มโนทัศน์เรื่องธรรมในจารีตสมณะและพราหมณ์
พระพุทธศาสนากับมหาภารตะ
คำสำคัญ:
ธรรม, ภควัทคีตา, จารีตสมณะ, จารีตพราหมณ์บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการพยายามสำรวจมโนทัศน์เรื่องธรรมจาก 2 จารีตหลักของอินเดียโบราณ คือจารีตสมณะและจารีตพราหมณ์ของอินเดียโบราณ โดยมีพื้นที่การศึกษาคือ คัมภีร์ภควัทคีตา อันเป็นส่วนที่นับว่าเป็นประดุจหัวใจของมหากาพย์มหาภารตะ เป็นบทสนทนาระหว่างอรชุนซึ่งเป็นนักรบกับกฤษณะซึ่งเป็นสารถี อรชุนรู้สึกท้อแท้ที่จะต้องทำสงครามกับญาติตนเอง และกฤษณะเป็นผู้กล่าวให้กำลังใจกระตุ้นให้อรชุนฮึกเหิมในการต่อสู้ว่านี่เป็นการปฏิบัติตามธรรม จากการวิเคราะห์ ธรรมในกรอบคิดจารีตพุทธเป็นการมุ่งไปสู่ความหลุดพ้นคือนิพพาน เกิดจากเจตนาที่เรียกว่ากรรม และหลุดพ้นไปจากกรอบคิดของวรรณะ แต่ธรรมในกรอบคิดฮินดูที่พัฒนามาจากจารีตพราหมณ์ คือการทำตามหน้าที่ของวรรณะ ซึ่งอรชุนเป็นวรรณะกษัตริย์จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำตามหน้าที่ โดยทางฮินดูได้เติมคำว่าสว เป็นสวธรรม คือหน้าที่ของตน และเป้าหมายของการทำตามหน้าที่ยังมุ่งไปสู่การเข้าถึงสวรรค์ ดังนั้น การทำตามหน้าที่ของอรชุนในภควัทคีตา จึงเป็นการทำหน้าที่ตามกรอบคิดของฮินดูอย่างแท้จริง
References
Deutsch, E. and Radhakrishanan, S.,(1960). The Bhagavadgītā.London : George Allen & Unwin .
Joshi L.M., (1973). Brahmanism, Buddhism and Hinduism : Kandy.
Pandey G.C., (1974). Studies in the Origins of Buddhism . Delhi, Motilal Banarsidass .
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th