แหล่งวิทยาการเรียนรู้ของนักเรียนประถมศึกษาที่ส่งเสริมพัฒนาการในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผู้แต่ง

  • ชวลิต ขอดศิริ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • วชิรา เครือคำอ้าย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

นักเรียนประถมศึกษา, แหล่งวิทยาการเรียนรู้, การเรียนรู้ตลอดชีวิต

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งวิทยาการเรียนรู้ของนักเรียนประถมศึกษาที่ส่งเสริมพัฒนาการในการเรียนรู้ตลอดชีวิต อธิบายว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนานมาตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน โดยยึดฐานคิดจากปรัชญาในการดำเนินชีวิตและเชื่อมโยงมาสู่หลากหลายศาสตร์ ฉะนั้น การเรียนรู้จึงเกิดจากความรู้ที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นเป็นวัฏจักร และเป็นการศึกษาตลอดชีวิตที่มองมิติแบบองค์รวมจึงเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในท้องถิ่นที่อธิบายปรากฎการณ์ทางสังคม ซึ่งอาจจะไม่ใช่การเรียนรู้ในห้องเรียนอย่างเดียว แต่รวมถึงการเรียนรู้โดยครอบครัว ชุมชนและสังคม ที่เหมาะสมกับบริบทในสังคมไทยและส่งเสริมพัฒนาการในการเรียนรู้ตลอดชีวิต  

References

กองพุทธศาสนสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2552). วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นวัดพัฒนาตัวอย่าง และอุทยานการศึกษาในวัด ประจำปีพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: บริษัท สยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2561). องค์ความรู้หลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวนพิศ พร้อมสุข. (2559). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1(พะเยาประชานุกูล) อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย,9 (19),59-70.

ณพพร ดำรงศิริ. (2543). ชีววิทยาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปรียาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2557). การจัดการห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ : มีนเซอร์วิสซัพพลาย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวของและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

เยาวพา เดชะคุปต์. (2551). รวมนวัตกรรมทฤษฎีการศึกษาปฐมวัยสู่การประยุกต์ใช้ในห้องเรียน.อัญญมณี บุญซื่อ, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : สาราเด็ก.

รสิกา อังกูร. (2543). ความพร้อมของวัดในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยผ่านการนำชมศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ และอุษา ชูชาติ. (2545). การเรียนรู้รูปแบบใหม่: ยุทธศาสตร์ด้านนโยบายและการใช้ทรัพยากร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. และแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

เสรี วงษ์มณฑา. (2529). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: อักษรสยามการพิมพ์.

เอกวิทย์ ณ ถลาง และคณะ. (2546). ภูมิปัญญากับการจัดการความรู้.กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

Tuemaster Admin. (2021). สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (A Lifelong Learning Society). สืบค้น 1 กันยายน 2564, จาก https://qrgo.page.link/9PGtL

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2021