ผีอารักษ์เกลือ: การจัดการทรัพยากรเกลือในสภาวะสมัยใหม่ กรณีศึกษาหมู่บ้านขาวัว ตำบลพังงู อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้กระบวนการสังเกตุอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์กลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มประชากรวิจัย ได้แก่ ชาวบ้านทำเกลืออย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้นำชุมชนและเจ้าจ้ำ
ผลการวิจัย พบว่า ความเชื่อเรื่องผีอารักษ์เกลือ เป็นภาพสะท้อนของระบบคิดในการจัดสรรทรัพยากรส่วนรวมและเป็นผลผลิตของโครงสร้างระบบคิดทางวัฒนธรรมร่วมของคนในชุมชนโดยเฉพาะชุมชนผลิตเกลือขนาดเล็กที่การเข้าถึงทรัพยากรอื่นเป็นไปอย่างจำกัด เกลือจึงมีความสำคัญทั้งในฐานะความมั่นคงทางอาหาร เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ดังนั้นผีอารักษ์เกลือจึงถูกผลิตซ้ำอย่างเข้มข้นผ่านกระบวนการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้กับอาณาบริเวณผ่านเรื่องเล่าชุดต่าง ๆ เพื่อจำกัดกลุ่มผู้ผลิต รูปแบบ ระยะเวลา ตลอดจนเทคนิคและเทคโนโลยีการผลิต แต่ในกรณีชุมชนที่เพิ่งเข้าสู่การผลิตเกลือในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาจะผลิตเกลือในฐานะสินค้าและวัตถุดิบในกิจการอุตสาหกรรม สิ่งที่ควบคุมการใช้ประโยชน์ไม่ใช่ผีแบบเดิม แต่คือรัฐที่เข้ามาแสดงตัวเป็นเจ้าของ ผ่านบังคับใช้พระราชบัญญัติแร่และกฎหมายฉบับต่าง ๆ ก่อให้เกิดการจัดรูปโครงสร้างระบบคิดทางวัฒนธรรมใหม่ คือ การสร้าง ผีอารักษ์ที่หลากหลายขึ้น อย่างไรก็ตามผีแบบใหม่มีลักษณะความเชื่อแบบปัจเจก ไม่ได้มุ่งเน้นที่การบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับใช้ร่วมกัน แต่เป็นไปเพื่อเชื่อมผู้ผลิตเกลือเข้าตลาดและรัฐ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์, เก็ตถวา บุญปราการ, ชุติมา หวังเบ็ญหมัด, รัชดา ธรรมเจริญ, สุภาวดี ธรรมรัตน์ และนันทรัฐ สุริโย. (2550). สิทธิการเข้าถึงทรัพยากรประมงของชุมชนประมงรอบทะเลสาปสงขลา. (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะศิลปศาสตร์.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2545). ผีเจ้านาย. (พิมพ์ครั้งที่2). เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง, 33.
ธันวา ใจเที่ยง และธเรศ ศรีสถิต. (2558). นิเวศวิทยาป่าแห่งจิตวิญญาณ: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพและระบบนิเวศป่าแห่งจิตวิญญาณของชนเผ่าบรู ในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 20(1), 134-145.
ธีรชัย บุญมาธรรม. (2547). พัฒนาการของการเมืองสารคามพ.ศ.2408-2455. สารคาม: โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองฯ, 62.
นัฐวุฒิ สิงห์กุล. (2556). เกลือและโพแทช การสร้างความรู้และอำนาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติใต้พื้นดินอีสาน กรณีศึกษาโครงการเหมืองแร่โพแทช จังหวัดอุดรธานี. http://nattawutsingh.blogspot.com.
บำเพ็ญ ไชยรักษ์. (2554). บทบาทของเกลือที่มีต่อนิเวศวัฒนธรรมและสุขภาวะชุมชนในลุ่มน้ำสงคราม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปกรณ์ สุขวานิช. (2537). การศึกษาและเลือกสรรพื้นที่เป็นไปได้ในการทำเหมืองแร่โพแทชชนิดซิลไวต์ [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการเทคโนโลยีกับการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น, ประเทศไทย.
ยศ สันตสมบัติ. (2548). ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
ระวีวรรณ โอฬารรัตน์มณี. (2548). ความเชื่อเรื่องผีกับการก่อรูปของเรือนพื้นถิ่นอุษาคเนย์. ในหน้าจั่วว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ฉบับที่ 8 (กันยายน2554-สิงหาคม 2555).
ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. (2541). วัฒนธรรมปลาแดก. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2555). อำนาจ ของ ผี, พราหมณ์, พุทธ. ในงานกิจกรรมแขวนเสรีภาพการแสดงออกทางศิลปะและวิชาการเพื่อเสรีภาพครั้งที่ 1. https://www.youtube.com/watch?v=tP5iHZhrgx.
สุริยา สมุทคุปติ์ และพัฒนา กิติอาษา. (บก.) (2536). ฮีตบ้านคองเมือง : รวมบทความทางมานุษยวิทยาว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมอีสาน. นครราชสีมา: โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทางมานุษยวิทยาของอีสาน ห้องไทยศึกษานิทัศน์ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
เสฐียร พันธรังสี. (2513). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2551). มานุษยวิทยาศาสนา แนวคิดพื้นฐานและข้อถกเถียงทางทฤษฎี. เชียงใหม่: พงษ์สวัสดิ์การพิมพ์, 31.
รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์
นางบุญเรือง ทีเหลา อายุ 66 ปี ชาวบ้านขาวัว ตำบลพังงู อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี สัมภาษณ์ วันที่ 21 มกราคม 2560.
นางสำเนา สีนวล อายุ 61 ปี ชาวบ้านขาวัว ตำบลพังงู อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี สัมภาษณ์ วันที่ 21 มกราคม 2560.
นายจันทร์เผย (นามสมมุติ). ชาวบ้านขาวัว (เจ้าจ้ำ) ตำบลพังงู อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี สัมภาษณ์วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560.
นายบัวพันธ์ สิงห์เสนา.อายุ 78 ปี ชาวบ้านขาวัว ตำบลพังงู อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี สัมภาษณ์ วันที่ 21 มกราคม 2560.
นายประยงค์ เสาร์ดี อายุ 61 ปี ชาวบ้านขาวัว ตำบลพังงู อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี สัมภาษณ์วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560.
นายสุบินทร์ เสาร์ดี อายุ 68 ปี ชาวบ้านขาวัว ตำบลพังงู อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี สัมภาษณ์วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560.