พระพุทธศาสนาในยุคการปลดปล่อยของ สปป. ลาว
คำสำคัญ:
Buddhism, Liberation, PDR.Lao, Lao monk’s rolesบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาในยุคการปลดปล่อยของ สปป. ลาว เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยใช้ข้อมูลจากเอกสารทางราชการที่เป็นรายงานประจำปี ของทางราชการและของคณะสงฆ์ เป็นหลัก เสริมด้วยเอกสาร รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนประกอบ
จากการศึกษาพบว่า พระพุทธศาสนาเถรวาทได้เข้ามาเผยแพร่ในสังคมลาวเมื่อปี พ.ศ. 1900 (ค.ศ. 1357) ภายหลังที่พระเจ้าฟ้างุ้ม มหาราช รวบรวมหัวเมืองลาวเข้าเป็นอาณาจักรล้านช้างให้เป็นปึกแผ่นในปี พ.ศ. 1896 (ค.ศ. 1353) โดยมีเมืองเชียงทอง (หลวงพระบาง) เป็นศูนย์กลาง พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักและเคียงคู่กับพัฒนาการของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาตั้งหลักปักฐานในดินแดนลาวแต่บรรพบุรุษถึงปัจจุบันเป็นเวลายาวนาน วีรกษัตริย์ลาว อาทิ พระเจ้าฟ้างุ้ม มหาราช พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช และพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช เป็นต้น ทุก ๆ พระองค์ได้มีบทบาทในการทะนุบำรุงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาทรงยกย่องให้เป็นศาสนาหลักของอาณาจักรและเป็นศูนย์กลางให้ไพร่ฟ้าราษฎรได้รับการศึกษา มีศีลธรรมและประพฤติชอบตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจของปวงชนลาวทำให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักที่สำคัญของชาติลาวและทำให้พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทประดิษฐานอย่างมั่นคงและมีความเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรลาวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ประเทศลาวได้ตกเป็นเมืองขึ้นของนักล่าอาณานิคมตะวันตกเป็นเวลายาวนาน ทำให้ไม่มีอิสรภาพ และพระพุทธศาสนาก็ถูกทำลายอย่างหนัก เพื่อกอบกู้เอกราชให้เป็นอิสระจากการเป็นเมืองขึ้น นับแต่ปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) เป็นต้นมา พระสงฆ์ลาวมีบทบาทและปฏิบัติหน้าที่สำคัญต่อประเทศชาติและประชาชน บันทึกประวัติศาสตร์ลาวได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่สำคัญของพระสงฆ์ลาวที่ปฏิบัติการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา วัดวาอารามจึงได้กลายเป็นคลังแห่งความรู้ และเป็นสถาบันสร้างทรัพยากรมนุษย์ ให้แก่ประเทศชาติ ในหลายๆ ด้าน เช่น วรรณคดี จิตรกรรม ประติมากรรม ภาษาศาสตร์ ศิลปะ และวรรณคดีอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่น้อย เพราะศักดินาต่างชาติได้ยึดเอาไปและจุดไฟเผาทิ้งเป็นจำนวนมาก ผ่านวิวัฒนาการของชาติและพระพุทธศาสนาเป็นเวลาหลายร้อยปี พระพุทธศาสนาจะตัดแยกออกจากชาติไม่ได้และพระสงฆ์สามเณรจะตัดแยกออกจากประชาชนไม่ได้ ประวัติศาสตร์ของชาติลาวที่ผ่านมาได้ชี้ชัดว่า พระสงฆ์ลาวทุกยุคทุกสมัยล้วนถือธงชาติเป็นชีวิตจิตใจและถือศีลธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการกอบกู้เอกราชทั่วแผ่นดินลาวและสนับสนุนพรรครัฐพัฒนาบ้านเมืองเพื่อความอุดมผาสุกของประชาชนและความศรีวิไลของประเทศชาติ จนในที่สุดประเทศชาติได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์ ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 (ค.ศ.1975) ภายใต้ระบอบการปกครองระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตยแบบลาวแห่งศักราชใหม่
References
กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม. (2543) . ประวัติศาสตร์ลาว (ดึกดำบรรพ์-ปัจจุบัน). เวียงจันทร์ : กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม.
กรานท์ เอแวนส์. (2549). ประวัติศาสตร์โดยย่อของประเทศลาว : เมืองอยู่ใจกลางแผนดินใหญ่เอเชียอาคเนย์. เชียงใหม่ : SilkwormBooks.
คณะกรรมการก่อสร้างหอธรรมสภา. (2544). ข่าวมหากุศลโครงการก่อสร้างหอธรรมสภา. เวียงจันทน์ : โรงพิมพ์กระทรวงศึกษาธิการ.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2534). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (2549). พุทธศาสนาเถรวาทในลาว. ใน มติชนรายวัน,10 กันยายน 2549.
คณะสงฆ์ลาว. (2561) . ธรรมนูญปกครองสงฆ์ลาว ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2547. (2561). นครหลวงเวียนจันทร์ : โรงพิมพ์โชคพาไชย จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุสลจิตฺโต). (2546). “การเดินทางไปร่วมประชุมใหญ่ เอบีซีพี ครั้งที่ 10 ณ นครเวียงจันทน์” ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 48 ปีการศึกษา 2548. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ. (2555). พระพุทธศาสนาในประเทศลาว. กรุงเทพฯ : เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
พระมหาจันลา ตันบัวลี. (2527). แผนทำลายพุทธศาสนาในลาวแดง. บรรบาย ณ หอประชุมกองทัพบก (12 เมษายน 2527).
มูลมรดกชนชาติอ้ายลาว. ( 2528). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระยอดแก้วพุทธชิโนรสสกลมหาสังฆปาโมกข์ สมเด็จพระสังฆราชแห่งพระราชอาณาจักรลาว. กรุงเทพฯ : จงเจริญการพิมพ์.
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฉบับปรับปรุง . (2558). นครหลวงเวียงจันทร์ : ประธานสภาแห่งชาติ.
สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2534). พุทธศาสนากับความชอบธรรมทางการเมืองกรณีเปรียบเทียบประเทศไทย ลาว และกัมพูชา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเนตร โพธิสาน. (2544). ความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในลาว. เวียงจันทน์ : เวียงจันทน์การพิมพ์.
สิลา วีระวงส์. (2544) . ประวัติศาสตร์ลาวแต่โบราณถึง 1946. เวียงจันทน์: หอสมุดแห่งชาติ.
สิลา วีรวงส์ และ นวน อุเทนสักดา. (2510). นิทานขุนบรมราชาธิราชฉบับที่ 1 ประวัติศาสตร์ลาวฉบับเดิม. เวียงจันทน์ : กระทรวงธรรมการ.
องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว .(2554). บทรายงานสภาพการเคลื่อนไหวการทำงานขององค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว สมัยที่ 6. เวียงจันทน์ : ม.ป.พ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปณิธาน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th