รูปแบบการสร้างความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างล้านนากับล้านช้าง: กรณีศึกษา มูลนิธิการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • สิริโสภา ศุภกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พระพุทธศาสนา, ล้านนา, ล้านช้าง, มูลนิธิการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง, องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างล้านนากับล้านช้าง 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างมูลนิธิการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว แขวงบ่อแก้ว ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการสร้างความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างมูลนิธิการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การเข้าร่วมกิจกรรม การสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ แล้วทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างล้านนากับล้านช้างมีความสัมพันธ์กันในด้านการสืบทอดคัมภีร์และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ด้านประเพณี พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ด้านการศึกษาพระพุทธศาสนา  และด้านพุทธศิลปกรรม ในด้านความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างมูลนิธิการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว แขวงบ่อแก้ว ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้มีลักษณะความสัมพันธ์กันในด้านการผลิตและเผยแผ่ การสร้างและปฏิสังขรณ์ การพัฒนามนุษย์ การสงเคราะห์ด้วยปัจจัยสี่ การสร้างเสริมสุขภาพและการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา

รูปแบบของการสร้างความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างมูลนิธิการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว แขวงบ่อแก้ว ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีรูปแบบ 5 รูปแบบ หรือ CEPAR ได้แก่ 1) รูปแบบการสร้างความดีบนเส้นทางบุญเส้นทางธรรม(Cultivate good on the merit route) 2) รูปแบบการหนุนนำด้วยองค์ความรู้(Enhance with the Buddhist Knowledge) 3) รูปแบบการเชิดชูเสริมพลังภูมิปัญญาชุมชน(Praise and Empower local wisdom) 4) รูปแบบการสงเคราะห์คนด้วยปัจจัยสี่(Aid with four Requisites) และ 5) รูปแบบการสร้างคนดีเป็นพุทธศาสนทายาท(Reinforce Buddhist descendants) ซึ่งได้ก่อให้เกิดคุณค่า 5 ประการ หรือ IDSCP ได้แก่ 1) คุณค่าด้านการสืบทอดพระพุทธศาสนา(Inherit Buddhism) 2) คุณค่าด้านการพัฒนาสังคมสุขศานติ(Develop peaceful society) 3) คุณค่าด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว(Strengthening Economics and Tourism) 4) คุณค่าด้านการเกาะเกี่ยวพัวพันแผ่นดินสองฝั่งโขง(Connect two lands) และ 5) คุณค่าด้านการจรรโลงเกียรติคุณของมหาวิทยาลัย(Proclaim the Sangha University’s reputation) โดยมีปัจจัยที่สนับสนุนให้การสร้างความสัมพันธ์ประสบผลสำเร็จ 5 ประการ หรือ UUCCB ประกอบด้วย 1) การศึกษาและทำความเข้าใจด้านประวัติศาสตร์(Understanding history) 2) การศึกษาด้านข้อกำหนดระเบียบนโยบายของประเทศ สปป.ลาว(Understanding Lao PDR’s policy) 3) การสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดในระดับผู้นำของทั้งสององค์กรการประสานงาน(Close relationship between the leaders of two sides) 4) การสื่อสารอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทั้งสองฝ่าย(Continuous Communications) และ 5) การใช้หลักพุทธธรรมในการสร้างความสัมพันธ์(Buddha Dharma to build Relationship)

References

จักรพรรณ วงศ์พรพวัน และสาลิกา ไสวงาม.(2562). อาณาจักรล้านช้าง : ปรัชญา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

และวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำโขง. (รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

บุญลือ วันทายนต์. (2546). สังคมวิทยาศาสนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ. (2555). พระพุทธศาสนาในลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เม็ดทราย.

พระราชวรมุนี(ป.อ.ปยุตโต). (2527). สถาบันพระสงฆ์กับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยรรยง จิระนครและรัตนาพร เศรษฐกุล. (2551). ประวัติศาสตร์สิบสองปันนา. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:สร้างสรรค์

รายการไทยพีบีเอส. (2562). ตามรอยพระพุทธเจ้า 2 ตอนที่ 13 การกลับมาของเสียงพระพุทธเจ้า. สืบค้น

สิงหาคม 2562, จาก https://www.youtube.com/watch?v=2VHxOgL_hXc

ส.ศิวรักษ์.(2551).เตร็ดเตร่เจ็ดย่านน้ำของ ส.ศิวรักษ์การเยี่ยมยามเพื่อนบ้านใน๔ทศวรรษ.กรุงเทพฯ:ศึกษิตสยาม.

สมโชติ อ๋องสกุล.(2558). ชุมชนช่างในเวียงเชียงใหม่ ประวัติศาสตร์ชุมชน. เชียงใหม่: ศูนย์ล้านนาศึกษา.

สิลา วีระวงศ์. (2540). ประวัติศาสตร์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มติชน.

สิริโสภา ศุภกุล. (2564). สังเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมูลนิธิการศึกษาและเผยแผ่

พระพุทธศาสนาภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. (สารนิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

สุรชัย ศิริไกร. (2548). การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองลาว (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: คบไฟ.

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). ทฤษฎีสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกสารดำรัสว่าด้วยการคุ้มครองและปกป้องการเคลื่อนไหวศาสนา อยู่ สปป.ลาว, เอกสารเลขที่ 315/ลบ นครหลวงเวียงจัน. (2561).

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2548). ทฤษฎีและวิธีวิทยาของการวิจัยทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.

อำพล บุดดาสาร, ชาติเมธี หงษา และประยูร ป้อมสุวรรณ์. (2564). พระพุทธศาสนา: รากฐานการศึกษา

ไทยที่ควรหันมามอง [ข้อมูลอิเลคทรอนิกส์]. วารสารปณิธาน. 17(1), 99.

Martin FOX. (1986). Laos: Politics, Economics and Society. Great Britain: SRP Ltd.

Open Development Thailand. (2564). เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน. สืบค้น11พฤศจิกายน2564,

จาก https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/sustainable-development-goals/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2022