วิเคราะห์ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักของจริยศาสตร์อาหาร: กรณีศึกษาบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • วริสรา สุกุมลจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

จริยศาสตร์ประยุกต์, จริยศาสตร์อาหาร, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในสภาพสังคมปัจจุบัน และ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการบริโภคอาหารที่เกี่ยวข้องกับจริยศาสตร์อาหารของบุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คนจากบุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟ การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติการวิเคราะห์ปัจจัย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสหสัมพันธ์เชิงถดถอย

ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างในปัจจุบันมีรับประทานอาหารครบวันละ 3 มื้อเป็นประจำในระดับมาก ( = gif.latex?\chi&space;\bar{}4.16) นิยมปรุงอาหารรับประทานที่บ้านในระดับมาก (gif.latex?\chi&space;\bar{}= 3.84) และหากต้องรับประทานอาหารนอกบ้าน ถ้าเป็นไปได้จะเลือกรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์เท่านั้น (gif.latex?\chi&space;\bar{} = 3.83) และพบว่าปัญหาเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างนั้นเห็นว่าการปรุงอาหารมารับประทานเองในที่ทำงานไม่มีความสะดวกในระดับมาก (gif.latex?\chi&space;\bar{} = 3.91) รองลงมาคือ ปริมาณงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถเลือกรับประทานอาหารที่เห็นว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ระดับมาก (gif.latex?\chi&space;\bar{} = 3.86) และไม่ชอบรับประทานอาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป ระดับมาก ( gif.latex?\chi&space;\bar{}= 3.71)

นอกจากนี้ ยังพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกต่อทัศนคติต่อการบริโภคอาหารกับจริยศาสตร์อาหาร ได้แก่ ปัจจัยด้านการตัดสินใจเลือกวิธีบริโภคอาหาร ปัจจัยด้านการตัดสินใจเลือกวัตถุดิบอาหาร และปัจจัยด้านปัญหาและอุปสรรคในการเลือกบริโภคอาหาร อีกทั้งพฤติกรรมและทัศนคติการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างมีทั้งความสอดคล้องและไม่สอดคล้องกับหลัก จริยศาสตร์อาหาร กล่าวคือพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ไม่สอดคล้องกับหลักจริยศาสตร์อาหารคือการไม่สามารถเลือกรับประทานอาหารที่เห็นว่าเป็นประโยชนทั้งต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานได้ ส่วนที่มีความสอดคล้องกับจริยศาสตร์อาหารคือ ความเข้าใจและความกังวลเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ มีความเข้าใจว่ามนุษย์อยู่ได้โดยไม่ต้องการอาหารประเภทเนื้อสัตว์เลย และยังเข้าใจว่าการรับประทานอาหารตามฤดูกาลและการไม่ทานเนื้อสัตว์มีส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมได้

References

เครือมาศ มีเกษม. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ชนกพรรณ วรดิลก. (2559). เครือข่ายการสื่อสารและการสร้างอัตลักษณข์องกลุ่มผู้บริโภคอาหารคลีน. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ณัฐพล โสตถิรัตน์วิโรจน์. (2559). ความคิดทางจริยศาสตร์ของปีเตอร์ซิงเกอร์ในงานจริยศาสตร์เชิงปฏิบัติ. วารสารประวัติศาสตร์, 41(1), 46-56.

ธนวัฒน์ ศาศวัตวงศ์. (2552). พฤติกรรมการบริโภคอาหารกลางวัน ของประชากรวัยทำงานในอำเภอเมืองเชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์. (2557). พฤติกรรมการบริโภค: อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 255-264.

ปิยะมาศ ใจไฝ่. (2562). ขบวนการอาหารเนิบช้าในฐานะวิถีสู่ชีวิตยั่งยืน. ปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา, 15(2), 343-361.

แมคไมเคิล, ฟิลิป. (2559). ระบอบอาหารและคำถามว่าด้วยสังคมเกษตรกรรม. แปลจาก Food regimes and agrarian questions. แปลโดย สร้อยมาศ รุ่งมณี และคนอื่น ๆ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัชฎา เพ็ญศรีสิริกุล. (2555). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคคลวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วิทญา ตันอารีย์. (2554). พฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารของประชาชนในตำบลขี้เหล็กและตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สิริกาญจ์ จินตบัญญัติ. (2553). ทัศนคติ และกระบวนการควบคุมตนเองของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ : ศึกษากรณีกลุ่มลูกค้าร้านอาหาร ประเภทอาหารตามกลุ่มเลือด มังสวิรัติ และแมคโครไบโอติกส์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดสุดา อธิปัญจพงษ์. (2554). ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารสโลว์ฟู้ดของบุคลากรโรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2560). สถานการณ์การป่วยและการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ โรคหัวใจและหลอดเลือด) ในประเทศไทย ในระยะ 5 ปี (2553-2557). วารสารควบคุมโรค, 43(4), 379-390.

สำนักงานสถิติแห่งชาติประจำปี 2560. (2560). กรมสำรวจอนามัย สวัสดิการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Kaiser, M. & Algers, A. (2016). Food ethics: a Wilde Field in Need of Dialogue. Food ethics, doi: 10.1007/s41055-016-0007-8

Mason, J. & Singer, P. (2006). The Way We Eat: Why Our Food Choices Matter. New York: Rodale.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022