การจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • วีระพงศ์ สว่างลาภ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การจัดการสิ่งแวดล้อม, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบองค์ประกอบการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนประถมศึกษา 2) เพื่อทราบผลการยืนยันองค์ประกอบการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนประถมศึกษา ประชากรของการวิจัย คือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการจำนวน 26,905 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ โรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 100 โรงเรียน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณการขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบแบ่งประเภท ผู้ให้ข้อมูล โรงเรียนละ 3 คน คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ที่ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือครูที่รับผิดชอบกลุ่มงานบริหารงานทั่วไป และครูผู้สอน รวม 300 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามเพื่อยืนยันผลการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล    คือ ความถี่ ร้อยละ  มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า
          1.การจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) กระบวนการการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม มีองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) การดำเนินงานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม 1.2) การประเมินผลการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม 1.3) การพัฒนาและปรับปรุงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม 2) การกำหนดทิศทางและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 3) การสร้างการมีส่วนร่วม 4) การทบทวนและติดตาม 5) การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ทุกองค์ประกอบสามารถอธิบายร่วมกันได้ร้อยละ 68.422
          2. ผลการยืนยันการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์

 

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). ISO 14001. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565. จาก https://www.pcd.go.th/iso.

ขวัญนรี กล้าปราบโจร. (2561). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการปฏิบัติการบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความยั่งยืนขององค์กรของบริษัทที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

จุฑารัตน์ หงษ์จินดา และ จุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการดำเนินงานระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) : กรณีศึกษาบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน). วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม (Journal of Environmental Management) 10 (1) : 81-82.

ชาญชัย อาจินสมามาร. (2558). เด็กกับสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: กรมการฝึกหัดครู.

นัทพงศ์ จันทมาศ. (2561). การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นฉบับ ISO 14001:2015. EAU HERITAGE JOURNAL Science and Technology 12

(3) : 20-21.

บุญถึง นันตะก้านตรง (2560). การบริหารสิ่งแวดล้อมโดยระบบ ISO 14000 และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การภาคอุตสาหกรรม. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 12 (2) : 260.

มาลิน จำแม่น, วิสุทธิ์ สุนทรกนกพงศ์ และณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตกุล. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ จัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001:2004 ของโรงงานในเขตพื้นที่ ไอ พี 5. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม 14 (2) : 521.

มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา. (2563). การจัดสภาวะแวดล้อมในโรงเรียน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2563. จาก.http://phared.org/home/index.php?lang=th

วารี กุนาคำ, ชานินทร์ ศรีสุวรรณภา และณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001:2004 ในโรงงานผลิตสีอุตสาหกรรม เฟส 8 นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจังหวัดชลบุรี. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม 14 (1) : 246.

สรรพสิทธิ์ แก้วเฮ้า. (2565). การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2563). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม พ.ศ.2554-2558 ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2563. จากhttp://www.onesqa.or.th/upload/download/201704271505239.pdf.

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สถิติข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565 [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2566, เข้าถึงได้จากhttp://www.bopp.go.th/?page_id=1828

อลงกรณ์ อินทรทูต และจุฑารัตน์ ชมพันธุ์.(2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) ของอุตสาหกรรมปิโตเคมี: กรณีศึกษาบริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน), ดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ 5, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2558): 17,21-22.

อำนวย วัฒนกรสิริ. (2557). การจัดการสิ่งแวดล้อม. วิชาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม. 1 (1) : 48-51.

Tabachnick, Barbara G. and Fidell, Linda S. (1983). Using Multivariate Statistics. New York: Harper & Row.

Kahloot, Essam, Yaqout, Anwar and Khan, Pattan Bazieth. (2019). The impact of ISO 14001 standards certification on firms’ performance in the state of Kuwait. Journal of Engg 7 (3) : 286.

Arribaz, Jorge Antonio and Mediano, Catalina Martinez. (2018). The impact of ISO quality management systems on primary and secondary schools in Spain. Quality Assurance in Education 26 (1) : 2.

Cronbach, Lee J. (1984). Essentials of Psychological Tests. 4th ed. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-17