แนวคิดอทวิลักษณ์ของสตรีนิยมเชิงนิเวศในล้านนา

ผู้แต่ง

  • Piyamas Jaifai Philosophy and Religion,Humanities,CMU

คำสำคัญ:

แนวคิดอทวิลักษณ์, สตรีนิยมเชิงนิเวศ, ล้านนา

บทคัดย่อ

บทความเรื่องแนวคิดอทวิลักษณ์ของสตรีนิยมเชิงนิเวศในล้านนา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดอทวิลักษณ์ของสตรีนิยมที่ปรากฎในความเชื่อล้านนา โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเชิงเอกสาร จากการวิจัยพบว่าแนวคิดสตรีนิยมเชิงนิเวศโดยเฉพาะในทัศนะของวาล พลัมวูด นักปรัชญาสตรีนิยมเชิงนิเวศชาวออสเตรเลีย มองว่าปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เกิดจากมโนทัศน์ที่อยู่บนโครงสร้างทวินิยม ทำให้เกิดการแบ่งแยกสิ่งต่างๆ ออกเป็น 2 ชั้นใหญ่ คือ ชั้นผู้เป็นนาย และผู้เป็นอื่น ตามโครงสร้างนี้ มนุษย์ผู้ชาย ผิวขาว ชนชั้นนำ จะจัดอยู่ในชั้นของผู้เป็นนายซึ่งมีลักษณะของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีเหตุผล แข็งแรง ในทางตรงกันข้าม ธรรมชาติ มนุษย์เพศหญิงรวมถึงเพศอื่น และผิวสีอื่น จัดอยู่ในชั้นของผู้ที่เป็นอื่นซึ่งมีลักษณะของความไม่สมบูรณ์ การใช้อารมณ์ อ่อนแอ ด้วยเหตุนี้ชั้นผู้เป็นนายจึงใช้อำนาจจากโครงสร้างนี้ในการกดขี่และใช้ประโยชน์จากอีกฝ่าย สตรีนิยมเชิงนิเวศเสนอว่าการแก้ปัญหาทางด้านนิเวศวิทยาจำเป็นที่จะต้องแก้ไขโดยการสลายโครงสร้างทวินิยมเสีย ซึ่งในสังคมล้านนาปรากฎลักษณะอทวิลักษณ์ในความเชื่อเรื่องผู้หญิงและขึดล้านนา กล่าวคือ ผู้หญิงและผู้ชายมีอำนาจตามหน้าที่ของตน ผู้หญิงล้านนามีอำนาจในเรือนโดยเฉพาะในฐานะผู้สืบสายตระกูลผีบรรพบุรุษ ส่วนความเชื่อเรื่องขึดล้านนาแสดงถึงการเคารพธรรมชาติในฐานะกฎที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ ในขึดหมวดหนึ่งระบุข้อห้ามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในลักษณะต่างๆ คนล้านนาเชื่อว่าต้องปฏิบัติตามจึงจะเกิดผลดีหากละเมิดขึดก็จะเกิดผลเสียต่อมนุษย์

References

คมเนตร เชษฐพัฒนวนิช, (บก.). (2554). ขึด: ข้อห้ามในล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คินสลีย์, เดวิด. (2551). นิเวศวิทยากับศาสนา. ลภาพรรณ ศุภมันตรา, แปล. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2549). วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์และความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ : วิภาษา.
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2556). ผู้หญิงยิงเรือ: ผู้หญิง ธรรมชาติ อำนาจ และวัฒนธรรมกำหนด สตรีนิยมเชิงนิเวศในวรรณคดีไทย (Ecofeminism in Thai Literature). กรุงเทพฯ: นาคร.
ปฐม หงส์สุวรรณ. (2550). กาลครั้งหนึ่ง ว่าด้วยตำนานกับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราณี วงษ์เทศ. (2549). เพศสภาวะในสุวรรณภูมิ (อุษาคเนย์). กรุงเทพฯ: มติชน.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2557). การถ่ายทอดศิลปะและวัฒนธรรมภูมิปัญญาล้านนาสู่สังคมโดยผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
มณี พะยอมยงค์. (2529). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. เชียงใหม่: ส. ทรัพย์การพิมพ์.
วิโรจน์ อินทนนท์. (2554). ความคิดล้านนา. เชียงใหม่: ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศากุน ภักดีคำ. (2552). ความสัมพันธ์เชิงมโนทัศน์ของผู้หญิงกับธรรมชาติ: การศึกษาและวิจารณ์ทัศนะของ วาล พลัมวูด. วารสารจุดยืน(Stance). ปีที่ 3 (2552). ฉบับสตรีนิยมและขบวนการทางสังคมว่าด้วยสิ่งแวดล้อม.
Fernandes, Leela . (2003). Transforming Feminist practice: Non-violence, social justice and possibilities of a spiritualized feminism. San Francisco: Aunt Lute Books.
Plumwood, Val. (1990). “Woman Humanity and Nature” In Sayers, Sean and Osborne, Peter (Eds.). Socialism, Feminism and Philosophy. London and New York: Routledge.
Spretnak, Charlene. (1997). “Radical Nonduality in Ecofeminist Philosophy” in Warren, Karen J. (Ed.). Ecofeminism: Women, Culture, Nature. IN: Indiana University Press.
Warren, Karen J. (Ed.). (1997). Ecofeminism: Women, Culture, Nature. IN: Indiana University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-10-2018