ผลของการสอนโดยใช้รูปแบบซิปปาในรายวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง

Main Article Content

ฤทธิศักดิ์ สดคมขำ
อภินันต์ อันทวีสิน
รตินันท์ จินดา
พิไลรัตน์ ศรีวิเชียรอำไพ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบซิปปาในรายวิชาแคลคูลัส 1  2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการเรียนรู้ของนักศึกษาของการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบซิปปาในรายวิชาแคลคูลัส 1  3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงกึ่งทดลองในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็น นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 86 คน ได้ทำการสุ่มแบบเจาะจงนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน ในรายวิชา แคลคูลัส 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียนและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบซิปปา ในรายวิชา แคลคูลัส 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2) การเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบซิปปาส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม มีการตื่นตัวในการเรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะในการวางแผนและสามารถใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการเรียนมากเพิ่มขึ้น  3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการสอนโดยใช้รูปแบบซิปปา ในรายวิชา แคลคูลัส 1 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (gif.latex?x\bar{}  = 4.56, S.D. = 0.58) อีกทั้ง ยังส่งผลให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวในการเรียน สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะการทำงานเป็นกลุ่มและสามารถใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการเรียนมากเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ฆนัท ธาตุทอง. (2554). สอนคิด:การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: เพชรเกษมการพิมพ์.

จิตรลดา เฮงชัยโย และอินทิรา รอบรู้. (2562). ผลสัมฤทธิ์และเจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปา. วารสาร มมร วิชาการล้านนา, 8(1), 40-48.

ชัชวาลย์ บัวริคาน. (2559). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 91-101.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ.

ทิศนา แขมมณี. (2557). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: CIPPA MODEL. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอส.พริ้นติ้ง ไทย แฟคตอรี่.

ประทีป โกมลมาศ. (2546). ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในบริบทของการอุดมศึกษาไทยสู่ความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. จุลสารมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 24(138), 2-3.

ปัทมา เล็กยินดี. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแปลความ และทักษะการตีความเรื่อง สิ่งแวดล้อมในภูมิภาค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยรูปแบบซิปปา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครังที่ 3). กรุงเทพฯ: 3- คิว มีเดีย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมวงษ์ แปลงประสพโชค. (2558). การสรางชุดฝกปฏิบัติวิชาแคลคูลัส 2 สําหรับนักศึกษาเอกคณิตศาสตรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 10(2), 123-131.

สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ พว.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร.

อารีย์วรรณ กันตา. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาแคลคูลัส 1 เรื่อง ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชันโดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปา สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพชบูรณ์. เพชบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

อุษาพร เสวกวิ และแน่งน้อย ทรงกำพล. (2562). โมเดลซิปปาชุดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้โมเดลซิปปา. Ratchaphruek Journal, 17(2), 1-13.

Creswell, J. W., & Poth, C. N. (2016). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five approaches. Sage publications.

Hiebert, J., & Lefevre, P. (1986). Conceptual and procedural knowledge in mathematics: An introductory analysis. In J. Hiebert (Ed.), Conceptual and procedural knowledge: The case of mathematics. Lawrence Erlbaum Associates, Inc.

Makanong, A. (2011). Mathematical skills and processes (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Ministry of Education. (2002). The basic education core curriculumB.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.

Thita, S., & Ariya, K. (2020). The local context-based instructional model of the 21st-century career skills development for primary students in Chiangrai. In RSU International Research Conference 2020 (pp. 1011-1019).