การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม องค์ความรู้บูรณาการวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

แขก บุญมาทัน

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของหลักสูตร  2) สร้างและทดลองนำร่องหลักสูตร  3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน  4) ประเมินหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมองค์ความรู้บูรณาการวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็น โดยสังเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร และวัฒนธรรม 30 คน  2) สร้างและทดลองนำร่องหลักสูตรด้วย 2 กิจกรรมคือ 2.1) จัดทำหลักสูตรและตรวจสอบด้วยการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน  2.2) หาประสิทธิภาพหลักสูตรโดยทดลองใช้กับนักเรียน 2 ครั้ง  3) ทดลองนำร่องหลักสูตรและและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนกับนักเรียน 30 คน แบบ One Group Pre- Posttest Design  4) ประเมินหลักสูตรกับครู ผู้ปกครองและนักเรียน 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรมีความจำเป็นมากที่สุด  2) หลักสูตร มี 4 หน่วยการเรียนรู้ คือ 1) ครอบครัวและบทบาทหน้าที่ของฉัน 2) การดูแลคนในครอบครัว 3) การช่วยเหลืองานตามหน้าที่ 4) การประพฤติตนให้เหมาะสม เน้นการปฏิบัติจริงโดยใช้การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง  3) หลักสูตรมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 94.20/96.44  4) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 5) ผลการประเมินหลักสูตรอยู่ระดับดีมากที่สุด (gif.latex?x\bar{}  = 4.77, S.D. = 0.15)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหงประเทศไทย.

จิราภา กุลชาติ. (2557). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุรีไซเคิล เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ปริญญา กศ.ม.). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2551). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์: แนวคิดพื้นฐานและวิธีการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิพวรรณ สังขศิลา. (2559). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ปริญญา ปร.ด.). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

ปัทมา มาริปุนภพ. (2547). การจัดการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นในวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2553. (2553, 4 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 127 ตอนที่ 69 ก หน้า 29-39.

สมพร สุทัศนีย์. (2554). มนุษยสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายฝน หล้าสุดตา. (2558). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมือง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (ปริญญา กศ.ม.). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). สำรวจข้อมูลการละเมิดสิทธิสตรีในประเทศไทย. รวมงานวิจัย พ.ม. ระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2556. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/article_attach/ 12781/ 17037.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/ 1sT2vOQeRinY--F24YfWYEU3FrzsBQVPa/view.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชากรไทยขึ้น โดยใช้ข้อมูลจาก การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อารีวรรณ แก้วดอนหัน. (2562). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม มหัศจรรย์หนอนไหม กลุ่มสาระการเรียนรู้้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.

อุดม เชยกีวงศ์. (2545). หลักสูตรท้องถิ่น: ยุทธศาสตร์ปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

Bennelt, R. (2003). “Communication in Service Marking”, in R.M.Janet (Eds) Services Marketing: A Managerial Appoach. Milton, Old John Willey & Sons Australia.

Oestreich. (2003). Socail Studies Curriculum Development in BeliZe. Jo Beth Babcoek.

Stufflebeam, D. L. (2003). The CIPP model for evaluation. In T. Kellaghan, & D. L. Stufflebeam (Eds.), the international handbook of educational evaluation. (pp. 31–62). Dordrecht, Holland: Kluwer.