แนวทางการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศด้านกีฬาของสำนักงานกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศด้านกีฬาของสำนักงานกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์ ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 400 คน โดยใช้ตารางการประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่ และ มอร์แกน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารสำนักงานกีฬา จำนวน 3 ท่าน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ งานวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.99 และค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ที่ 0.91 การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ที่มีต่อสภาพปัญหาปัจจุบันในการบริหารจัดการด้านกีฬาของสำนักงานกีฬา ภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2) แนวทางการบริหารจัดการ ตามกรอบทฤษฎี (POLC) มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และโครงสร้างงานที่ชัดเจน ต้องกำกับติดตามการดำเนินงาน สร้างแรงจูงใจในการทำงาน มีนโยบายบายการปฏิบัติงาน แต่ยังขาดการประชุมติดตามเพื่อแก้ไขปัญหา ต้องกำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินผล ต้องเพิ่มงบประมาณจากภายในและภายนอก เพื่อนำมาพัฒนาสำนักงานกีฬา ทฤษฎี (4M) ต้องบริหารกำลังคนให้เกิดประสิทธิภาพ ใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดผลสูงสุด การบริหารวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมเกิดประโยชน์ ด้านการจัดการต้องมีการวิเคราะห์ในเชิงลึก เชิงบูรณาการ และเชื่อมโยงกับการกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย แผนงาน 3) ควรมีการวางแผนและสร้างระบบกลไกในการทำงาน โดยกำหนดวัตถุประสงค์และขั้นตอนที่ชัดเจน ร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอก การจัดการองค์กรควรมีโครงสร้างตามระเบียบทางราชการ กำหนดบทบาท หน้าที่ ให้สอดคล้อง ราบรื่น และไม่ทับซ้อนกัน ควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาอย่างครบถ้วน กำหนดภาระบทบาท การปฏิบัติงาน ควรจัดทำขั้นตอนและรายละเอียดของงานให้ชัดเจน มีการวัดผลการทำงานและแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
เกศรินทร์ วิมลธาดา และจรัสพงศ์ คลังกรณ์. (2564). การจัดการส่งเสริมการกีฬาและการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเมืองของจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 410-425.
จิตติ ชนะฤทธิชัย. (2554). การศึกษาการบริหารจัดการสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชีวิน อ่อนละออ, สุชาติ บางวิเศษ และกานท์ แสนเภา (2565). แนวทางการบริหารจัดการด้านการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศของการกีฬาจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 10(3),154-164.
ณัฐชานิตย์ ธนธรรมพานนท์. (2556). แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารจัดการศูนย์กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ สถาบันการพลศึกษา. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกาลังกายและการกีฬา.
ธนภณ นิธิเชาวกุล. (2562). การจัดการการตลาด: เอกสารคำสอน. ชลบุรี: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีต่อการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ 13 (กรุงเทพมหานคร). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 486-498.
พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). ภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). วารสารวิจัยมหาวิทยาลัย เวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 60-71.
วชิระ สุขเจริญ. (2554). การศึกษาการจัดการศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติมวกเหล็ก. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา.
อัษ แสนภักดี. (2558). รูปแบบของปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของกีฬาเพื่อความ เป็นเลิศในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, สาขาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา.
Allen L. A. (1958). Management and Organization. New York: McGraw-Hill
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.