รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยการสร้างฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนหมู่ 6 ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ เจริญงามเสมอ
พรรณี โรจนเบญจกุล
ทิพย์วารินทร์ เบ็ญจนิรัตน์
จตุพร อุ่นประเสริฐสุข
ศศิเพ็ญ ครุธชั่งทอง
รุ่งตะวัน เมืองมูล
จิรวัฒน์ สุดสวาท

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักท่องเที่ยว 2) เพื่อยกระดับสินค้าให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน และ3) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุคใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ ชุมชนหมู่ 6 ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ดำเนินการวิจัยโดยสร้างฐานการเรียนรู้ 5 ฐาน คือ (1) ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (2) ฐานการเรียนรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์ (3) ฐานการเรียนรู้การเพาะปลูกพืช (4) ฐานการเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ และ(5) ฐานการเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชและ/หรือสัตว์ ต่อด้วยการยกระดับสินค้าให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน โดยจัดสนทนากลุ่มและถอดบทเรียนการพัฒนาฐานเรียนรู้ทางการเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน การทำชาจากดอกมะลิ และพัฒนาการทำเพจเฟซบุ๊กเพื่อความสามารถในการแข่งขัน


            ผลการวิจัย พบว่า 1) สามารถสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงฐานการเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน โดยใช้รูปแบบการบรรยายตามฐานต่าง ๆ ให้ความรู้เรื่องเกษตรผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สามารถบริหารจัดการได้โดยมีเครือข่ายชุมชน มีระดับความพึงพอใจ 4.80 อยู่ในระดับมากที่สุด 2) การยกระดับสินค้าให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน เป็นการพัฒนาเครื่องดื่มสมุนไพรจากดอกมะลิเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในด้านสีสันของผลิตภัณฑ์จากดอกมะลิมากที่สุด ผลิตภัณฑ์ของชุมชนสามารถสะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชนได้เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน และ3) การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุคใหม่ มีการจัดสร้างเพจเฟซบุ๊กเป็นรูป “ฐานการเรียนรู้เกษตรผสมผสาน” มีความทันสมัยน่าสนใจ และทำให้ผู้ร่วมวิจัยมีรายได้เพิ่มขึ้น ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในระดับมาก และการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุคใหม่ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2018/11/.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 26 กุมภาพันธ์ 2564.

บางเดี่ยว กันทิสา และฤาเดช เกิดวิชัย. (2558). การทำการเกษตรผสมผสานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาหมู่บ้านเกษตรก้าวหน้า หมู่ที่ 14 ต.ซับสนุ่น อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.journal. grad.ssru.ac.th/downloads/journal/7-1/14.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 20 มีนาคม 2564).

ปอยหลวง บุญเจริญ และณัฏฐริกา กงสะกุ. (2565). การออกแบบของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 46-57.

มงคล วงษ์พูล, สวรส วรรณพราหมณ์ และมนัญญา คำวชิระพิทักษ์. (2565). การพัฒนาชาเขียวมะลิผสมมะตาด (Dillenia indica Linn.) และสารทดแทนความหวาน เพื่อเป็นแนวทางการผลิตเป็นชาพร้อมดื่ม สินค้าชุมชนชาวมอญ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 17(1), 100-110.

วิสาข์นุช บานไม่รู้โรย, ทวีศักดิ์ กิจขจร และวินัย หอมสมบัติ. (2565). ผลของภาวะผู้นำที่เน้นความรู้และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนผ่านปัจจัยองค์ประกอบของนวัตกรรมองค์กร: หลักฐานจากอุตสาหกรรม New S-curve ของประเทศไทย. Asia Pacific Management Review, 27(3), 200-209.

Berg, G. (2009). Plant–microbe interactions promoting plant growth and health: perspectives for controlled use of microorganisms in agriculture. Applied microbiology and biotechnology, 84, 11-18.

Fung Rong. (2565). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชาดอกไม้: ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกอัตลักษณ์แห่งยูนนาน. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/59920395.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 20 มีนาคม 2566).

Gowdy, E. A., & Pearlmutter, S. (1993). Economic self-sufficiency: It's not just money. Affilia, 8(4), 368-387.

Hunter, C., & Green, H. (1995). Tourism and the environment: A sustainable relationship?. Routledge.

Kent, M. L. (2013). Using social media dialogically: Public relations role in reviving democracy. Public relations review, 39(4), 337-345.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”, Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York: Wiley & Son.

Mont, O., Palgan, Y. V., Bradley, K., & Zvolska, L. (2020). A decade of the sharing economy: Concepts, users, business and governance perspectives. Journal of cleaner production, 269, 122215.

Wisansing, J. J., & Vongvisitsin, T. B. (2019). 10 Local impacts of creative tourism initiatives. A research agenda for creative tourism, 122.