วิเคราะห์จริยธรรมเพศสัมพันธ์ในมุมมองของพุทธทาส

ผู้แต่ง

  • อำนาจ ยอดทอง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

เพศสัมพันธ์, จริยธรรมเพศสัมพันธ์, จริยธรรมเซ็กส์, พุทธทาส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสารที่มุ่งวิเคราะห์จริยธรรมเพศสัมพันธ์ในมุมมองของพุทธทาสภายไต้กรอบแนวคิดจริยธรรมเซ็กส์ในทางตะวันตก จากผลการวิจัยพบว่า พุทธทาสไม่ใช้คำว่า “เพศสัมพันธ์” ในการแสดงหลักจริยธรรมเพศสัมพันธ์ของท่าน แต่ใช้ในฐานะเป็นความหมายหนึ่งของคำต่อไปนี้ คือ กามธาตุ เพศ ฆราวาส การสืบพันธุ์ และกามารมณ์ พุทธทาสมองว่า เพศสัมพันธ์ที่แท้จริงนั้นมีวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือการสืบพันธุ์ และการสืบพันธุ์ที่แท้คือกิจกรรมทางเพศของชายหญิงที่มุ่งประสงค์ให้กำเนิดคนใหม่ออกมาเป็นสำคัญ จึงมีลักษณะสอดคล้องกับทฤษฎีกฎธรรมชาติมากที่สุด โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเป้าหมายตามธรรมชาติที่แท้จริงของเพศสัมพันธ์ ส่วนเพศสัมพันธ์ตามหลักจริยธรรมของค้านท์ให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระและความเคารพในตัวบุคคล และประโยชน์นิยมให้ความสำคัญกับความสุขโดยรวมจากการมีเพศสัมพันธ์นั้น ดังนั้นทั้งสองมุมมองจึงมีลักษณะที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากมุมมองของพุทธทาส สำหรับทฤษฎีคุณธรรมกับมุมมองเรื่องเพศสัมพันธ์ของพุทธทาสนั้น อย่างน้อยที่สุดก็มีลักษณะสอดคล้องกับทฤษฎีคุณธรรมที่สนับสนุนจริยธรรมเช็กส์แนวจารีตเท่านั้น แต่กลับมีลักษณะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับทฤษฎีคุณธรรม

References

ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล. (2536). จริยศาสตร์เซ็กส์ (Sexuality Ethics). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 39 (ฉบับข้อมูลคอมพิวเตอร์ ครั้งที่ 8) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพศาล วิสาโล. (2552). เซ็กส์ กับ พุทธ. ใน วิสาโล visalo.org (ออนไลน์). OCTOBER 11 Sex issue, สำนักพิมพ์ openbooks. สืบค้น 28 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.visalo.org/article/budAndSex.htm.

พุทธทาสภิกขุ. (2518). ก ข ก กา ของการศึกษาพุทธศาสนา. สุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิ.

พุทธทาสภิกขุ. (2519). โมกขธรรมประยุกต์. พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ (บรรณาธิการ). สุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิ.

พุทธทาสภิกขุ. (2537). ฆราวาสธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. สุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิ.

พุทธทาสภิกขุ. (2541). บรมธรรมภาคต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. สุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2536). พระไตรปิฎกและอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มาลียา เครือตราชู ปราณีต ดำรงผล และ ประหยัด โภคฐิติยุกต์ (บรรณาธิการ). (2551). ชีววิทยา.กรุงเทพฯ: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมภาร พรมทา. (2548). พุทธศาสนากับปัญหาจริยศาสตร์ โสเภณี ทำแท้ง และการุณยฆาต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สารานุกรมปรัชญาออนไลน์ฉบับสังเขป. (2554). จริยศาสตร์เชิงคุณธรรม (virtue ethics). (ออนไลน์).เรียบเรียงโดย ปกรณ์ สิงห์สุริยา. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), ปรับปรุงแก้ไขล่าสุด 16/04/54). สืบค้น 29 มีนาคม 2564. จาก http://www.parst.or.th/philospedia/virtueethics.html.

อำนาจ ยอดทอง. (2563). จริยธรรมเพศสัมพันธ์ในมุมมองพุทธทาสภิกขุ. ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2563 ของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วันที่ 14-15 ธันวาคม พ.ศ. 2563.

อำนาจ ยอดทอง. (2563). พุทธศาสนาเถรวาทกับมุมมองจริยธรรมเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (3),1180.

Dimmock, Mark and Fisher, Andrew. (2017). Ethics for A-Level. Cambridge, UK: Open Book Publishers.

Fleming, Bruce. (2004). Sexual Ethics: Liberal Vs. Conservative. University Press of America: Dallas, Lanham, Boulder, New York, Oxford.

Ilangakoon, Samantha. (2016). Sexual Ethics; A Need Indeed, Buddhist Ethics as a Model. Cultural and Religious Studies. 4(2),136.

Moschella, Melissa. (2019). Sexual Ethics, Human Nature, and the "New" and "Old" Natural Law Theories. National Catholic Bioethics Quarterly. 19 (2),251.

Soble, A. (2002). “Introduction: The Fundamentals of the Philosophy of Sex”. In The Philosophy of Sex. 4 edition.

Edited by Alan Soble. Lanham • Boulder • New York • Oxford: Rowman & Littlefield Publishers, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2021