์. (2564). การสร้างบรรยากาศในการเรียนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์. วารสารนิตยสารเสียงธรรมจากมหายาน, 7(1), 23-34.

อรวรรณ อุดมสุข. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับสื่ออินโฟกราฟฟิกที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย เรื่อง กาพย์พระไชยสุริยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารพิกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 20(1), 289-307.

Jellen, H.G., & Urban, K.K. (1989). Assessing Creative Potential World-wide: the First cross – cultural Application of the Test for Creative Thinking-drawing Production (TCT-DP). Gifted Education International, 6, 78-86.