ค่าวฮ่ำ: ภูมิปัญญาของกวีพื้นบ้านล้านนา

ผู้แต่ง

  • หทัยวรรณ ไชยะกุล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปนัดดา บุณยสาระนัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาเรื่องการจัดทำคลังข้อมูลและศึกษาภูมิปัญญาของกวีพื้นบ้านล้านนา: กรณีศึกษาค่าวฮ่ำจากนักจัดรายการวิทยุ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภูมิปัญญาของกวีพื้นบ้านล้านนา โดยศึกษาจากบทค่าวของกวีพื้นบ้านล้านนาจำนวนกว่า 20,000 ฉบับ ที่กวีพื้นบ้านล้านนาเขียนส่งมาให้ นายอำนวย กลำพัด นักจัดรายการวิทยุที่จังหวัดเชียงใหม่อ่านออกอากาศในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2512 - 2550 และได้เก็บรักษาไว้จนถึงปี พ.ศ.2562 และได้อนุญาตให้โครงการวิจัยได้นำมารวบรวมไว้เป็นคลังข้อมูลและวิเคราะห์ภูมิปัญญาของกวีพื้นบ้านล้านนาจากบทค่าวฮ่ำเหล่านี้

ผลการศึกษาพบว่า ภูมิปัญญาของกวีพื้นบ้านล้านนาที่พบมี 3 ด้านคือ 1) ภูมิปัญญาด้านรูปแบบฉันทลักษณ์ 2) ภูมิปัญญาด้านการใช้ภาษา 3) ภูมิปัญญาด้านเนื้อหา ซึ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็น 13 เรื่อง คือ เนื้อหาด้านคำสอน ด้านอาหาร ด้านสุขภาพ ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ด้านโหราศาสตร์ ด้านการสร้างเรื่องขำขัน ด้านการช่าง ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านศิลปหัตถกรรม ด้านอักษรศาสตร์ ด้านศาสนา และด้านการสร้างความเชื่อมั่น-เสริมสร้างปัญญา

ค่าวฮ่ำ นอกจากจะเป็นภูมิปัญญาของกวีพื้นบ้านในการใช้ท่วงทำนองและลีลาภาษาบ่งบอกถึงอัตลักษณ์แบบล้านนาอย่างชัดเจนแล้ว ยังอาจกล่าวได้ว่าค่าวฮ่ำเป็นเสมือนบทบันทึกของชาวบ้านล้านนาในช่วงเวลานั้น ที่มีความคิดเห็น ความรู้สึก ต่อเหตุการณ์บ้านเมืองในด้านต่างๆ เป็นความรู้ ภูมิปัญญาที่ชาวบ้านล้านนาสั่งสมและสืบทอดต่อกันมาหลายรุ่นคน ผู้จัดรายการวิทยุและกวีพื้นบ้านล้านนาได้ร่วมกันสร้างพื้นที่ทางสังคมให้แก่ ค่าวฮ่ำ ได้เป็นหนึ่งในมรดกทางภูมิปัญญาของล้านนา เป็นวิถีที่ดำรงอยู่และปรับตัวไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เกิดขึ้น

References

โครงการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น 4 จังหวัด. (ม.ป.ป.). สืบค้น 5 ธันวาคม 2562. จาก http://www.tambondoisaket.org/img_update/download/74_260_111.pdf

จเด็จ เตชะสาย. (2561). ท่วงทำนองการเขียนในตำราจริยศาสตร์ล้านนา. มนุษยศาสตร์สาร, 19(2),178-218.

ณัฐวัฒน์ พิมพ์ทอง. (2561). ตะขาบ - กร่าบ. สืบค้น 19 พฤศจิกายน 2562, จากhttp://www.muangboranjournal.com/post/bamboo-1.

ทรงจิต พูลลาภ และคณะ. (2546). ศักยภาพและสถานภาพของภูมิปัญญาไทย(ภาคเหนือ). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ธนินทร์ สังขดวง และจิระนาถ รุ่งช่วง. (2559). ความเป็นไปได้ในการปรับใช้วัฒนธรรมการรับประทานอาหารท้องถิ่นภาคใต้ร่วมกับศิลปะการแสดงเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. ในคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ใน “Tourism for All, All for Tourism”, การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 (น.124-135). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุษกร บิณฑสันต์ และคณะ. (2558). วัฒนธรรมดนตรีไทใหญ่ในรัฐชาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมา. กรุงเทพฯ: ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัฒนธรรมดนตรีไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2527). “พัฒนาการของวรรณกรรมลานนา: ประเภทลายลักษณ์” รายงานการสัมมนาทางวิชาการ วรรณกรรมลานนา เล่ม 2. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประคอง นิมมานเหมินท์.(2554). ไขคำแก้วคำแพง พินิจวรรณกรรมไทย-ไท. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราสาทไหว (ชุดเพลินใจ) สะล้อ 2001. (2558). สืบค้น 5 ธันวาคม 2562,จากhttp://www.huglanna.com/index.php?topic=437.0

พระนคร ปญฺญาวชิโร. (2555). กลองในพระไตรปิฎกที่ปรากฏในล้านนา. เชียงใหม่: มรดกล้านนา.

พริมา อ่วมเจริญ. (2552). การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมคำสอนล้านนาเรื่องคดีโลกคดีธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ฟ้อนเงี้ยว. (ม.ป.ป.). สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2562, จากhttp://www.finearts.go.th/performing/parameters/km/item/ฟ้อนเงี้ยว.html

มะลิวัลย์ บูรณพัฒนา. (2530). การศึกษาวรรณกรรมค่าวฮ่ำทางวิทยุภาคเหนือ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร).

รัง สรรพคุณและประโยชน์ของต้นรัง 7 ข้อ !. (2560). สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2562, จาก https://medthai.com/รัง/

วันชัยยุทธ วงษ์เทพ. (2556). ศิลปะกลองภูมิปัญญาล้านนา สู่การออกแบบภายในศูนย์ดุริยางคศิลป์ล้านนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วิลาวัณย์ เศวตเศรนี. (2555). ภูมิปัญญาเชิงช่างเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สามารถ ใจเตี้ย. (2561). วัฒนธรรมสุขภาพล้านนาเพื่อการดูแลสุขภาพ. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 18(2),240-248.

สุนันทา มิตรงาม และคณะ. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

เสน่หา บุณยรักษณ์. (2517). วรรณกรรมค่าวของภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

หทัยวรรณ ไชยะกุล.(2556). วรรณกรรมล้านนาร่วมสมัย (พ.ศ. 2413-2550): การสืบทอดภูมิปัญญาและการสร้างสรรค์. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.

หทัยวรรณ ไชยะกุล. (2557). วรรณกรรมล้านนา. เอกสารคำสอนกระบวนวิชา 014382. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อภิวันท์ พันธ์สุข. (2549). การเปลี่ยนแปลงฐานะและบทบาทของภาษาล้านนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณกรรมล้านนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

อรุณ วงศ์รัตน์. (2524). คร่าวซอนิราศบางกอก โดย อรุณ วงศ์รัตน์ และหลักเกณฑ์การแต่งคร่าวโดย สิงฆะ วรรณสัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2546). วรรณกรรมล้านนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อุทัย รตนปญฺโญ, (คำชุ่ม). พระครูปลัด. (2556). การวิเคราะห์พุทธจริยธรรมที่ปรากฏในค่าวฮ่ำล้านนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020