ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของผู้ซื้อสินค้าโอทอป บนแพลตฟอร์มออนไลน์

Main Article Content

ศิริกานดา แหยมคง
ชัชวาล ภานุศุภนิรันดร์

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์การวิจัยมี 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ ความพึงพอใจอิเล็กทรอนิกส์ ความไว้วางใจอิเล็กทรอนิกส์ ความจงรักภักดีอิเล็กทรอนิกส์ และความตั้งใจซื้อซ้ำของผู้ซื้อสินค้าโอทอปบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของผู้ซื้อสินค้าโอทอปบนแพลตฟอร์มออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าโอทอปบนแพลตฟอร์มออนไลน์ จำนวน 348 คน เลือกกลุ่มอย่างโดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า ความไว้วางใจอิเล็กทรอนิกส์ และความจงรักภักดีอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ และคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ โดยมีความไว้วางใจอิเล็กทรอนิกส์ ความพึงพอใจอิเล็กทรอนิกส์ และความจงรักภักดีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นตัวแปรส่งผ่าน นอกจากนี้ ความพึงพอใจอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ โดยมีความจงรักภักดีอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวแปรส่งผ่าน ดังนั้น การวางแผนและพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อใช้เป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้าโอทอป ผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นยกระดับคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ ความพึงพอใจอิเล็กทรอนิกส์ ความไว้วางใจอิเล็กทรอนิกส์ และความจงรักภักดีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ซื้อมีความตั้งใจซื้อซ้ำสินค้าโอทอปบนแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมถึงมีพฤติกรรมซื้อบ่อย และซื้อปริมาณมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาชุมชน. (2564). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี พ.ศ. 2562-2565. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://cep.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/108/2020/06/OTOPActionPlan62.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 5 กันยายน 2566)

__________. (2567). ประเภทของผลิตภัณฑ์โอทอป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://cep.cdd.go.th/otop-data/ผลิตภัณฑ์-otop. (วันที่ค้นข้อมูล: 12 กันยายน 2566)

__________. (2567). รายงานการจำหน่ายสินค้าตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ปีงบประมาณ 2566. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://logi.cdd.go.th/otop/cdd_report/otop_r10.php?&year=2566& org_group=0. (วันที่ค้นข้อมูล: 12 กันยายน 2566)

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx. (วันที่ค้นข้อมูล: 6 กันยายน 2566)

กรีน เน็ตเวิร์ค. (2565). พช. -ปณท. -ป.ปัน วิสาหกิจเพื่อสังคม ชูแพลตฟอร์ม Jubjaai.com เชื่อมสินค้า OTOP ช่วยชุมชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.greennetworkthailand.com/jubjaai-สินค้า-otop/. (วันที่ค้นข้อมูล: 10 กันยายน 2566)

เกศสิริ ปั้นธุระ. (2556). การรับรู้คุณค่าและการตั้งใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคต่อสินค้าอาหารโอทอป. วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์, 5(3), 201-230.

เขมรัตน์ บุญหล่อสุวรรณ์. (2563). การศึกษาประสบการณ์การใช้งานดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนการสอนของครู. (การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ฉันธะ จันทะเสนา. (2562). ตัวแปรที่มาก่อนของการตั้งใจซื้อซ้ำในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 11(1), 34-64.

บิวณิชา พุทธเกิด. (2565). อิทธิพลของคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์และความไว้วางใจต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของการซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 14(3), 145-158.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18, 375-396.

ปิยพงษ์ สัจจาพิทักษ์. (2560). อิทธิพลของการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่มีต่อความไว้วางใจของผู้บริโภคในตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของสินค้าโอทอป. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปุณยวีร์ วีระพงษ์. (2565). คุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน กรณีศึกษา : Grab Food. (สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

โพสต์ทูเดย์. (2566). “ไทยดีเวอร์” แพลตฟอร์มออนไลน์ใหม่ ซื้อขายสินค้า OTOP/SME. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www. posttoday.com/general-news/698852. (วันที่ค้นข้อมูล: 10 กันยายน 2566)

ภณิชชา รุ่งรัชพันธ์. (2563). การรับรู้คุณภาพบริการ ความพึงพอใจและความไว้วางใจที่ส่งผลต่อความภักดี ในการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน Shopee. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลัดดาวัลย์ โชคถาวร, กาญจนา สุคัณธสิริกุล และสรียา วิจิตรเสถียร. (2563). การพัฒนาแบบจําลองเชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อซ้ำของผู้บริโภค จากการซื้อสินค้าผ่านร้านค้าปลีกออนไลน์. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 108-127.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13, 2566-2570). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=13651&filename=develop_issue. (วันที่ค้นข้อมูล: 7 กันยายน 2566)

สุชาติ ไตรภพสกุล. (2561). แบบจำลองสมการโครงสร้างคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่อความพึงพอใจและความตั้งใจซื้อซ้ำของลูกค้า: กรณีศึกษาการซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 40(158), 24-52 .

สุตาภัทร คงเกิด. (2559). การพัฒนาแบบจำลองของความภักดีอิเล็กทรอนิกส์ในการซื้อสินค้าทางเว็บไซต์. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุริยา สนภู่. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการซื้อสินค้าประเภทสินค้าตกแต่งบ้านออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม E-Marketplac. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไอริณย์ สมบูรณ์. (2560). แบบจำลองความตั้งใจกลับมาซื้อสินค้าของลูกค้า: การศึกษาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C ในประเทศไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(18), 258-276.

Arya, S. & Srivastava, S. (2015). Effects of User’s Primary Need on Relationship between E-Loyalty and its Antecedents. Indian Institute of Management Calcutta, 42(4), 419-449.

Bulut, Z. A. (2015). Determinants of Repurchase Intention in Online Shopping: a Turkish Consumer’s Perspective. International Journal of Business and Social Science, 6(10), 55-63.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL. London: Sage Publications.

Emamdin, M., Singh, J. S. K., & Fah, J. S. K. (2020). Role of E-trust, E-loyalty, and E-satisfaction on Online Buying Behavior among Millennials in Kuala Lumpur, Malaysia. Global Business and Management Research: An International Journal, 12(3), 1-16.

Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Evaluating Structural Equation Models with Unobservable Variables and Measurement Error. Journal of Marketing Research, 18(1), 39–50.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (1998). Multivariate Data Analysis. (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

__________. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Kurup, A.J. & Jain, P. (2018). Effect of E-Loyalty Cues on Repurchase Behavioral Intentions Among Online Shoppers. Indian Journal of Marketing, 48(11), 1-7.

Miao, M., Tariq J., Zaman, S. I., Khan S., Hanif, N. A. & Javed, M. K. (2021). The Influence of E-Customer Satisfaction, E-Trust and Perceived Value on Consumer’s Repurchase Intention in B2C E-Commerce Segment. Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics, 34(10), 2184-2206.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Malhotra, A. (2005). ESQUAL: A Multiple Item Scale for Assessing Electronic Service Quality. Journal of Service Research, 7(3), 213-233.

Purnamasari, I., & Suryandari, R. T. (2023). Effect of E-Service Quality on E-Repurchase Intention in Indonesia Online Shopping: E-Satisfaction and E-Trust as Mediation Variables. European Journal of Business and Management Research, 8(1), 155-161.

Roy, S. K. & Butaney, G. T. (2014). Customer’s Relative Loyalty: an Empirical Examination. Journal of Strategic Marketing, 22(3), 206-221.

Saglam, M. & Jarrar, M. (2021). The Effects of E-Satisfaction, E-Brand Loyalty and E-Trust Levels on Consumer Behavioral Intentions: A Study on Online Shoppers in Turkey. Journal of International Trade, Logistics and Law, 7(2), 30-43.

Saodin & Sunarti, S. A. Z. (2019). The Influence of E-Service Quality toward E-Satisfaction, E-Trust, E-Word of Mouth and Online Repurchase Intention: A Study on The Consumers of The Three-Star Hotels in Lampung. RJOAS, 9(93), 27-38.

Schober, P., Boer, C., & Schwarte, L. A. (2018). Correlation Coefficients: Appropriate Use and Interpretation. Anesthesia & Analgesia, 126(5), 1763-1768

Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2016). A beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. (4th ed.). New York:Routledge.

Shafiee, M. M. & Bazirgan, N. A. (2018). Behavioral Customer Loyalty in Online Shopping: The Role of E-Service Quality and E-Recovery. Journal of theoretical and applied electronic commerce research, 13(1), 26-38.

Shanti Nugrahani, D., Astuti, W., & Harsono, H. (2022). The Role Of E-Trust As Mediation Effect Of E-Service Quality on Online Purchase Intention at Consumer SMEs Culinary Sector in Special Region of Yogyakarta. PENANOMICS: International Journal of Economics,1(3), 289-300.

Sharma, S. (1996). Applied Multivariate Techniques. John Wiley and Sons Inc., New York.

Singh, S. (2017). Examining Factors Influencing Customer Loyalty and Repurchase Intentions in Online Shopping: An Indian Perspective. IMR (Indira Management Review), 11(2), 76-87.

Stevens, J. (2009). Applied Multivariate Statistics or the Social Sciences. (5th ed.). Hillsdale, NJ:Lawrence Erlbaum Associates, Inc.

Wandoko, W., Haryanto, B. & Panggati, I. D. (2023). The Influence of E-Trust and E-Satisfaction on Customer E-Loyalty toward Online Shop in E-Marketplace during Pandemic Covid-19. E3S Web of Conferences, 388, 1-9.