การวิเคราะห์องค์ประกอบความทนทานทางใจของ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจความทนทานทางใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1,292 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัดความทนทานทางใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 18 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.405-0.737 และมีความค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.911 ใช้การสกัดองค์ประกอบแบบวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและมุมแกนแบบมุมฉาก ด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบความทนทานทางใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้งหมด 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดการอารมณ์ ประกอบด้วย 9 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 9, 13, 18, 4, 14, 19, 10, 15 และ 7 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.500 – 0.687 2) การทบทวนอย่างมีสติ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 21, 17และ 8 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.542-0.737 3) การตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 5, 6 และ 12 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.547-0.811 และ 4) ความเชื่อมั่นในตนเองและการมีสัมพันธภาพที่ดี ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 22, 20 และ 2 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.578-0.645
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
พฤติกรรมทางปัญญาต่อความทนทานทางจิตใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 274-295.
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2561). Mindfulness – สติ. https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/ mindfulness.
จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2557). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชยพล มั่นจิต. (2563). ความสัมพันธ์ของความเข้มแข็งในการมองโลก. วารสารพุทธจิตวิทยา, 5(2), 18-24.
ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร และเทียนทอง หาระบุตร. (2561). ความสุขกับการสร้างสัมพันธภาพ. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(1), 236-247.
ฏาว แสงวัณณ์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสติ การกำกับอารมณ์แบบปรับเปลี่ยนความคิด การกำกับอารมณ์แบบเก็บกด และสุภาวะทางจิต. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จิตวิทยา, สาขาจิตวิทยา.
ทิชา ณ นคร. (2560). ถอดบทเรียนบ้านกาญจนา ฯ อาชญากรเด็กคือผลลัพธ์ของสังคม. https://www.hfocus.org/ content/2017/01/13372.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การประยุกต์ใช้SPSSวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ปตท. (ม.ป.ป.). 70 พลังความดีที่พ่อให้. https://pubhtml5.com/mwfp/nytc/basic/.
ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. (2551). คู่มือจัดกิจกรรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจสำหรับบุคลากรสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ภริณ ธนะโชติภน และเพ็ญณี แนรอท. (2564). สาเหตุการออกกลางคันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จังหวัดขอนแก่น. Journal of Modern Learning Development, 6(3), 58-68.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2555). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่. (2564). สารสนเทศทางการศึกษาปีการศึกษา 2564. https://shorturl.asia/WdZ6p.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2566-2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. https://shorturl.asia/5djYO.
อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2563). จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัว: ซันต้าการพิมพ์.
Clough, P. J., Earle, K., & Sewell, D. (2002). Mental toughness: The concept and its measurement. London: Thomson.
Fourie, S., & Potgieter, J. R. (2001). The nature of mental toughness in sport. South African Journal for Research in Sport, Physical Education and Recreation, 23(2), 63-72.
Hoover, A. J. (2006). A study of student-athletes’ and coaches’ views on mental toughness. (The Degree Master of Arts in the Graduate School of Marietta College). Marietta College.
Loehr, J. E. (1995). The new mental toughness training for sports. New York,
Strycharczyk, D., & Clough, P. (Eds.). (2018). Developing mental toughness in young people: Approaches to achievement, well-being, employability, and positive behavior. Routledge.
St Clair-Thompson, H., Bugler, M., Robinson, J., Clough, P., McGeown, S. P., & Perry, J. (2015). Mental toughness in education: Exploring relationships with attainment, attendance, behaviour and peer relationships. Educational Psychology, 35(7), 886-907.
Tabachnick, G. & Fidell, S. (2013). Using Multivariate Statistics. United States of America. Allyn; & Bacon.