แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ในนาฏกรรมโขน

กรณีศึกษาสถาบันนาฏศิลป์บ้านรักษ์ไทย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อรอุษา สุขจันทร์ Chiang Mai University

คำสำคัญ:

สุนทรียศาสตร์, ความงาม, โขน, นาฏกรรม, นาฏศิลป์ไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษา แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์เรื่องความงามใน 5 ประเด็น ได้แก่ 1) ความงามของตัวละคร 2) ความงามของเครื่องแต่งกาย 3) ความงามของท่วงท่าในการรำ 4) ความงามของบทพากย์ และ 5) ความงามของดนตรีประกอบ และวิเคราะห์ความงามในภาพรวมของนาฏกรรมโขน

            จากการศึกษาพบว่า แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์เรื่องความงามในแต่ละประเด็น ดังนี้ 1) ความงามของตัวละครนั้น มีรูปแบบตายตัวแน่นอน นักแสดงที่จะสวมบทบาทการแสดงของแต่ละตัวละคร ต้องมีลักษณะตรงตามที่ตำรากล่าวไว้ตามบุคลิกภาพของแต่ละตัว 2) ความงามของเครื่องแต่งกาย องค์ประกอบต่างๆ จำเป็นต้องมีความสมบูรณ์ครบครัน ตามแบบแผนของการแสดงโขน เพื่อบ่งบอกถึงยศตำแหน่งของตัวละครนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน 3) ความงามของท่วงท่าในการรำ ผู้รำจะต้องเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของแต่ละฉาก ผ่านการแสดงออกทางการรำ กล่าวคือ ท่าทางที่แสดงออกมาจะต้องบ่งบอกได้ว่าตัวละครนั้นๆ รู้สึกเช่นไร กำลังอยู่ในอารมณ์ไหน 4) ความงามของบทพากย์ เนื่องจากตัวละครต้องสวมหัวโขน ดังนั้นการดำเนินเรื่องจึงเป็นหน้าที่ของผู้พากย์ บทพากย์ที่สวยงามนั้น ต้องมีความสละสลวยของภาษา รวมถึงน้ำสียงของผู้ภาคต้องสอดคล้องรับกับเครื่องดนตรี เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจเหตุการณ์ของฉากนั้นๆ และ 5) ความงามของดนตรีประกอบ ต้องเป็นดนตรีที่มีท่วงทำนองสอดรับกับผู้พากย์บทและนักแสดง เพื่อให้คนดูเข้าถึงอรรถรสในการรับชม  สอดคล้องกับทฤษฎีอัตวิสัย  ที่เห็นว่า จิตเป็นแหล่งกำเนิดของความงาม ความงามจึงไม่ได้มีอยู่ภายนอกจิตใจของเรา เนื่องจากแต่ละคนมีมุมมอง ประสบการณ์ชีวิต อารมณ์และความรู้สึกต่างกัน จึงอาจจะมีการตัดสินและให้คุณค่าความงามแก่วัตถุนั้นๆ ต่างกันออกไป ความเป็นอัตนัยของบุคคลจึงเป็นแหล่งกำเนิดของคุณค่าสุนทรียะ และเมื่อวิเคราะห์ภาพรวมของนาฏกรรมโขนพบว่า นาฏกรรมโขนอยู่ในฐานะอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือทำให้เกิดประสบการณ์สุนทรียะ กล่าวคือ การแสดงโขนที่ดีนั้น ต้องให้อรรถรสในการรับชมแก่คนดู ต้องสร้างความประทับใจและความซาบซึ้งกินใจแก่ผู้รับชม จึงจะกล่าวได้ว่า การแสดงโขนนั้นมีคุณค่าทางสุนทรียะ

References

กรมศิลปากร. (2552). โขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2539).โขน. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.
วรรณวิสาข์ ไชยโย. (2552). สุนทรียศาสตร์. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิมลศรี อุปรมัย. (2553). นาฏกรรมและการละคร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อิสระ ตรีปัญญา. (2551). สุนทรียทัศน์ในงานจิตรกรรมแบบเซน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2018