ประเพณีตักบาตรสองแผ่นดินพื้นที่วัฒนธรรมข้ามพรมแดนไทย-ลาว

ผู้แต่ง

  • songserm serm seangthong 0624463982
  • Phrakru sripariyatyarak มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • Sahathaya Wises มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • Tipaporn Yesuwan มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • Weeradham Panchakhan สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

คำสำคัญ:

ประเพณีตักบาตรสองแผ่นดิน, การสร้างพื้นที่วัฒนธรรม, ข้ามพรมแดน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวน-การสร้างพื้นที่วัฒนธรรมข้ามพรมแดนผ่านประเพณีตักบาตรสองแผ่นดิน ปัจจัยและศักยภาพพื้นที่วัฒนธรรมข้ามพรมแดน และวิเคราะห์ผลกระทบ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในเรื่องวัฒนธรรมข้ามพรมแดนผ่านประเพณีตักบาตรสองแผ่นดิน โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจากประเทศไทยและสปป.ลาว การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม

ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่วัฒนธรรมข้ามพรมแดนไทย-ลาว เป็นพื้นที่จากฝ่ายประเทศไทยทางเดียว ที่มีอิทธิพลต่อภายนอกด้านการเมือง เศรษฐกิจ เช่นการค้าชายแดน การลงทุน และการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ดังนั้น “ตักบาตรสองแผ่นดิน” จึงเป็นจุดขายของประเทศไทยเพื่อส่งเสริมความพันธ์ของทั้งสองประเทศ บนฐานของพุทธศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อผลทางการเมือง และการเติบโตของเศรษฐกิจชายแดน

ศักยภาพในพื้นที่วัฒนธรรมข้ามพรมแดน แบ่งออกเป็นปัจจัยและศักยภาพภายในได้แก่ ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ วิถีชีวิต และประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา ส่วนปัจจัยและศักยภาพภายนอก ได้แก่ การส่งเสริมการค้าชายแดน ให้เป็นด่านชายแดนสากลและ การส่งเสริมการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ผลกระทบจากเพณีตักบาตรสองแผ่นดินไทย-ลาว มีทั้งทางบวกและทางลบ 3 ระดับ ได้แก่ 1) ผลกระทบระดับประเทศ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยใช้การตักบาตรนำการเมือง และเศรษฐกิจ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) ผลกระทบระดับจังหวัด ทำให้ประเพณีตักบาตรสองแผ่นดินเป็นงานประจำปีของจังหวัดพะเยา ที่เน้นการท่องเที่ยว และสร้างรายได้ และ 3) ผลกระทบระดับท้องถิ่น เกิดการขยายตัวการค้าชายแดน จากการเปิดตลาด ส่งผลให้มีร้านค้า ร้านอาหาร ที่พัก และนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น มีความร่วมมือของประชาชน หมู่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการระดับอำเภอ ระดับจังหวัด

References

Higgins, M. D. (2007). The cultural space. from https://poieinkaiprattein.org/culture/position-papers/the-cultural-space-by-michael-d-higgins/

Lefebvre, H. (1991). The production of Space. Malden, Translated by Donald Nicholson-Smith. Massachusetts: Blackwell Publishers.

Phāphičhit Banthœ̄ng. (2006). Praphēnī Watthanathamthai lækhatikhwāmchư̄a. Bangkok: Odeon Store.
บันเทิง พาพิจิตร. (2549). ประเพณี วัฒนธรรมไทย และคติความเชื่อ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Phakdeephinit Prakō̜psiri and Phimonsī Kunnika. (2011). Study of Potential Strategies for Sustainable Development of Tourism in Border Town Phu Sang, Payao Province. Bangkok: The Thailand Research Fund.
ประกอบศิริ ภักดีพินิจ และกรรณิกา พิมลศรี. (2554). รายงานการวิจัยการศึกษาศักยภาพทางการท่องเที่ยวเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองชายแดนภูซางอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Phrarātwisutthisophon (Sīsak Wanliphōdom) and Jiajanpong Piset, Mư̄angphayao. Bangkok: Matichon Public Company Limited.
พระราชวิสุทธิโสภณ ศรีศักร วัลลิโภดม และ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2527). เมืองพะเยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

Phrathamwimonmōlī. (2003). Mư̄angphayao: Čhāktamnānlæprawatsāt. Phayao: Nakon News Printing.
พระธรรมวิมลโมลี. (2546). เมืองพะเยา: จากตำนานและประวัติศาสตร์. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์

Pinadūang Sāiarun. (2010). takbātsō̜ngphǣndin thai-lāo thīchāidǣn bānhawok Songthāipīkao-rapmongkolpīmai. Matichon Daily, 30 December 2010.
สายอรุณ ปินะดวง. (2553). “ตักบาตรสองแผ่นดิน “ไทย-ลาว” ที่ชายแดน “บ้านฮวก” ส่งท้ายปีเก่า-รับมงคลปีใหม่. มติชนรายวัน, 30 ธันวาคม 2553.

_____________. (2012). takbātsō̜ngphǣndin Chū sātsanā Nām kānmư̄angchư̄amsamphan thai-lāo Song ngūyai Rapmongkol ngūlek. Matichon Daily, 30 December 2012.
_____________. (2555). “ตักบาตรสองแผ่นดิน ชู “ศาสนา” นำ “การเมือง” เชื่อมสัมพันธ์ “ไทย-ลาว”ส่ง “งูใหญ่”รับมงคล “งูเล็ก”. มติชนรายวัน, 30 ธันวาคม 2555.

Sahai, S. (2005). The Mekong River: Space and Social Theory. Delhi: B.R. Publishing Corporation.

Santasombat Yot. (2012). Chonchāidǣnkapkānkāokhāmphromdǣn. Chiang Mai: Wanidakan Printing.
ยศ สันตสมบัติ และคณะ. (2555). ชนชายแดนกับการก้าวข้ามพรมแดน. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

Stuart-Fox Martin. (2013) A History of Laos. translated by Winyarat Jiraporn, 2nd, Bangkok: The Foundation for the Promotion of Social Sciences and Humanities Text books Projects.
มาร์ติน สจ๊วต ฟอกซ์ (2556), ประวัติศาสตร์ลาว, แปลโดย จิราภรณ์ วิญญรัตน์. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

20-12-2018