อรชุนกฤษณะ: วาทะสร้างพลังในสถานการณ์คับขัน
คำสำคัญ:
อรชุน, กฤษณะ, วาทะสร้างพลัง, สถานการณ์คับขันบทคัดย่อ
ปัจจุบันผู้คนประสบปัญหานานาประการ ทั้งจากปัจจัยภายในคือความคิดของตัวเอง และปัจจัยภายนอกคือสภาพแวดล้อม ซึ่งถาโถมมากับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลให้บางจังหวะชีวิตเกิดความท้อแท้ขึ้นมา จนทำให้ต้องการกำลังใจจากใครสักคนมาปลอบประโลมเพื่อปลุกให้มีพลังดำเนินชีวิตต่อไปได้ บทความวิชาการนี้ผู้เขียนมุ่งนำเสนอแหล่งสร้างพลังใจที่สำคัญยิ่งแหล่งหนึ่งคือเนื้อหาในคัมภีร์ภควัทคีตาที่กล่าวถึงตัวละครเอกคืออรชุนและกฤษณะ (อรชุนผู้ต่อสู้กับข้าศึกภายในคือความคิดของตัวเองขณะอยู่ท่ามกลางสนามรบ กฤษณะผู้กล่าววาทะสร้างพลังในสถานการณ์คับขันนั้น) เพื่อคลี่วาทะที่พระกฤษณะทรงประทานแก่กุมารอรชุนผู้ท้อแท้ไม่อยากรบให้กลับมีพลังลุกขึ้นมารบจนได้รับชัยชนะ องค์ความรู้จากบทความนี้คือ หลักการสร้างพลังใจด้วยตัวเอง 4 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก ให้ หยุดนิ่งเพื่อทบทวน ด้วยการตั้งสติ ตักเตือนตนเอง มองโลกและปัญหาอย่างรอบด้าน ระยะที่สอง ให้ ฟื้นพลัง โดยพึ่งหลักคำสอนทางศาสนาหรือคำพูดแนวให้กำลังใจมาบำรุงจิตใจ ระยะที่สาม ให้ เดินหน้าอย่างมีความหวัง ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับให้ดีที่สุด มองโลกในแง่บวก ระยะที่สี่ ให้ เดินหน้าอย่างมั่นใจ โดยวางใจเป็นกลางในทุกสภาพปัญหา คิดถึงครอบครัวคนที่รัก และเชื่อมั่นในตนเองว่าสามารถทำได้ดีที่สุดในทุกสถานการณ์
References
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สมภาร พรมทา. (2542). แปลและเรียบเรียง. ภควัทคีตา (บทเพลงแห่งองค์ภควัน). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศยาม.
เสฐียร พันธรังษี. (2542). ศาสนาเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
แสง มนวิทูร. (2515). แปลสู่ภาคไทย. ศรีมัทภควัทคีตา หรือ เพลงแห่งชีวิต ของ กฤษณะไทฺวปายนวฺยาส. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
Rmananda Prasad. (1996). The Bhagavadgita. Delhi: Motilal Banarsidass publishers private.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th