การศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารความเสี่ยงในการบริหารจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารความเสี่ยงในการบริหารจัดการเรียนรู้ของ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้บริหารและครูวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จำนวน 156 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นของการบริหารความเสี่ยงในการบริหารจัดการเรียนรู้ของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ในภาพรวมพบว่า การจัดการความเสี่ยง มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมาคือ การติดตามผล การประเมินความเสี่ยง การระบุความเสี่ยง และการกำหนดวัตถุประสงค์ ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จรัญ พะโยม, ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์ และปาจรีย์ ผลประเสริฐ. (2561). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(45), 157-169.
จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์
ดุษิต สว่างศรี และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2566). การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร, 14(1), 1-16.
เธียรรัตน์ ไชยโรจน์ และเอกชัย กี่สุขพันธ์. (2557). การนำเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(3), 271-285.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9 ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรตี ประทุมสุวรรณ์, บัญชา ชลาภิรมย์ และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2562). กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1) : 188 – 211.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://159.192.130.156/web/school-notes/?page=school-ONET-P6-2560&school_id=&year=2561&module=1.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: กลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
COSO. (2017). Enterprise Risk Management. Integratingwith Strategy and Performance: Committee of Sponsoring Organizations of the TreadwayCommission. ISBN: 978-1-94549-886-2.