การประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการครองเรือนของชาวไทลื้อ ในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน
คำสำคัญ:
หลักฆราวาสธรรม, การครองเรือน, ชาวไทลื้อบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการครองเรือนของชาวไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน 2) เพื่อศึกษาประโยชน์ของการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการครองเรือนของชาวไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการครองเรือนของชาวไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยผู้วิจัยได้ออกแบบการศึกษาวิจัยจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงจากชาวไทลื้อในหมู่บ้านเจียงฮ้า สิบสองปันนา จำนวนทั้งหมด 73 คน ซึ่งบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกรอบของ สถานภาพ อายุ อาชีพ รายได้ รวมศึกษาตำรา เอกสารของทางราชการ แนวคิดของบุคคลต่าง ๆ และผลงานวิจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นการวิเคราะห์ออกมาในรูปเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า:
1. ชาวไทลื้อในหมู่บ้านเจียงฮ้า ส่วนมากได้ครองเรือนตามหลักฆราวาสธรรม แต่มีบางส่วนในกลุ่มเป้าหมายผู้ที่หย่าร้างไม่ได้นำหลักฆราวาสธรรม 4 ไปประยุกต์ใช้ในการครองเรือน หรือบางคนนำเอาหลักธรรมข้อไดขอหนึ่งไปประยุกต์ใช้ในการครองเรือน
2. ชาวไทลื้อในหมู่บ้านเจียงฮ้า ส่วนมากได้ประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการครองเรือน และได้ผลประโยชน์ต่อการครองเรือนอย่างชัดเจน และนำเอาผลประโยชน์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ต่อในการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีแก่บุตรหลาน
3.ชาวไทลื้อในหมู่บ้านเจียงฮ้า ส่วนมากได้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการครองเรือนตามประสบการณ์ที่ตนได้พบเจออย่างเจาะจงซึ่ง เป็นข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกับหลักฆราวาสธรรม และสามารถเอาไปเป็นแบบอย่างในชีวิตประจำวันได้ เพื่อที่จะทำให้ชีวิตการครองเรือนเกิดพัฒนาการที่ดี และสามารถเป็นแบบดีแก่คนข้าง ๆ เพื่อความสงบสุขของการอยู่ร่วมกันในสังคม
References
ดิลก บุญอิ่ม และ พระอธิการสุชาติ. (2561). ฆราวาสธรรม 4: สูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามวิถีพุทธ. วารสารมหาวิทยาลัยลำปาง, 7(2), 338-352.
พระมหาศาสนพงษ์ โคกแก้ว. (2551). การใช้หลักฆราวาสธรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนชุมชนวัดบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี).
พระสมทบ ถิรปญฺโญ (รุ่งมิตรจรัสแสง). (2554). ภาวะผู้นำของเยาวชนตามหลักฆราวาสธรรม 4 : กรณีศึกษาโรงเรียนหล่มสักวิทยาคาร จังหวัดเพชรบูรณ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยหมาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พุทธทาส อินฺทปญฺโญ. (2537). ฆราวาสธรรม .(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุภาพใจ.
มิ่งกมล หงษ์สวงค์. (2557). ไทลื้อ : วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 1(2), 1-20.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ . (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา. (2529). ยูนนาน. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปณิธาน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th