การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) เรื่อง พื้นฐานตัวโน้ตดนตรีสากล เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

เมธิชา ฮวดเส็ง
จุไรศิริ ชูรักษ์
ปรีดา เบ็ญคาร

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรม 2) สร้างและหาคุณภาพของชุดกิจกรรม และ 3) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนระโนดวิทยา จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 6) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากล และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรม ต้องการให้ชุดกิจกรรมมีสื่อที่หลากหลาย จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม มีการวัดและประเมินผลโดยการทำแบบฝึกหัดและสอบปฏิบัติหน้าชั้นเรียน 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.93 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4) ความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 5) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

เกริก ท่วมกลาง และจินตนา ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: บริษัทสถาพรบุ๊ค จำกัด.

ฉัตรชัย จิรลาภวิรุฬห์ และอสมา มาตยาบุญ. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิชาดนตรีสากลโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 9(2), 752-763.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรม : การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ. นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซต์แอนปริ้นติ้ง.

ฒิชากร ปริญญากาญจน์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องการบวกและการลบเลข. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนกฤต แสนทวีสุข. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเมโลเดียน สำหรับชมรมดนตรีโรงเรียนบ้านคำสมอ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นัทพงษ์ เทเวลา. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีสากล สำหรับนักเรียนชมรมดนตรี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นิตยา ลิ่มสนิท. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนมัลติมีเดียเพื่อพัฒนาความสามารถ ด้านดนตรีสากลตามแนวคิดโคดาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สาขาหลักสูตรและการสอน.

ภีระเมศร์ ประสิทธิเมธี มีช้าง. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง วงปี่พาทย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

มูลนิธิพิณแก้ว. (2553). ประเด็นพิจารณาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้วิชาดนตรีสากลของประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://jintakeetatopic.blogspot.com. (วันที่ค้นข้อมูล: 4 มกราคม 2565).

รัฐวิชญ์ ทักขนนท์. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลโดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.

David Agwu, Udu. (2018). Efficacies of Cooperative Learning Instructional Approach, Learning Activity Package, and Lecture Method in Enhancing Students' Academic Retention in Chemistry. Science Education International, v(24), 220-227.

Kayler, Mary Anne Metot. (1999, October). Middle School Students’ Perceptions of Cooperative Learning. Dissertation Abstracts International, 61(4), 1071 – A.

Richard M, Cangro. (2004). The Effects of Cooperative Learning Strategies on The Music Achievement of Beginning Instrumentalists. University of Hartford ProQuest.

Saylor, J.G., W. Alexander and A.J. Lewis. (1981). Curriculum Planning for better Teaching and Learning. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Slavin, R. E. (1990). Cooperative Learning: Theory, Research, and Practice. Englewood Cliff, N. J.: Prentice-Hall.