การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำของชุมชนแม่เอาะใต้ด้วยแนวคิดนิเวศวิทยาเชิงลึกของอาร์เน เนสส์

ผู้แต่ง

  • Niramon Niramonmonton Ms.

คำสำคัญ:

อาร์เน เนสส์, นิเวศวิทยาเชิงลึก, ป่าต้นน้ำ, ชุมชนแม่เอาะใต้

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มุ่งศึกษานิเวศวิทยาเชิงลึกตามทัศนะของอาร์เน เนสส์ แนวคิดการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำของชุมชนแม่เอาะใต้ และวิเคราะห์การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำของหมู่บ้านแม่เอาะใต้ด้วยแนวคิดนิเวศวิทยาเชิงลึกของอาร์เน เนสส์ จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า นิเวศวิทยาทั่วไปศึกษาความจริงทางธรรมชาติในด้านข้อเท็จจริงที่เป็นรูปธรรมแต่มิได้ศึกษาในเชิงคุณค่า ทำให้ธรรมชาติถูกลดทอนด้วยการประเมินค่าจากมนุษย์ ในขณะที่นิเวศวิทยาเชิงลึกปฏิเสธแนวคิดที่แยกมนุษย์ออกจากสิ่งแวดล้อม สรรพสิ่งบนโลกมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน นอกจากนี้ นิเวศเชิงลึกยังได้เสนอหลักแห่งความเสมอภาค โดยมองว่า ชีวิตทุกรูปแบบมีความเท่าเทียมกันและมีสิทธิที่จะบรรลุเป้าหมายของตัวเอง

          แนวคิดนิเวศวิทยาเชิงลึก สอดคล้องกับแนวคิดของอาร์เน เนสส์ ที่มองว่า มนุษย์เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ และไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ธรรมชาติต้องได้รับการเคารพและยอมรับจากมนุษย์ในฐานะที่เท่าเทียมกัน เพราะสรรพสิ่งมีคุณค่าในตัวเอง ดังนั้น มนุษย์ควรปรับแนวคิดและการกระทำที่ถูกต้องต่อธรรมชาติ งดเว้นการทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และตักตวงผลจากธรรมชาติ เพื่อวิถีชีวิตที่สอดคล้องและเกื้อกูลกัน

          สำหรับแนวคิดการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำของชุมชนแม่เอาะใต้ต่างจากนิเวศวิทยาเชิงลึกของอาร์เน เนสส์ ในส่วนของระบบการคิด คือ ชุมชนแม่เอาะใต้มองว่า มนุษย์อยู่เหนือธรรมชาติ และเป็นผู้ควบคุมสรรพสิ่ง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับมาจากหลักคำสอนของศาสนาคริสต์ ในขณะที่อาร์เน เนสส์ให้ความสำคัญกับทุกชีวิตอย่างเท่าเทียม  และมนุษย์ไม่ได้อยู่เหนือธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม การดำเนินชีวิตของชุมชนแม่เอาะใต้ มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตตามแนวคิดนิเวศวิทยาเชิงลึกตามที่อาร์เน เนสส์ได้เสนอเอาไว้ คือ มีความเรียบง่าย และอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน  

References

Amphaprasert, Ekkaphop. (2014). Use of folk wisdom for community forest con- servation for sustainability of Ban Mae O, Moo10, Tambon Mae Na Chon, Amphur Mae Chaem, Changwat Chiang Mai. Master of Art. ManandEnvironmentalManagement.GraduateSchool,Chiang Mai University.

Arne Naess. (1973). The Shallow and the Deep; Long-Range Ecology Movement. Inquiry. 16: pp. 95-100.

Arne Naess. (1993). Ecology, Community and Lifestyle: Outline of an Ecosophy. Cambridge: Cambridge University Press.

Bunyanet, Nuangnoi. (1994). Environmental Ethics: Worldview in Buddhist Phi- losophy and Western Philosophy. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Cho̜ phaka, Koson. (1999). A Buddhist Paradigm on Deep Ecology. Master’s the- sis. Comparative religion, Mahidol University.

Hirunwong, Tassanee. (2003). Transfer of ecological wisdom of Karen people. In the area of Doi Inthanon National Park. Graduate School, Chiang Mai University.

Inthongpan, Prawet. (2016). Buddhism and Environment. Bangkok: Kasetsart University Press.

Jaifai, Piyamas. (2009). Satish Kumar’s concept of spiritual ecology. Master of Art. Philosophy. Graduate School, Chiang Mai University.

Naess Arne. (1969). Scepticism. New York: Humanities Press.

Phromduang, Thanat. (2007). Learning process in water shortage management in Mae Suek Sub-watershed, Mae Chaem District, Chiang Mai Province. Graduate School, Chiang Mai University.

Phuphakdee, Kanmanee. (2004). Meaning and value of life in the deep ecology of Arne Naess. Master of Arts. Philosophy, Chiang Mai University.

Simongkhon, Kriangsak. (2012). Political and economic movemenic of corn far- mer group in Mae Chaem District, Chiang Mai Province. Master of Political Science. Politics and Government. Graduate School, Chiang Mai University.

Sumettikoon Piyaboot. (2008). The Ecoterrorist’s perception on nature and natural protection. Master of Art. Graduate School, Chiang Mai University.

Thirachamnong, Phianloet. (2000). Participation of Community for The Forest Watershed Conservation in Mae Sanga upstream area Mae Chaem District, Chiang Mai Province. Master of Art. Man and Environmental Management. Graduate School, Chiang Mai University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-12-2018