ทัศนะเรื่องธรรมชาติในเรื่องเล่ากลุ่มชาติพันธุ์อาข่าจังหวัดเชียงราย

ทัศนะเรื่องธรรมชาติ , เรื่องเล่า, กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า

ผู้แต่ง

  • Benjamaporn - Suriyawong Chiang Rai Rajabhat University

คำสำคัญ:

ทัศนะเรื่องธรรมชาติ, เรื่องเล่า, ชาติพันธุ์อาข่า

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาทัศนะเรื่องธรรมชาติที่ปรากฏในเรื่องเล่ากลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในจังหวัดเชียงราย โดยกำหนดเก็บข้อมูลเรื่องเล่ากลุ่มชาติพันธุ์อาข่าจาก 3 หมู่บ้าน ได้แก่  หมู่บ้านปางปูเลย หมู่บ้านแสนสุข  และหมู่บ้านอาผ่าพัฒนา และคัดเลือกเรื่องเล่าที่มีการดำเนินเรื่อง  โครงเรื่อง ตัวละคร และฉาก      ซึ่งรวบรวมได้ทั้งหมด 39 เรื่อง  วิเคราะห์หาทัศนะเรื่องธรรมชาติและความสัมพันธ์ระหว่างอาข่ากับธรรมชาติ จากเนื้อหาที่ปรากฏ ผลการศึกษาวิเคราะห์พบ 4 ลักษณะ คือ 1) ทัศนะระหว่างอาข่ากับธรรมชาติเกี่ยวกับพืช ได้แก่ การปลูกข้าวไร่ 2) ทัศนะระหว่างอาข่ากับธรรมชาติเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงหมู ไก่ ปรากฏพบในเรื่องเล่ามากที่สุด 3) ทัศนะระหว่างอาข่ากับสิ่งเหนือธรรมชาติ ได้แก่ การกำเนิดธรรมชาติ และสภาวะเหนือโลก และ 4) ทัศนะเกี่ยวกับธรรมชาติของชาวอาข่า  แสดงให้เห็นว่าเนื้อหาของเรื่องเล่ายังคงเป็นสื่อที่แสดงทัศนะและความสัมพันธ์ระหว่างอาข่ากับธรรมชาติในรูปแบบของการพึ่งพาอาศัยมากกว่าการแสวงหาผลประโยชน์ นอกจากนี้เรื่องเล่ายังเป็นข้อมูลที่สำคัญในการรักษา และสืบทอดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวอาข่าจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน

References

ไกรสิทธิ์ สิทธิโชดก. (2556). อาข่า พิธีกรรม ความเชื่อ และความงาม. สำนักงานกองทุนสนับสนุน
งานวิจัย สำนักงานภาค. เชียงใหม่.
งามพิศ สัตย์สงวน.(2538). หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม . ภาควิชาสังคมจิตวิทยาและมานุษยวิทยาคณะ
รัฐศาสตร์ .กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา .
ดํารงค์ ฐานดี. (2546). สังคมและวัฒนธรรม. หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการ
ดําเนินชีวิตในสังคม. หนังสือแบบเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4-6. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2550). กาลครั้งหนึ่ง: ว่าด้วยตำนานกับวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ประคอง นิมมานเหมินทร์ และคณะ. (2527). “การแบ่งประเภทนิทานพื้นบ้านและภาพสะท้อนทาง
สังคมและวัฒนธรรมจากนิทานพื้นบ้าน” เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 8 . (คติชนวิทยา
สำหรับครู). หน้า 58-59, นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประสิทธิ ลีปรีชา. (2546). อัตลักษณ์ทางเครือญาติของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งท่ามกลางความทันสมัย.
อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์และความเป็นชายขอบ ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: ศูนย์
มานุษยวิทยาสิรินธร หน้า 203-252
ประทับ จันทร์แสง. (2551). การสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวอาข่าที่เอื้อต่อ
เยาวชนอาข่า : กรณีศึกษาเยาวชนอาข่า หมู่บ้านอาโย๊ะใหม่ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง
จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย,เชียงราย.
สมาคมเพื่อการศึกษาและวัฒนธรรมอาข่าจังหวัดเชียงราย. (2543). คู่มือปฏิบัติและการศึกษาพิธีกรรม
ประเพณีวัฒนธรรมในรอบ 12 เดือนของชาวบ้าน เชียงราย . สมาคมเพื่อการศึกษาและ
วัฒนธรรมอาข่าจังหวัดเชียงราย. (เอกสารเย็บเล่ม).
สุจินดา รูปโฉม. (2538) . วิเคราะห์นิทานพื้นบ้านภาคเหนือเพื่อใช้ประกอบการสอนรายวิชานิทาน
พื้นบ้าน . วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .
เสถียรโกเศศ. (พระยาอนุมานราชธน). (2524) .วัฒนธรรมเบื้องต้น .(พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพมหานคร :
ราชบัณฑิตสถาน.
เสาวลักษณ์ อนันตศานต์ . (2543). ทฤษฏีคติชนและวิธีการศึกษา .กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2556). อัตลักษณ์. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
อภิญญา เเฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ : การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ
: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัย
แห่งชาติ.
อมรา พงศาพิชญ์. (2541). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ วิเคราะห์สังคมไทยแนว
มานุษยวิทยา. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทัย ปัญญาโกญ. (2547). การนำเสนอรูปแบบการศึกษาเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมอาข่า. วิทยานิพนธ์
หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต. สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์.จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-11-2018