การวิเคราะห์แนวคิดมนุษยนิยมในปรัชญาเต๋า

ผู้แต่ง

  • สุคนธิการ์ จินะเป็งกาศ Miss

คำสำคัญ:

มนุษยนิยม, ปรัชญาเต๋า, เต๋าเต๋อจิง, เหลาจื่อ, จวงจื่อ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยชื่อเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดมนุษยนิยมในปรัชญาเต๋าด้านความหมาย ลักษณะ คุณค่าและเป้าหมายของมนุษย์ ใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสารจากตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปรัชญามนุษยนิยมและปรัชญาเต๋า แล้วจึงวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัยในเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่าปรัชญาเต๋าให้ความหมายมนุษย์ไปในแนวทางเดียวกับนักมนุษยนิยมว่า มนุษย์มีศักยภาพทางปัญญาจึงสามารถพัฒนาตนเองได้แต่ไม่ได้มองว่ามนุษย์สูงส่งกว่าสิ่งอื่นใด ทว่ามองว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสรรพสิ่งในโลกอันแปรเปลี่ยนนี้ ส่วนลักษณะของมนุษย์ในปรัชญาเต๋าคือ ความอ่อนน้อม ประมาณตน ว่างเปล่า รู้ข้อจำกัดของตนเองและมีจิตเสรี นักปรัชญาเต๋าไม่เห็นด้วยที่จะให้มนุษย์สะสมความรู้ทางโลก แต่เสนอให้ใช้ปัญญาบวกกับจินตนาการเพื่อหยั่งรู้ความจริง ด้วยเห็นว่าความรู้และความจริงเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนได้ตามกาลเทศะ ปรัชญาเต๋าปฏิเสธสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติแต่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับตัวมนุษย์เป็นหลัก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปรัชญาสายมนุษยนิยม อนึ่งด้านคุณค่าทางจริยะของมนุษย์ ปรัชญาเต๋าใช้หลักนิรกรรม อิสรภาพและการทำตามสภาวะธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์เพื่อพิจารณาความดีงามแห่งชีวิต โดยไม่ยึดจารีต วัฒนธรรม ประเพณีหรือกฎหมายมาเป็นมาตรฐานศีลธรรมในสังคม นักปรัชญาเต๋าเสนอให้เลิกใช้ความรู้ทางโลก ตรรกะและเหตุผลอันมีข้อจำกัดเป็นเกณฑ์ตัดสินคุณค่ามนุษย์ ซึ่งคล้ายคลึงกับหลักการแบบมนุษยธรรมนิยม สุดท้ายเป้าหมายอันเป็นสุขที่แท้ตามปรัชญาเต๋าคือการหวนคืนสู่ความว่าง ซึ่งเป็นสภาวะดั้งเดิมของมนุษย์ ด้วยการปลดเปลื้องกิเลสจิตวิญญาณมนุษย์จะเป็นอิสระและบริสุทธิ์ โดยเสนอให้อาศัยหลักอกรรม เพื่อถนอมรักษาชีวิต การพัฒนาชีวิตของมนุษย์ทำได้โดยใช้ความอ่อนน้อมและอ่อนโยน เพื่อสยบสิ่งทั้งปวงและประสานไปกับสรรพสิ่ง ซึ่งตรงกับหลักความดีงามแห่งสังคมและความสุขของปัจเจกบุคคลตามแนวทางมนุษยนิยม

References

Books:

Buddhādasa Bhikkhu. (1983). theknik khō̜ng kānmī thamma (sīnlatham klap mā). Bangkok: phra nakhǭn kānphim.

พุทธทาสภิกขุ. (2526). เทคนิคของการมีธรรมะ (ศีลธรรมกลับมา). กรุงเทพฯ: พระนครการพิมพ์.

Bunditsaowapak, Charnvit. (1987). manō that rư̄ang manut nai pratyā tao samai rǣk. Master of Arts Thesis. Bangkok: Chulalongkorn University.

ชาญวิทย์ บัณฑิตเสาวภาคย์. (2530). มโนทัศน์เรื่องมนุษย์ในปรัชญาเต๋าสมัยแรก. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Butʻin, Sit. (1989). pratyā manutsaya niyom. Chiang Mai: Department of Philosophy and Religions, Faculty of Humanities, Chiang Mai University.

สิทธิ์ บุตรอินทร์. (2532). ปรัชญามนุษยนิยม. เชียงใหม่: ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Dokbua, Fư̄̄n. (1999). pūang pratyā Čhīn. (2nd edition). Bangkok: Sayām.

ฟื้น ดอกบัว. (2542). ปวงปรัชญาจีน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศยาม.

_________. (2012). pūang pratyā ʻIndīa. (2nd edition). Bangkok: Sayām parithat.

_________. (2555). ปวงปรัชญาอินเดีย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

Foēng ʻiohǭlan. (2010). pratyā Čhīn čhāk khongčhư̄̄ thưng maočhoētong. Translated and composed to Thai by Sor. Suwan. Bangkok: sukkhaphāpčhai.

เฝิงอิ่วหลัน. (2553). ปรัชญาจีน จากขงจื่อถึงเหมาเจ๋อตง. ส. สุวรรณ แปลและเรียบเรียง กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

Hawā Sư̄ Homing. (1987). tū fū lī pai: kret chīwit ʻan sǣn prathapčhai khō̜ng sǭng mahā kawī. Translated to Thai by Rēnu chū khwāmkhit. Bangkok: Wanthip.

ฮวา ซื่อหมิง. (2530). ตูฟู หลี่ไป๋: เกร็ดชีวิตอันแสนประทับใจของสองมหากวี. เรณู ชูความคิด แปล. กรุงเทพฯ: วันทิพย์.

Huxley, Julian and others. (2009). wiwatthanākān hǣng khwāmkhit phāk manut læ lōk. Translated to Thai by Chutatip Umavijani. (6th edition). Bangkok: Thammasat University

จูเลียน ฮักซ์ลีย์ และคณะ. (2552). วิวัฒนาการแห่งความคิด ภาคมนุษย์และโลก. จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี แปล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Intanon, Wirote. (2006). pratyā tawanʻǭk. Chiang Mai: Department of Philosophy and Religions, Faculty of Humanities, Chiang Mai University.

วิโรจน์ อินทนนท์. (2549). ปรัชญาตะวันออก. เชียงใหม่: ภาควิชาปรัชญาและศาสนาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

_____________. (1998). ʻēkkasān prakǭp kānsǭn wichā pratyā ʻIndīa bư̄angton (011266). Chiang Mai: Department of Philosophy and Religions, Faculty of Humanities, Chiang Mai University.

_____________. (2541). เอกสารประกอบการสอนวิชาปรัชญาอินเดียเบื้องต้น (011266). เชียงใหม่: ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Khamdī, Dư̄an. (1983). pratyā tawantok samai mai. Bangkok: Odeon Store.

เดือน คำดี. (2526). ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Kīratikānon, Dūangdāo. (2010). čhariyasāt = Ethics. Prathum Thani: Bangkok University Press.

ดวงดาว กีรติกานนท์. (2553). จริยศาสตร์ = Ethics. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ.

Laočhư̄̄. (2015). taotoēčhing khamphītao. Translated to Thai by Sūang ʻApsǭn Kasikarānan. Bangkok: kāo rǣk.

เหลาจื่อ. (2558). เต้าเต๋อจิง คัมภีร์เต๋า. สรวงอัปสร กสิกรานันท์ แปล. กรุงเทพฯ: ก้าวแรก.

Phraphǭnmabundit (Prayūn Thamma čhit Tō). (2016). pratyākrīk bǭkœ̄t phūmpanyā tawantok. (8th edition). Bangkok: Sayām parithat.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2559) ปรัชญากรีก: บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. (พิมพ์ครั้งที่ 8) กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

Preechatham, Surat. (2013). čhūangčhư̄̄ chabap sombūn. (2nd edition). Bangkok: Openbooks

สุรัติ ปรีชาธรรม. (2556). จวงจื่อฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์.

Satha-Anand, Suwanna. (2013). krasǣ thān pratyā Čhīn: khō̜ tōyǣng rư̄ang tham machāt ʻamnāt læ čhārīt. (4th edition). Bangkok: Sayām parithat.

สุวรรณา สถาอานันท์. (2556). กระแสธารปรัชญาจีน: ข้อโต้แย้งเรื่อง ธรรมชาติ อำนาจ และจารีต. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

________________. (1990). manutsaya that nai pratyā tawanʻǭk. Bangkok: Chulalongkorn University.

________________. (2533). มนุษยทัศน์ในปรัชญาตะวันออก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Thǣnkǣo, Bunmī. (1998). čhariyatham kap chīwit = Moral & Life. Bangkok: Odeon Store.

บุญมี แท่นแก้ว. (2541). จริยธรรมกับชีวิต = Moral & life. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Witthawēt, Wit. (1994). pratyā thūapai manut lōk læ khwāmmāi khō̜ng chīwit. Bangkok: Thai romklao.

วิทย์ วิศทเวทย์. (2537). ปรัชญาทั่วไป มนุษย์ โลกและความหมายของชีวิต. กรุงเทพฯ: ไทยร่มเกล้า.

Wonglakhǭn, Jarunee. (2007). pratyākrīk: thān khit samkhan khō̜ng pratyā tawantok. (3rd edition). Chiang Mai: Department of Philosophy and Religion, Chiang Mai University.

จารุณี วงศ์ละคร. (2550). ปรัชญากรีก: ฐานคิดสำคัญของปรัชญาตะวันตก. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: ภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Lamont Corliss. (1997). The Philosophy of Humanism (8th edition). New York: Humanist Press.

Website:

Phraphǭnmakhunāphǭn (Pō̜.ʻŌ̜. Payuttō) and Phrathampidok (Prayut Payuttō) Retrieved 3rd March 2020, from http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สุญญตา

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) และพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). ค้นเมื่อ3 มีนาคม 2563 จาก http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สุญญตา

Sūn nænǣo sưksā tǭ prathēt Čhīn læ Taiwan. hūang khamnưng yām dưk lī pai. Retrieved 30th July 2019, from http://www.aecthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=209147.

ศูนย์แนะแนวศึกษาต่อประเทศจีนและไต้หวัน. ห้วงคำนึงยามดึก หลี่ไป๋. ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562 จาก http://www.aecthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=209147.

Dictionary.com. Definition of Humanitarianism. Retrieved 24th July 2019 from www.dictionary.com/browse/humanitarianism.

Legge James. Tao Te Ching by Lao Tzu. Retrieved 22nd April 2017 from http://terebess.hu/english/tao/legge.html.

The British Broadcasting Corporation. Duty-based ethics. Retrieved 4th September 2017 from http://www.bbc.co.uk/ethics/introduction/duty_1.shtml.

Watson, Burton. The Complete Works of Chuang Tzu. Columbia University Press. Retrieved 17th April 2017 from http://terebess.hu/english/chuangtzu.html#1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2020