ผลการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 และการใช้เกมเป็นฐาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

วิธววรธน์ สีชื่น

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนรู้ตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 และการใช้เกมเป็นฐาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 40 คน ดำเนินการจัดการกลุ่มตัวอย่าง เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแบบสุ่ม 2 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน กำหนดให้กลุ่มทดลองได้รับจัดการเรียนรู้ตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 และการใช้เกมเป็นฐาน และกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบปกติ โดยทำทดลอง 8 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการรู้วิชาพลศึกษาตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 และการใช้เกมเป็นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 5 ฉบับ ทำการวัดก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า “ที” t – test


            ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพลศึกษา. (2562). คู่มือแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของเด็ก เยาวชนและประชาชนไทย. กรุงเทพฯ: กรมพลศึกษา สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). จำนวนนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://web.archive.org/web/20200215203103/http://sis.dla.go.th/reports/ report02.jsp. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 พฤษภาคม 2565).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

นลินี ดวงเนตร. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาหลักสูตรและการสอน.

นันทนัช นรภักดิ์สุนทร และสุธนะ ติงศภัทิย์. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดนีโอฮิวแมน นิสที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 8(1), 111-124.

ปนิษฐา เรืองปญญาวุฒิ. (2556). ผลของการจัดการเรียนรูวิชาพลศึกษาโดยใชเกมการละเล่นพื้นบ้านไทยที่มีตอสุขสมรรถนะของนักเรียนประถมศึกษา. (ปริญญานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

ภัทรพงศ์ รัตนกาญจน์. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักการทรงงานของรัชกาลที่ 9 และทฤษฎีพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อเจตคติในการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารทางอิเล็กโทรนิค คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 15(1).

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). ปรัชญา หลักการ วิธีการสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทางการพลศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

วรัตต์ อินทสระ. (2562). Game Based LearningThe Latest Trend Education 2019 เปลี่ยนห้องเรียน เป็นห้องเล่น. เอกสารประกอบการอบรมและปฏิบัติการ “เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้องเล่น” [Game Based Learning] หน้า 7.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2556). เป้าหมายของการจัดกิจกรรมทางกายในสถานศึกษาใหสอดคลองกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ, 39(1), 16-39.

วิธวรรธน์ สีชื่น. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 และแนวคิดระบบพี่เลี้ยง ที่มีต่อเจตคติในการเรียนวิชาการสอนฟุตบอลของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา. เพชรบูรณ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.

วิศรุฒน์ เอมสมบูรณ์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบสอนโดยใช้เกมเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาหลักสูตรและการสอน.

ศรันย์ รื่นณรงค์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2560). ปรัชญาการศึกษาไทยตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 (การศึกษาสมบูรณ์). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ห้องสมุดมั่นพัฒนา. (2560). หลักการทรงงานเรื่องแรงระเบิดจากข้างใน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.manpattanalibrary.com/. (วันที่ค้นข้อมูล: 25 กันยายน 2560).

อรพิมล กิตติธีรโสภณ. (2552) การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สาขาวิชาพลศึกษา.

Karl M. Kapp. (2012). The Garmification of Learning and instruction. อ้างอิงจาก กิตติพงศ์ ม่วงแก้ว. (2562). “การพัฒนาเกมเพื่อการศึกษา รายวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร”. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 2(4), 108-119.

Kerlinger, N.F. (1986). Foundations of Behavioral Research. (3rd ed). New York: Holt Rinehard & Winston,Inc..

Morin, A. (2014). Understanding executive functioning issues. USA: UNDERSTOOD.

Wiersma, William. (2000). Research Methods In Education. (7th ed). Boston: Allyn and Bacon.