การแก้ปัญหาความรักของวัยรุ่นไทยจากละครซีรี่ส์เรื่องฮอร์โมนวัยว้าวุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • วราลี ตั้งวินิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความรัก, วัยรุ่นไทย, พุทธธรรม

บทคัดย่อ

ความรักตามแนวทางพระพุทธศาสนาประมวลได้ 3 ลักษณะ คือ (1) ความรักแบบต้องการยึดครอง คือ กามะ, ราคะ, และสิเนหะ เป็นความรักที่ก่อให้เกิดปัญหา (2) ความรักแบบผูกพัน คือ เปมะ และฉันทะเป็นความรักแบบกลางๆ (3)  ความรักแบบเสียสละ คือ เมตตาและเมตตาอัปมัญญา เป็นความรักที่ดี ส่วนหลักธรรมเกี่ยวกับความรักในพระพุทธศาสนา มี 3 ระดับ คือ  (1) หลักธรรมสำหรับรักตนเอง คือ หลักโยนิโสมนสิการ หลักเบญจศีล และ เบญจธรรม  (2) หลักธรรมสำหรับคนรอบข้างคือหลักทิศ 6  หลักสังคหวัตถุ 4  และหลักฆราวาสธรรม 4  (3) หลักธรรมสำหรับรักแบบเมตตา คือ หลักพรหมวิหาร 4

การแก้ปัญหาความรักของวัยรุ่นไทยในยุคปัจจุบันในละครซีรี่ส์ เรื่องฮอร์โมน วัยว้าวุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 ปัญหาที่มาจากตัววัยรุ่น กล่าวคือด้านฮอร์โมนส่งผลต่อพฤติกรรม ควรใช้หลักโยนิโสมนสิการ ฝึกพิจารณาเรียนรู้ตามความเป็นจริง ด้านความคิดและทัศนคติของแต่ละตัวละคร ควรปลูกฝังหลักโยนิโสมนสิการก่อน แต่หากเกิดปัญหาสามารถแก้โดย (1) ความรักแบบต้องการยึดครอง คือความรักตนเอง ใช้หลักเบญจศีล เบญจธรรม (2) ความรักแบบผูกพัน คือความรักคนรอบข้าง ใช้หลักทิศ 6  (3) ความรักแบบเสียสละ คือความรักแบบเมตตา ใช้หลักพรหมวิหาร 4  ส่วนที่2 ปัญหาที่มาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัววัยรุ่น  (1) การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว ควรใช้หลักทิศ 6 และหลักฆราวาสธรรม 4 (2) กลุ่มเพื่อน ควรใช้หลักพิจารณามิตร หลักทิศ 6  และหลักสังคหวัตถุ 4 3) บทบาทหน้าที่ของคุณครูควรใช้หลักทิศ 6 (4) ค่านิยมทางสังคม เทคโนโลยีและการสื่อสารในปัจจุบัน ควรใช้หลักโยนิสโสมนสิการ ทั้งนี้ให้มีหลักพรหมวิหาร 4 ร่วมในทุกความสัมพันธ์เพื่อสร้างความรักให้มีความบริสุทธิ์ ไม่หวังผลตอบแทน และเป็นความรักที่แท้จริง

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาบาลีและไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 13.กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นทิ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).(2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร : เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดั๊ก จำกัด.
สุเชาว์ พลอยชุม (ผู้รวบรวม). (2527). ธรรมานุกรม ประมวลจากพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช กรมหลวง
วชิรญาณวงศ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-10-2018