การตีความอนิจจังในทัศนะของโดเก็น
คำสำคัญ:
อนิจจัง, พุทธปรัชญา, ปรัชญาเซน, โดเก็นบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบความหมายและลักษณะของอนิจจังหรืออนิจจตา (Impermanence) ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทกับอนิจจังในทัศนะของโดเก็น เพื่อชี้ให้เห็นความเหมือนและความแตกต่างของอนิจจังทั้งสองฝ่าย และเข้าไปถกเถียงกับเควิน ชิลเบรก (Kavin Schilbrack) ในประเด็นของการตีความ “อนิจจัง” ในปรัชญาเซนของโดเก็น โดยสนับสนุนแนวคิดของโทมัส คาซูลิส (Thomas P. Kasulis) ที่มองว่า ปรัชญาเซนของโดเก็นสามารถอธิบายผ่านประสบการณ์และปรากฏการณ์วิทยา กล่าวคือ สรรพสิ่งสามารถมีอยู่ ดำรงอยู่ได้ภายใต้พุทธภาวะ (Buddha-nature) ที่เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง มีลักษณะของการไหลตลอดเวลา (flowing) เป็นการเปลี่ยนแปลงภายในสรรพสิ่ง ในขณะที่ชิลเบรกมองว่า การตีความแบบคาซูลิส สามารถอธิบายได้ทั้งในลักษณะทางอภิปรัชญา (metaphysics) และทางศาสนศาสตร์ (soteriology) ซึ่งเขาเห็นว่า การตีความได้ในหลายทางนั้น นอกจากจะไม่นำผลดีมาให้แล้ว อาจก่อให้เกิดคำถามอื่นๆ ตามมามากมาย
References
Abe, Masao. A Study of Dogen His Philosophy and Religion. Steven Heine (ed). (Albany : State University of New York Press,1992).
Schilbrack, Kavin. Metaphysics in Dogen. In Philosophy East and West : A Quarterly Comparative Philosophy. Vol.50. Number 1. (University of Hawai’i Press, 2000).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th