การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของชุมชนหม้อแกงทอง ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

Main Article Content

ณวิญ เสริฐผล

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแหล่งเรียนรู้ของชุมชนหม้อแกงทอง 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของชุมชนหม้อแกงทอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิโดยการทบกวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลปฐมภูมิด้วยการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม (focus group) กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รู้ที่สำคัญ (key informants) จำนวน 25 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) แหล่งเรียนรู้ของชุมชน มี 3 ประเภท คือ (1) แหล่งเรียนรู้ที่เป็นตัวบุคคล คือ ปราชญ์ชาวบ้าน ประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร ปราชญ์ชาวบ้านด้านหมอพื้นบ้าน ปราชญ์ชาวบ้านด้านศิลปวัฒนธรรม และปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม (2) แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ คือ ห้วยหม้อแกงทอง ศาลาประชาคมหรือศาลาอเนกประสงค์ ป่าชุมชน วัดหม้อแกงทอง และศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ (3) แหล่งเรียนรู้ที่เป็นกิจกรรม คือ กิจกรรมด้านประเพณีและวัฒนธรรมในรอบ 12 เดือน ประกอบด้วย การทำบุญข้าวใหม่ การทำบุญในวันมาฆบูชา การบวชสามเณรภาคฤดูร้อน ประเพณีสงกรานต์ การเลี้ยงผีขุนน้ำ การทำบุญในวันอาสาฬหบูชา การทำบุญในวันเข้าพรรษา วันแม่แห่งชาติ การทำบุญในวันออกพรรษา การทำบุญสลากภัต วันลอยกระทง และวันพ่อแห่งชาติ 2) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของชุมชน มี 6 ประการ คือ การมีส่วนร่วม การสร้างแหล่งเรียนรู้ การสร้างปราชญ์ชาวบ้าน การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้ และการสร้างสื่อออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2565). รายงานฉบับพิเศษสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปี 2565. https://www.eef.or.th/wp-content/uploads/2022/02/EEF-2022-year-report.pdf

คณะกรรมการหมู่บ้านหม้อแกงทอง. (2566). แผนพัฒนาหมู่บ้าน บ้านหม้อแกงทอง หมู่ที่ 1 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. เอกสารอันสำเนา.

ชนันภรณ์ อารีกุล. (2564). รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและเครือข่ายการเรียนรู้: การวิจัยแบบพหุกรณีและการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts), 43(6), 106-118.

ชนาธิป บุบผามาศ. (2566). การพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักศึกษาครูปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 18(3), 63-78.

ชนิษฐา ใจเป็ง และชัย พิศแสวง. (2566). แนวทางการพัฒนาศักยภาพปราชญ์ชาวบ้านในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 9(1), 355-371.

เทียนชัย พิสิฐธาดา. (2565). กลยุทธ์การบริหารจัดการเชิงพื้นที่พหุวัฒนธรรมโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านคลองขุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(10), 189-209.

นวภัทร แสงห้าว, จำเนียร พลหาญ และวรวรรณ อุบลเลิศ. (2563). แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(2), 67-74.

นาวา วงษ์พรม. (2560). แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. https://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/187B401A9e4A327wAbW2.pdf.

นิเทศ สนั่นนารี, พลเผ่า เพ็งวิภาศ, เดชา บัวเทศ, จรัส ลีกา และปณิธาน มาลีวงศ์ (2563). โสเหล่เสวนา : บทบาทปราชญ์ชาวบ้าน ในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(4), 266-282.

ปิยะพันธ์ พิชญ์ประเสริฐ, อัจฉรีย์ พิมพิมูล และมาลีรัตน์ ขจิตเนติธรรม. (2562). องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง แนวคิดเดอะบิกซิกและกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มสืบสอบ เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์, 30(3), 174-184.

พันธ์ประภา พูนสิน. (2555). ความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้. http://punaoy.blogspot.com/2009/11/blog-post_8617.html

มิ่งขวัญ คงเจริญ. (2564). แนวทางการพัฒนาและให้บริการแหล่งการเรียนรู้ ใน เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ศษ431การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้. ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/16620/1/Edu-Book-ED431.pdf

วรานันท์ อิศรปรีดา. (2564). การพัฒนาบทเรียนแสวงรู้บนเว็บผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงประเมิน และพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนําตนเองของนักศึกษาครู. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(4), 330-342.

ศิรสิทธิ์ วงษา. (2566). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านทัพยายปอน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 10(3), 312-325.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2565. กองพัฒนาสังคมและตัวชี้วัดสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ.

อภิเดช ช่างชัย, สันติ ศรีสวนแตง และประสงค์ ตันพิชัย (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน:กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 1544-1560.

การสัมภาษณ์

นายณวิญ เสริฐผล การสื่อสารส่วนบุคคล สัมภาษณ์ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566

นายณวิญ เสริฐผล การสื่อสารส่วนบุคคล สัมภาษณ์ วันที่ 2 กันยายน 2566