การพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตรศึกษา ของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ปรุตม์ บุญศรีตัน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สยาม ราชวัตร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • แสวง แสนบุตร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปิยะมาศ ใจไฝ่ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

หลักสูตร, พุทธศาสตรศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

          

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาและสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาของไทย  (2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตรศึกษา ที่มีคุณภาพทางวิชาการและสอดคล้องกับความต้องการและมิติทางสังคม เป็นการวิจัยผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรว่า ควรเป็นหลักสูตรระดับชาติ ภาคพิเศษ ที่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก แต่สามารถเขียนปริญญานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษได้ ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในต่างประเทศ มีค่าใช้จ่ายในการศึกษาไม่แพงเกินไปและสามารถผ่อนชำระได้ มีการเรียนร่วมกับหลักสูตรอื่น หากเป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก ควรเป็นหลักสูตรนานาชาติที่เปิดกว้างหลายภาษา และมีเนื้อหาทั้งหลักพุทธธรรมบริสุทธิ์และพุทธธรรมประยุกต์ที่เน้นมิติทางสังคม กลุ่มตัวอย่างต่างให้ความสนใจเป็นส่วนมากและยินดีจะแนะนำหลักสูตรให้ผู้อื่นและให้ความสนใจหลักสูตรระดับปริญญาโทมากกว่าปริญญาเอก

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตรศึกษา มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต แบ่งเป็น 2 แผนการศึกษา ได้แก่ แผน ก แบบ ก 1 และ แผน ก แบบ ก 2  เป็นหลักสูตรภาคพิเศษ ใช้ภาษาไทย โดยเปิดรับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจหลักคำสอนทั้งแนวพุทธศาสนาและพุทธปรัชญา สามารถบูรณาการหลักคำสอนในการแก้ปัญหาชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองอย่างเป็นระบบ ทั้งสามารถประยุกต์หลักคำสอนในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา ทั้งนี้ได้อาศัยข้อคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรข้างต้นในการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าวนี้

References

กองแผนงาน. (2560). แผนการพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12. เชียงใหม่: สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เครือวัลย์ ลิ่มอภิชาติ. (2531). หลักและเทคนิคการจัดฝึกอบรมและการพัฒนา: แนวทางการวางแผน การเขียนโครงการและการบริหารโครงการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โครงการวิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG Move. (2563). ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับSDGs. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2563, จาก www.sdgmove.com

ธงชัย สมบูรณ์. (2549). อัตลักษณ์ของชาติตามนโยบายการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปฎล นันทวงศ์ และ ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ. (2543). หลักสูตรและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา : สถาบันราชภัฏสงขลา.

ปรุตม์ บุญศรีตัน แสวง แสนบุตร และระพี แสงสาคร. (2560) . การพัฒนาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2563). แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ.2560-2564) ปรับปรุง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พนัส หันนาคินทร์. (2542). ประสบการณ์ในการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ พระมหาชุติภัค อภินนฺโท อธิพงษ์ เพชรสุทธิ์. (2558). การพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตตามหลักปรัชญาการศึกษาทางพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพทูรย์ สินลารัตน์ และสนธะวา กรมดิษฐ์. (2530). มหาวิทยาลัยกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23.

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2551).ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 44 ก. หน้า 28-57.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2518). หลักการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ศักดา ภาคจันทึก. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย).

สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : มิตรสยาม.

สนิท พาราษฎร์. (2559). การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. บุรีรัมย์: ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2020). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2563, จาก http://nscr.nesdb.go.th/ยุทธศาสตร์ชาติ/.

Abraham H. Maslow. (1943). A Theory of Human Motivation. Lanham : Dancing Unicorn Books.

Kerr. Joseph and Keneth. (1976). Meeting the Changing Need of Adults Through Education Programs and Services. Dissertation Abstracts International. 36(10),6424.

Martin G. Evans. (1970). The Effects of Supervisory Behavior Behavior on the Path–Goal Relationship. Organization Behavior and Human Performance.

McMahon, E.E. (1970). Needs-of people and their communities-and the adult education: A review of the literature of needs determination. Washington D.C: Adult Education of the USA. ERIC Document Reproduction Service. No. ED 178695.

Nadler, L. (1980). Cooperate human resource development: Management tool. New York: McGraw-Hill.

Oliva, Peter F. (1992). Developing the Curriculum (3rd ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Panyanuwat, A. (1985). The Appropriateness of participatory approach to educational needs assessment in rural upper-northern Thailand: With reference to the radio correspondence project. (Ph.D. Thesis, University of New England).

Price, S. (1994). The special needs of children. Journal of Advanced Nursing.

Raymond, N. A. (1999). Employee training & development. Singapore: Prentice-Hall.

United Nations Thailand. Retrieved 3 November 2020, from http://www.un.or.th/th/sdgs/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2021