แนวคิดประโยชน์อย่างแท้จริงในทฤษฎีวิศวกรรมสังคม ของรอสโค พาวนด์

ผู้แต่ง

  • มานิตย์ กลางขอนนอก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สมหวัง แก้วสุฟอง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ผลประโยชน์, กฎหมาย, วิศวกรรมสังคม, รอสโค พาวนด์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาความหมาย องค์ประกอบ และเป้าประสงค์ของคำว่าประโยชน์ในแนวคิดและทฤษฎีวิศวกรรมสังคมของรอสโค พาวนด์ นักวิชาการด้านกฎหมายและอดีตคณบดีโรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ดชาวอเมริกัน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการวิเคราะห์เอกสารโดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือและบทความของรอสโค พาวนด์ และงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาผ่านกรอบแนวคิดประโยชน์นิยมทางจริยศาสตร์ วิเคราะห์ประเด็นเรื่องการแบ่งประโยชน์โดยกฎหมายตามทฤษฎีวิศวกรรมสังคมของรอสโค พาวนด์ แล้วสรุปผลการวิจัยในเชิงพรรณนา ผลของการศึกษาพบว่าทฤษฎีวิศวกรรมสังคมของรอสโค พาวนด์ประกอบด้วยแนวคิดพื้นฐานคือทฤษฎีวิศวกรรมสังคม สังคมวิทยากฎหมาย และแนวคิดประโยชน์นิยมที่มุ่งปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาระบบต่างๆด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และการควบคุมสังคม ผนวกกับแนวคิดเรื่องสังคมวิทยากฎหมายที่มุ่งเน้นให้นักกฎหมายใช้บริบททางสังคมตรวจสอบสมมุติฐานมากกว่าการใช้แนวปฏิบัติที่สืบทอดกันมาโดยไม่สนใจสังคมและแนวคิดเรื่องประโยชน์สุขของคนหมู่มากในสังคมตามแนวคิดของจริยศาสตร์ที่สังคมวิทยากฎหมายใช้เป็นพื้นฐานของความคิดของการบัญญัติหรือการบังคับใช้กฎหมาย ทำให้สังคมมีความกลมกลืน แต่เมื่อสังคมไม่กลมกลืนเพราะขัดแย้งกันทางผลประโยชน์ระหว่างเอกชนและกลุ่มอื่นๆ กฎหมายจึงมีหน้าที่ ในการปรับประโยชน์ที่ขัดกันในสังคมเหล่านั้นให้มันลงรอยให้อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยดี

References

ธูปทอง กว้างสวัสดิ์. (2531). การศึกษาเชิงวิจารณ์หลักมหสุขของจอห์น สจ๊วต มิลล์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

พิธินัย ไชยแสงสุขกุล. (2539). นิติปรัชญา. กรุงเทพฯ : เอสบีซีธุรกิจและวัฒนธรรม

รองพล เจริญพันธุ์. (2528). นิติปรัชญา. (พิมพ์ครั้งที่ 5 ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิทย์ วิศทเวทย์. (2528). จริยศาสตร์เบื้องต้น.กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2545). กฎหมายกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมหน่วยที่1-8. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิติศาสตร์.

Antony, Q. (1973). Utilitarian Ethics. London : Macmillan.

Barrow, Robin. (1975). Plato Utilitarianism and Education. London: Routtedqeskegan Paul.

Earp, Edwin Lee. (1867). The social engineer. New York.

H.L.A. Hart. (1961). The Concept of Law. England: Oxford University Press

Joseph Clarence Verhelle. (1958). Roscoe Pound and His Theory of Social Interests. Chicago: Loyola University Chicago.

John M. Jordan. (1994). Machine-age Ideology : social engineering and American liberalism, 1911–1939. The University of North Carolina Press.

Jeremy Bentham.(1781). An Introduction to the Principles of Morals and Legislation. Batoche Books.

Östlund, David. (2007). A knower and friend of human beings, not machines: The business career of the terminology of social engineering, 1894–1910. Ideas in History, 2 (2),43–82.

William H. Tolman. (1909). Social Engineering. New York: The McGraw Publishing company.

John Stuart Mill. (1863). Utilitarianism. Canada: Batoche Books.

N. S. Timasheff. (1939). An Introduction to The Sociology of Law. Cambridge Harvard University Committee on Research in the Social Sciences.

Wormster, R.A. (1982). The Story of Law. New York: Simon and Shuster.

Lon L. Fuller. ( 1969 ).The Morality of Law. revised ed. New Haven: Yale University Press.

Mathieu Deflem. (2008). Sociology of Law Visions of a Scholarly Tradition. England: Cambridge University Press.

Roscoe Pound. (1922). An Introduction to the Philosophy of Law. New Haven: Yale University Press.

Roscoe Pound. (1921). The Spirit of The Common Law. New Hampshire: Publishers Francistown.

Roscoe Pound. (1921). Future of the criminal law. Columbia Law Review, 21(1), 1-16.

Pauline McDonald. (1979). The Legal Sociology of Georges Gurvitch. British Journal of Law and Society 6, (1), 24-52.

Jeremy Bentham. (1843) .the rationale of rewards, in the works of Jeremy Bentham vol. 2, ed. john Bowring (Edinburg: William Tait)

James A. Gardner. (1961). The Sociological Jurisprudence of Roscoe Pound (Part I). Vol.7 Rev. 1.

Iain McLean. (2018). What is social science?. Retrieved from https://www.thebritishacademy.ac.uk.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2021