การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามคัมภีร์ใบลานพระเจ้าเลียบโลก ในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
พระเจ้าเลียบโลก, เชียงใหม่, การท่องเที่ยวเชิงพุทธบทคัดย่อ
ตำนานพระเจ้าเลียบโลกเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่มีความแพร่หลายทางภาคเหนือ ภาคอีสาน รัฐฉาน และสิบสองปันนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าเสด็จมาเยือนคนพื้นเมือง และโปรดประทานสิ่งของไว้สักการะแทนตัวพระองค์ จากตำนานพระเจ้าเลียบโลกฉบับวัดกู่คำ มีจำนวน 12 ผูก จำนวนใบลาน 470 หน้า บทความนี้จะได้อธิบายให้ทราบถึงวัดที่อยู่ในเส้นทางที่พระพุทธเจ้าเสด็จผ่าน ที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน ว่ามีอยู่ที่ไหนบ้าง ตามตำนานในเนื้อหาของใบลานผูกที่ 9 ได้กล่าวถึง การพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าว่าบริเวณนี้ (เมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน) ต่อไปจะเป็นมหานครและจะมีมหาอาราม 8 แห่ง ได้แก่ บุปผาราม (วัดสวนดอก) เวฬุวันอาราม (วัดกู่เต้า) วัดบุพพาราม อโศการาม (วัดป่าแดง) พิชาราม (วัดศรีเกิด) สังฆาอาราม (วัดเชียงมั่น) นันทอาราม (วัดนันทา) และโชติการาม (วัดเจดีย์หลวง) โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์นี้สามารถนำมาสร้างเป็นประวัติของแต่ละวัดเพื่อสร้างคุณค่าและเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาวัด ใช้เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันผลักดันให้วัดในตำนานพระเจ้าเลียบโลกที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวพัฒนากลายเป็นวัดที่มีชื่อเสียงในด้านการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา เพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ดึงดูดนักท่องเที่ยว และให้คนในท้องถิ่นเห็นคุณค่าของวัดในตำนานสามารถใช้วัดเป็นสถานที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว อีกทั้งวัดก็จะมีรายได้จากการท่องเที่ยว มีปัจจัยมาทำนุบำรุงศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองต่อไป
References
กตัญญู ชูชื่น. (2525). พระเจ้าเลียบโลกฉบับล้านนา:บทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กรรณิกา คําดี. (2558). วัดและศาสนาในมิติการท่องเที่ยว. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). วัดบุพพาราม. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://thai.tourismthailand.org/Attraction
จรัสนันท์ สิทธิเจริญ. (2550). พฤติกรรมการท่องเที่ยวในภาคเหนือของนักท่องเที่ยวชาวไทย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2546). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชนัญ วงษ์วิภาค. (2552) .เอกสารประกอบการสอนวิชาการจัดการท่องเที่ยววัฒนธรรม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2543). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชียงใหม่. เชียงใหม่: สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
ตุลาภรณ์ แสนปรน และ ดลยา แก้ว คำแสน (ผู้ปริวรรต). (มปพ). ตำนานพระเจ้าเลียบโลกวัดกู่คำ ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.
เทิดชาย ช่วยบํารุง. (2551). การท่องเที่ยวนานาชาติปี พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนา.
เธียรชาย อักษรดิษฐ์. (2552). ตํานานพระเจ้าเลียบโลก : การศึกษาพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมล้านนาภูมินาม ตํานาน ผู้คน. เชียงใหม่: ธารปัญญา.
นพพงษ์. (2558). พระพุทธพิชิตชัยอดิสัยป่าแดงมิ่งมงคล พระประธานในวิหารวัดป่าแดงหลวง. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://th.wikipedia.org/wiki
นิศา ชัชกุล. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประเมศฐ์ พิชญ์พันธุ์เดชา. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของเกาะฮ่องกงที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พะยอม ธรรมบุตร. (2549). หลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรพิไล เลิศวิชา, สุพชัย เมถิน, และ นนธชัย นามเทพ. (2552). เชียงใหม่-ลำพูน : เขตเศรษฐกิจวัฒนธรรม พลวัตและพัฒนาการ. เชียงใหม่: ธารปัญญา.
ผู้จัดการออนไลน์. (2562). 5 วัดงามเมือง “เชียงใหม่” ไหว้พระอิ่มบุญอุ่นใจ. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://mgronline.com/travel/detail/9620000080446
ภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม. (2558). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมในวัด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(1).
เลดี้ ดาริกา. (2556). วัดกู่เต้า ชมความงดงามพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะพม่า และเจดีย์ทรงน้ำเต้าอันเป็นเอกลักษณ์. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.tripchiangmai.com/chiangmaiboard/index.php?topic=7175.0#.YB_wEugzY2w
วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง, สุจิณณา พานิชกุล และ ปัทมา จันทรวิโรจน์. (2547). เส้นทางท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมเชิงประวัติศาสตร์ . กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วัชราภรณ์ ระยับศรี. (2551). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาเที่ยววัดในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริศักดิ์ นันตี. (2556). ศึกษาวิเคราะห์พุทธตํานานพระเจ้าเลียบโลก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศุภลักษณ์ อุครางกูร. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: คลังนานาวิทยา.
สาวิกาน้อย. (2555). ไหว้พระประธาน 77 จังหวัด. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=40984
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และ วัลลภ ทองอ่อน. (2559). รูปแบบทางพื้นที่ของตำนานพระเจ้าเลียบโลก : บทวิเคราะห์ตำนานด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 35(2), 23-45.
สุรพล ดำริห์กุล. (2545). ข่วงเมืองและวัดหัวข่วงกับแบบแผนของเมืองในดินแดนล้านนา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรีรัตน์ เตชาทวีวรรณ. (2545). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เหมียวสินธร. (2560). วัดศรีเกิด จ.เชียงใหม่. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=aerides&month=12-01-2014&group=76&gblog=
Dockaturk. (2560). วัดนันทาราม : วัดทิศทักษิณเมืองเชียงใหม่. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.tripchiangmai.com/chiangmaiboard/index.php?topic=10644.0#.YCAdJOgzY2w
Force8949. (2561). พระเจ้าไม้. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://force8949.blogspot.com/2018/05/blog-post_10.html
trailtrav. (2561). เส้นทางนอกใจ : กินข้าว กินหนม ชมวิว ชมวัด. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.trailtrav.com/chiangmaiunx/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th