อุปายโกศลวิธี

ทฤษฎีการตีความในพุทธปรัชญาเซน

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุรชัย ชยาภิวฑฺฒโน (พุดชู) วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มจร.

คำสำคัญ:

อุปายโกศลวิธี, การตีความเชิงพุทธ, ปรัชญาเซน

บทคัดย่อ

ทฤษฎีการตีความเชิงพุทธปรัชญามหายานที่สำคัญ คือ อุปายโกศลวิธี ซึ่งเป็นตัวอย่างของทฤษฎีบูรณาการหรือสัมพัทธนิยมที่เน้นทั้งการอธิบายความและการตีความ โดยความหมายแล้ว อุปายโกศลวิธี หมายถึง ความฉลาดในการสอนที่มีขอบเขตไม่จำกัด ประยุกต์ได้อย่างหลากหลาย ในพุทธปรัชญาเซนมีเครื่องมือสำคัญที่จัดเป็นอุปายโกศลวิธีเรียกว่า โกอาน ซาเซนและมอนโด ทั้งสามเครื่องมือเป็นรูปแบบการสอนที่เป็นอัตลักษณ์ของเซน ผู้สอนต้องมีประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติหรือการบรรลุธรรม จีงสามารถถ่ายทอดธรรมะผ่านเครื่องมือทั้งสามให้ศิษย์ได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ พุทธปรัชญาเซนจึงเน้นประสบการณ์ทางจิตของปัจเจกชน ซึ่งการเข้าถึงประสบการณ์ทางจิตไม่สามารถบันทึกไว้ได้ด้วยภาษาซึ่งมีขอบเขตที่จำกัด กระนั้น ตัวภาษาเองก็มีส่วนสำคัญในฐานะเป็นกระบวนการที่เรียกว่า กายวิญญัติและวจีวิญญัติให้ศิษย์เข้าถึงธรรมะที่มีอยู่แล้วในทุกคนผ่านเครื่องมือ คือการขบคิดปริศนาธรรม (โกอาน) รวมถึงการสนทนาถามตอบแบบฉับพลัน (มอนโด) และการปฏิบัติธรรม (ซาเซน) ที่จัดเป็นทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาในการสื่อสาร เครื่องมือทั้งสามจึงเป็นตัวอย่างของทฤษฎีอุปายโกศลวิธีที่เน้นการสอนเชิงผลสัมฤทธิ์ คือการเข้าถึงพุทธภาวะในทัศนะของพุทธปรัชญาเซน

References

Primary Data:
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Phratraipidok PhāsāthaiLēmtī 34 [Thai Tipitaka, Vol. 34]. Published for 5th Anniversary of Her Majesty Queen Sirikit’s Birthday. Phra Nakhon Sri Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ 34. พิมพ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Mahamakutarajavidyalaya. Revised and Published. (1992). ‘Atthakatha Bālī ‘Aksǭntai Chabap Sayāmrat Lēmtī 14 [Pāli Commentary in Thai Alphabet, Siamrat Version, Vol. 14]. Nakhon Pathom: Mahamakutarajavidyalaya Publisher.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. ตรวจชำระและพิมพ์. (2535). อรรถกถาบาลีอักษรไทย ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 14. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Mahamakutarajavidyalaya. Revised and Published. (1993). Phratraipidok Læ ‘Atthakathappǣ Lēmtī 34 [Translated Tipitaka and Commentary, Vol. 34]. 3rd ed. Published for 200th Anniversary of Chakri Dynasty, Rattanakosin Era in 1982. Nakhon Pathom: Mahamakutarajavidyalaya Publisher.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. ตรวจชำระและพิมพ์. (2536). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่มที่ 34. พิมพ์ครั้งที่ 3. พิมพ์เนื่องในวโรกาสครบ 200 ปีแห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Mahamakutarajavidyalaya. Revised and Published. (2009). Samantapāsāthikā Nāma Winayattakathā (Pathamo Phākho) [Pāli Vinaya Commentary: Samantāsādikā, Vol. 1]. 12th ed. Nakhon Pathom: Mahamakutarajavidyalaya Publisher.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. ตรวจชำระและพิมพ์. (2552). สมนฺตปาสาทิกา นาม วินยฏฺฐกถา (ปฐโม ภาโค). พิมพ์ครั้งที่ 12. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Secondary Data:
Bodhinanda, S. (2012). Pratyā Mahāyāna [Mahayana Philosophy]. 6th ed. Nakhon Pathom: Mahamakutarajavidyalaya Publisher.
เสถียร โพธินันทะ. (2555). ปรัชญามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Boonjua, K. (2003). Chut Pratyā Læ Sātsanā Sēnčhǭn Lēmtī 6: Pratyā ‘Attha Pariwat Khǭng Manutsayachat (ChuangPhahuniyom) [Philosophy and Religion Series, Vol. 6: Hermeneutics of Humenity]. Bangkok: Saint John’s University.
กีรติ บุญเจือ. (2546). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่ม 6: ปรัชญาอรรถปริวรรตของมนุษยชาติ (ช่วงพหุนิยม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

Buddhadāsa Bhikkhu. (2008). Nithān Sēn: Mahǭrasop Thāng Winyān Phư̄a čhariyatham [Zen Tales: Spiritual Theater for Virture]. Bangkok: Sukkhapabjai Publisher.
พุทธทาสภิกขุ. (2551). นิทานเซ็น: มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

Hanh, Thich Nhat, writer, Phra Phrapracha Pasannadhammo, transter. (2006). Pātihān Hǣng Kāntư Yūsamoe [The Miracle of Being Awake]. 17th ed. Bangkok: Komol Khemthong Foundation.
ติช นัท ฮันห์. เขียน. (2549). ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ. แปลโดย พระประชา ปสนฺนธมฺโม. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

Nima-nong, V. (2009). Rāingān Kānwičhai Kānsưksā Wikhrǫ Thritsadī ‘Attha Pariwat Sāt Nai Khamphī Phra Phuththasātsanā Thērawāt [Report of an Analytical Study of Hermeneutics in the Theravada Buddhist Texts]. Phra Nakhon Sri Ayutthaya: Buddhist Research Institute, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
วีรชาติ นิ่มอนงค์. (2552). รายงานการวิจัยการศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีอรรถปริวรรตศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Phra Dhammakittiwong (Thongdee Suratejo). (2007). Kāntīkhwām Phutthasāsana Suphāsit [Hermeneutics in Buddhist Proverbs]. 2nd ed. Bangkok: Liang Chiang.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2550). การตีความพุทธศาสนสุภาษิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

Ponsirichasoenpan, S. (2016). Hoēmēnūtik: Sāt Hǣng Kāntīkhwām Læ Sinlapa Hǣng Kānkhaočhai [Hermeneutics: Science of Interpretation and Art of Understanding]. Nonthaburi: Watcharin P.P. Publisher.
สมบัติ พรศิริเจริญพันธ์. (2559). เฮอร์เมนูติกส์: ศาสตร์แห่งการตีความและศิลปะแห่งการเข้าใจ. นนทบุรี: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.

Royal Academy. (2005). Photčhanānukrom Pratyā-Thai Chabap Rātchabandittayasathān [Dictionary of English-Thai Philosophy, Royal Academic Version]. 4th ed. Bangkok: Royal Academy.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

Satha-Anand, S. (1991). Phūpānyā Wichā Sēn: Bot Wikhrǫ Khamsǭn Paramāčhān Dōkēn [Zen Wisdom: Analysis of Master Dogen]. Bangkok: Siam.
สุวรรณา สถาอานันท์. (2534). ภูมิปัญญาวิชาเซ็น: บทวิเคราะห์คำสอนปรมาจารย์โดเก็น. กรุงเทพฯ: ศยาม.

Thongrungrot, J. (2004). Photčhanānukrom Pratyā-Thai [Dictionary of English-Thai Philosophy]. Bangkok: Bodang.
เจษฎา ทองรุ่งโรจน์. (2547). พจนานุกรมปรัชญาอังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: โบแดง.

Blackburn, Simon. (2005). The Oxford Dictionary of Philosophy. 2nded. New Delhi: Oxford University Press.

Lopez, Donald Sewell, Jr. (1993). Buddhist Hermeneutics. Delhi: Motilal Banarsidass Publishers.

Senzaki, Nyogen and Reps, Paul. ed. (2000). Zen Flesh, Zen Bones. New Delhi: Penguin Books.

Suzuki, Daisetz Teitaro. (2000). Zen and Japanese Buddhism. New Delhi: Munshiram Manoharlal.

Suzuki, Daisetz Teitaro. (2005). Essays in Zen Buddhism, First Series. New Delhi: Munshiram Manoharlal Publishers.

Suzuki, Daisetz Teitaro. (2013). Studies in Zen. Mansfield Centre: Martino Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2019