นวัตกรรมการจัดการแหล่งท่องเที่ยววัดตามแบบอารยสถาปัตย์ ในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, การจัดการแหล่งท่องเที่ยว, วัดนามมงคล, อารยสถาปัตย์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวัตกรรมการจัดการแหล่งท่องเที่ยวตามแบบอารยสถาปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือ วัดสำคัญ 10 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ วัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร วัดเจ็ดยอด วัดสวนดอก วัดผาลาด วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดช้างค้ำ วัดอินทราวาส และ วัดเด่นสะหรีเมืองแกน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตัวแทนผู้สูงอายุ ผู้พิการ พระสงฆ์ สามเณร นักท่องเที่ยวชาวไทย ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 31 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ และแนวทางการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมการจัดการแหล่งท่องเที่ยวตามแบบอารยสถาปัตย์ คือ 1) คู่มือการจัดการการจัดการแหล่งท่องเที่ยววัดนามมงคลตามแบบอารยสถาปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) ภาพสัญลักษณ์อารยสถาปัตย์ 17 รายการ ได้แก่ (1) ทางลาด (2) ราวจับขึ้น-ลง (3) ที่จอดรถ (4) ทางเดิน Braille block (แผ่นทางเท้าสำหรับผู้พิการทางสายตา) (5) ลิฟท์ (6) เครื่องกระจายเสียง (7) แสงสว่างเพียงพอ/สะอาด (8) ตัวอักษรสื่อความ/QR Code (9) รถบริการ Wheelchair (10) ไม้เท้า (11) ป้ายสัญลักษณ์ (12) ห้องน้ำ (13) ทางข้ามถนน/สัญญาณไฟจราจร (14) ไฟบอกทาง (15) จุดพักผ่อนสำหรับคนพิการ (16) พื้นกันลื่น/กันเท้าร้อน (17) สถานที่จุดเทียนธูปบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
References
กฤษณะ ละไล. (2556). กฤษณทัวร์ อารยสถาปัตย์. กรุงเทพฯ: Nextbook.
คณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ 4 ปี (2561-2564). เชียงใหม่: จังหวัดเชียงใหม่.
จุฑาภรณ์ หินซุย และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2557). แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ กรณีศึกษาวัดประชาคมวนาราม อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 10(1), 50-58.
ชิด สุขหนู. (2557). การออกแบบเพื่อทุกคนสำหรับผู้พิการทางสายตา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2556). คู่มือการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสม กับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพวัลย์ ทองอาจ. (2553). การออกแบบเพื่อมวลชน Universal Design. วารสารนักบริหาร, 30(3), 85-86.
ธารณี กฤติยาดิศัย. (2556). การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อทุกคนสำหรับศูนย์การค้าชุมชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2554). ตำนานพระพุทธรูปล้านนา: พลังปัญญาทางความเชื่อและความสัมพันธ์กับท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ประทีป พืชทองหลาง. (2558). เส้นทางท่องเที่ยวเชิงศาสนาประเภทเจดีย์และพระพุทธรูปสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9 (2-4), 111-123.
ประทีป พืชทองหลาง นิศรา จันทร์เจริญสุข และญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวประดิษฐานพระเจ้าทันใจ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. จันทรเกษมสาร, 23(45), 65-80.
ประทีป พืชทองหลาง, เพราพิลาส ประสิทธิ์บุรีรักษ์ และญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง. (2561). วัดงามนามมงคล : แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดนามมงคล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่, วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 7(1), 212-242.
พรวิทู โค้วคชาภรณ์. (2557). อารยสถาปัตย์ (Universal Design). วารสารวุฒิสภา, 4(21), ก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). บทนำสู่พุทธธรรม: ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์.กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และพระมหาเสรีชน นริสฺสโร. (2556). การพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ภัทร์สุภา ลีลานภาพรรณ์. (2551). การท่องเที่ยวเชิงพุทธ : ศึกษาเฉพาะกรณีแหล่งวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มาโนช พรหมปัญโญ. (2556). แนวทางการเตรียมความพร้อมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 8 (2), 36-47).
วงศ์ธีรา สุวรรณิน. (2557). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในจังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 8(3), 63-82).
วาลิกา แสนคำ. (2545). การพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
วุฒินันท์ กันทะเตียน. (2560). ภูมิสถาปัตยกรรมของวัดไทยกับการเรียนรู้และการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 13(2), 137-149.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2556). พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์: พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2560). เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและพลังศรัทธา. นนทบุรี : เมืองโบราณ.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2563). คู่มือนำชมศิลปกรรมโบราณในล้านนา. นนทบุรี : เมืองโบราณ.
สราญภัทร อนุมัติราชกิจ. (2560). อารยสถาปัตย์ในสังคมไทย: ศึกษากรณีผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการป้องกันราชอาณาจักร.
สุดาทิพย์ นันทโชค. (2555). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในจังหวัดสิงห์บุรีของนักท่องเที่ยวสูงอายุ. ประชุมเชิงวิชาการ SWUMBA Research Conference. 17 กรกฎาคม 2555 ณ โรงแรมจัสมินเอ็กเซกคิวทีฟสวีท. กรุงเทพฯ.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2556). พระพุทธรูปตามคติชาวล้านนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารีย์ นัยพินิจ, ภัทรพงษ์ ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และจิรชญา มณีเตร. (2555). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(1), 31-40.
Afacan, Y. Afacan. (2011). Teaching universal design: An empirical research in interior architecture Procedia. Social and Behavioral Sciences, 15 (2011), 3185-3192.
Mcguire, J.M. and Mcguire, S.S. Scott, S.F. (2006). Shaw Universal design and its applications in educational environments . Remedial and Special Education, 27 (3), 166-175.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปณิธาน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th