วัตรปฏิบัติสำหรับผู้นับถือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิม)

ผู้แต่ง

  • รัตนะ ปัญญาภา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • อภินันท์ ธรรมอินทร์ลาด สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

วัตรปฏิบัติ, พระอวโลกิเตศวร, โพธิสัตว์, กวนอิม

บทคัดย่อ

เจ้าแม่กวนอิมหรือพระอวโลกิเตศวรเป็นพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนามหายานที่ผู้นับถือเชื่อว่า มีเมตตาธรรมอย่างสูงต่อสรรพสัตว์ มีเป้าหมายการบำเพ็ญเพียรด้วยการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ทั้งหมดก่อนตนเอง ดังนั้น ผู้นับถือเจ้าแม่กวนอิมจึงมีวัตรปฏิบัติหลักสามประการคือ ถือศีล กินเจ และสวดมนต์ภาวนา การถือศีล คือ 1) การรักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 ซึ่งจะเอื้อต่อหนุนต่อการกินเจ 2) การละเว้นจากการกินเนื้อสัตว์ เท่ากับเป็นการเอื้อเฟื้อทางอ้อมต่อการรักษาศีลข้อ 1 อย่างเคร่งครัด และ 3) การสวดมนต์เพื่อสักการบูชาเจ้าแม่กวนอิมมีเป้าหมายเพื่อตระหนักถึงความเมตตา สติปัญญา ความบริสุทธิ์ เป็นการเจริญกัมมัฏฐานเพื่อบ่มจิตใจของตนให้สงบ เสริมสร้างปัญญาในการพิจารณาสัจธรรม  กระบวนการคิดตามวิถีแห่งศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญานี้จะส่งผลให้ประสบความสุขความสำเร็จได้อย่างแท้จริง

References

จอห์น โบลเฟลค์. (2540). เบญจมหาโพธิสัตว์และกฤษดาภินิหารกวนอิม. (สัมพันธ์ ก้องสมุทร บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

เดือน คำดี. (2541). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: เกษตรศาสตร์.

ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล. (2553). เทพเจ้าสัญลักษณ์มงคล. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยุเคชั่น

พรปิยะ ขวัญบุญจันทร์. (2537). ลัทธิพิธีเจ้าแม่กวนอิม: ระบบความเชื่อของชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ กรณีศึกษาตำหนักเจ้าแม่กวนอิมโชคชัยสี่ กทม.. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระพุทธทาสภิกขุ. (2522). ลังกาวตารสูตร. กรุงเทพฯ: แสวงสุทธิการพิมพ์.

พระมหาสมยศ อาภายุตโต (เสนานุช). (2546). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (กวนอิม) ในพระพุทธศาสนามหายาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมพุฒิ จาวตระกูล. (2522). กิจอันควรแก่การปฏิบัติสำหรับผู้ถือศีลกินเจ 9 วัน. รวบรวมโดย คณะเมตตาธรรมทาน. กรุงเทพฯ: แสวงสุทธิการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

เลียง เสถียรสุต. (2539). การพ้นทุกข์ของมหายาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ลิพ เพรส.

วรรณพรรธน์ เฟรนซ์. (2560). องค์พระกวนอิมพันกรแห่งวัดบุ๊ตต้าบ: พระโพธิสัตว์แห่งความเมตตาในศิลปะเวียดนาม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 13(1): 68-98.

วศิน อินทสระ. (2541). พุทธปรัชญามหายาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สาวิกาแห่งหนานไห่ ธรรมเกียรติ กันอริ. (2539). บารมีพระโพธิสัตว์กวนอิม. กรุงเทพฯ: ชุมศิลป์ธรรมดา.

เสถียร โพธินันทะ และ เลียง เสถียรสุต. (2528). คุณธรรมของพระโพธิสัตว์ (ฉบับวัดโพธิ์แมนคุณาราม). กรุงเทพฯ: ผลพันธ์การพิมพ์.

เสถียร โพธินันทะ. (2522ก). ประวัติการกินเจเดือนเก้า (เก้าอ้วงเจ). รวมรวมโดย คณะเมตตาธรรมทาน. กรุงเทพฯ: แสวงสุทธิการพิมพ์.

เสถียร โพธินันทะ. (2522ข). ปรัชญามหายาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.

องสุตบทบวร (อดุลย์ เหว่จื้อ). (2539). ประวัติศาสนพิธีพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: ชุมชน.

อนุชา ม่วงใหญ่ กมลลักษณ์ กิตติวงศ์ภักดี อรญา ลาอำ และอุษณิษา เตชะตา. (2561). แนวทางการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการกินเจของสังคมไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 6(1): 111-122.

อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสต์. (2539). พระพุทธศาสนามหายาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Bhikkhunī Giới Hương. (2019). Commentary on Avalokiteśvara Bodhisattva. (4th Edit.). California: Huong Sen Buddhist Temple.

Jonathan H. X. Lee. (2013). Avalokiteśvara and Compassion: Faith and Practice for Harmonious Living Beyond Asian/Asian American Communities. Buddhist Virtues in Socio-Economic Development: ICDS Conference Volume, 286-303

Yü Chün-fang. (1997). Ambiguity of Avalokiteśvara and the Scriptural Sources for the Cult of Kuan-yin in China. Chung-Hwa Buddhist Journal. 10, 409-464.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022