พัฒนาการและคุณค่าของการเทศน์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีในล้านนา
คำสำคัญ:
มหาเวสสันดรชาดก, การเทศน์มหาชาติ, กัณฑ์มัทรี, ล้านนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาพัฒนาการและคุณค่าของการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรีในล้านนา ในด้านประวัติความเป็นมาของการเทศน์สำนวนและทำนอง รวมถึงพัฒนาการและคุณค่าการเทศน์มหาเวสสันดรชาดก พัฒนาการมาจากชาดกในพระไตรปิฎกและได้รับอิทธิพลมาจากพระมาลัยสูตร จนพัฒนาเป็นราชประเพณีและประเพณีชาวบ้านในล้านนาส่วนสำนวนการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกล้านนาแบ่งออกเป็น 2 สำนวนคือ สำนวนร้อยแก้วและสำนวนร้อยกรอง ทำนองการเทศน์มี 2 ทำนองคือ ทำนองดั้งเดิม แบ่งเป็นทำนองธรรมวัตร และทำนองมหาชาติ และ ทำนองประยุกต์แบ่งเป็น ทำนองแบบผสมผสานและทำนองขับขานอื่อกะโลง ด้านพัฒนาการรูปแบบการเทศน์ แบ่งออกเป็นสองระยะคือ ในอดีตพระนักเทศน์ให้ความสำคัญกับหลักคุณธรรมจริยธรรม ในปัจจุบันเน้นเฉพาะสาระธรรมและความเพลิดเพลิน คุณค่าการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกในกัณฑ์มัทรี คือ ผู้ฟังเกิดปัญญาเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต และเป็นการกระตุ้นให้ทำความดี เช่น บริจาคทานเป็นต้น ส่วนคุณค่าต่อพระนักเทศน์คือเป็นการฝึกสติและพัฒนาจิต คุณค่าทางสังคม คือ การรักษาหลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในเชิงวรรณศิลป์รวมถึงการรักษาวัฒนธรรมประเพณีแบบล้านนา
References
กรมศิลปากร. (2544). สรุปผลการสัมมนาทางวิชาการระดับอนุภาคเอเชียอาคเนย์ เรื่องท่วงทำนองร้อยกรองไทยในอุษาคเนย์.กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ดวงรัตน์ เรืองอุไร. (2554). การตัดสินคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์.Retrieved from: https://bit.ly/2SoNSxF.Accessed 21/3/2018.
ธิติพงษ์ กันตีวงศ์. (2545). ทำนองการเทศน์มหาชาติกัณฑ์มัทรีในประเพณีตั้งธัมม์หลวงจังหวัดเชียงใหม่.(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
นันท์ นันท์ชัยศักดิ์. (2561). ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทำนองป๊าวไกวใบ,น้ำตกตาด,นกเขาเหิน. สืบค้น 21 มีนาคม2561 จาก from: https://bit.ly/3xcdAEA.
นิยะดา เหล่าสุนทร. (2538). ปัญญาสชาดก: ประวัติและความสำคัญที่มีต่อวรรณกรรมร้อยกรองของไทย.กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2526). มหาชาติล้านนาการศึกษาในฐานะเป็นวรรณคดีท้องถิ่น.กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนพานิช.
ประภาศรี สีหอำไพ. (2535). พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงษ์จันทร์ คล้ายสุบรรณ์. (2528).วรรณคดีศาสนาและขนบประเพณี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เจริญรัตน์การพิมพ์.
พระธรรมราชานุวัตร (ปริวรรต). (2498). มหาชาติภาคพายัพฉบับสร้อยสังกร สำนวนเอก.กรุงเทพฯ: ส.ธรรมภักดี.
พระมหาสมชาติ นนฺทธมฺมิโก (บุษนารีย์). (2549). ศึกษาคุณค่าการเทศน์มหาชาติในล้านนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มณี พยอมยงค์. (2527). ประเพณีตั้งธรรมหลวงเทศน์มหาชาติล้านนาไทย. เชียงใหม่: ธาราทองการพิมพ์.
สมหมาย เปรมจิตต์. (2544). มหาชาติเวสสันดรชาดก วิเคราะห์ทางสังคมและวัฒนธรรม. เชียงใหม่: มิ่งเมือง.
สรัสวดี อ๋องสกุล.(2529). ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 2 . เชียงใหม่: ช้างเผือก.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2549). เทศน์มหาชาติ ฉลองราชย์หกสิบทัศ สิริสวัสดิ์รัชสมัย.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th