การลบสมมติบัญญัติในพระพุทธศาสนาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุทธสิทธิ์ สุทฺธจิตฺโต Chiang Mai University

คำสำคัญ:

การลบ, สมมติบัญญัติ, พุทธศาสนาเถรวาท

บทคัดย่อ

หลักคำสอนเรื่องสมมติบัญญัติ หรือ สมมติและบัญญัติในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น เกี่ยวข้องกับสมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ   สาเหตุที่ทำให้เกิดการหลงสมมติบัญญัตินั้น มาจากกิเลสคืออวิชชา ตัณหาทิฏฐิ  และความสัมพันธ์ระหว่างกิเลสเหล่านี้ ส่วนผลที่เกิดจากการหลงสมมติบัญญัตินั้น มี 2 ระดับ คือ (1) ผลในระดับโลกิยะ (2) ผลในระดับโลกุตตระ ผลในระดับโลกิยะ คือ เกิดความเห็นผิดจากความเป็นจริง เรียกว่า  วิปัลลาส 4 ประการ (วิปลฺลาส 4) คือ (1) เห็นในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง (นิจฺจวิปลฺลาส) (2) เห็นในสิ่งที่ไม่สุขว่าสุข (สุขวิปลฺลาส) (3) เห็นในสิ่งที่ไม่งามว่างาม (สุภวิปลฺลาส) และ(4) เห็นในสิ่งที่ไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน (อตฺตวิปลฺลาส) ผลในระดับโลกุตตระ คือ ไม่สามารถเลื่อนภูมิจิตภูมิธรรมได้ หรือสามารถเลื่อนภูมิจิตภูมิธรรมได้อย่างช้า ๆ

                  วิธีการลบสมมติบัญญัติในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น คือ การถอนอวิชชา ตัณหาและทิฏฐิ วิธีการนี้ คือ การสร้างและพัฒนาปัญญา โดยการรับฟังคำสอนจากคนอื่น (ปรโตโฆส) และการนำมาคิดพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) เกี่ยวกับสติปัฏฐาน 4 ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้อง เกี่ยวกับสติปัฏฐาน 4  เรียกว่า เกิดปัญญา เกี่ยวกับสติปัฏฐาน 4

                  ส่วนวิธีการวางตัวต่อสมมติบัญญัตินั้น คือ ต้องรู้จัก เข้าใจ ยอมรับ ใช้ แก้ไข และปล่อยวางสมมติบัญญัติอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเถรวาท ผลที่เกิดขึ้นจากการลบสมมติบัญญัตินั้น คือ (1) ทำให้รู้แจ้งสมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะตามความเป็นจริง (2) ทำให้เกิดมีความบริสุทธิ์แห่งกาย วาจาและใจ ในระดับโลกิยะ หรือ โลกุตตระ                     

References

คณะกรรมการแผนกวิชาการแห่งกองการวิปัสสนาธุระ (ผู้แปลและเรียบเรียง). (2512).
อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 1-9. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ..
คณะศิษย์พระกรรมฐาน. (2540). ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เรือนแก้ว
การพิมพ์.
จันทรัชนันท์ สิงหทัต. (2537). ศึกษาเปรียบเทียบทรรศนะเรื่องนิพพานในวิสุทธิมรรคและ
ลังกาวตารสูตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จำลอง ดิษยวณิช. (2549). วิปัสสนากรรมฐานและเชาวน์อารมณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : หจก.
เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
ชาญณรงค์ บุญหนุน. (2540). ทฤษฎีความจริงในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญา
อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา .บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญมี เมธางกูร และ วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี. (2530). คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคห
ปริจเฉทที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ดวงดีการพิมพ์.
บุญมี เมธางกูร. (2545). คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหปริจเฉทที่ 1-9. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ : เลี่ยงเชียง.
พระเทพมุนี (วิลาศ ญาณวโร). (2526). โพธิธรรมทีปนี. กรุงเทพฯ : มิตรสยาม.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2531). พุทธธรรม. (ฉบับขยายความ). พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532). การศึกษาที่สากลบนรากฐานแห่งภูมิปัญญาไทย.
กรุงเทพฯ : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.
พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมวิสุทธิมงคล. (2546). หยดน้ำบนใบบัวคติธรรมและชีวประวัติของหลวงตามหาบัว
ญาณสัมปันโน. กรุงเทพฯ : ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. กรุงเทพฯ : สถาบัน
บันลือธรรม.
พระพุทธโฆสะ. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) (ผู้แปลและเรียบเรียง). (2548).
คัมภีร์วิสุทธิมรรค. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
พระมหากัจจายนเถระ. พระคันธสาราภิวงศ์ (ผู้แปล). (2550). เนตติปกรณ์. กรุงเทพฯ :
หจก. ไทยรายวันการพิมพ์.
พระมหากัจจายนเถระ. สมพร ศรีวราทิตย์ (ผู้แปล). (2545). เนตติปกรณ์. กรุงเทพฯ :
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา.
พระมหาฉลวย สิงห์แจ่ม. (2546). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องอวิชชาในพระพุทธศาสนาเถรวาท.วิทยานิพนธ์
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาปรัชญา . เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระมหาอำนวย อานนฺโท (จันทร์เปล่ง). (2542). การศึกษาเรื่องการบรรลุธรรม
ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา .
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร). (2556). พระธรรมเทศนา 5 พระญาณสิทธาจารย์
(หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : วิสต้า อินเตอร์ปริ้นท์ จำกัด.
พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตฺโต). (2530). ปรัชญาการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ :
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล). (2552). หลวงปู่ฝากไว้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :
พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.
พระวิชัย โพธิ์นอก. (2550). อวิชชาในพระสุตตันตปิฎกที่มีผลต่อปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาใน
สังคมไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา . บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2538). ปรมัตถโชติกปฏิจจสมุปบาททีปนี. กรุงเทพฯ :
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) . พระคันธสาราภิวงศ์ (ผู้แปล). (2551). มหาสติปัฏฐานสูตร
ทางสู่พระนิพพาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม : หจก. ซีเอไอ เซนต์เตอร์ จำกัด.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) . พระคันธสาราภิวงศ์ (ผู้แปล). (2550).
วิปัสสนานัย เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม : หจก. ซีเอไอ เซนต์เตอร์ จำกัด.
พระอนุรุทธเถระ. พระญาณธชะ. พระคันธสาราภิวงศ์ (ผู้แปล). (2546). อภิธัมมัตถสังคหะและ
ปรมัตถทีปนี. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : หจก. ไทยรายวันการพิมพ์.
พระอนุรุทธเถระ. พระสุมังคลสามี. มหามกุฏราชวิทยาลัย (แปล). (2539). อภิธัมมัตถสังคหบาลีและ
อภิธัมมัตถสังคหวิภาวินีฎีกา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต. (2513). มุตโตทัย. กรุงเทพฯ : สุทธิสารการพิมพ์.
ภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม. (2550). วิเคราะห์คำสอนที่ใช้เพิกถอนมิจฉาทิฏฐิก่อนการบรรลุธรรมของพุทธ
สาวก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา .
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัชระ งามจิตรเจริญ. (2544). นิพพานในพุทธปรัชญาเถรวาท : อัตตาหรืออนัตตา. วิทยานิพนธ์
ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา . บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สยาม ราชวัตร. (2553). วิธีการอ้างเหตุผลเพื่อยืนยันความมีอยู่ของโลกหน้าในพระพุทธศาสนาเถร
วาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา .
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ (เจริญ สุวัฑฒนมหาเถระ). (2553).
สัมมาทิฏฐิตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ :
มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุจินต์ บริหารวนเขตต์. (2536). ปรมัตถธรรมสังเขป จิตตสังเขป และภาคผนวก. กรุงเทพฯ :
หจก. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
หลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม. (2553). ทางเดินสู่พระนิพพาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ทีคิวพี.
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ (ผู้เรียบ
เรียง). (2550). คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ เรื่อง สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระ
อภิธรรม. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม.
อัษฏางค์ สุวรรณมิสสระ. (2551). ศึกษาไตรลักษณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4
เฉพาะกรณี การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา 7 เดือน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2018