ข้อถกเถียงเรื่องที่มาของสัตตมหาสถาน

ผู้แต่ง

  • Apirak Namwicha -
  • มนตรี สิระโรจนานันท์ สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

สัตตมหาสถาน, เสวยวิมุตติสุข, พระไตรปิฎก, คัมภีร์อรรถกถา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาเรื่องที่มาของสัตตมหาสถาน และ 2) เพื่อศึกษาข้อถกเถียงเรื่องที่มาขอสัตตมหาสถาน จากการศึกษาพบว่าระยะเวลาตั้งแต่ที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ในวันดิถีขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จนถึงทรงแสดงปฐมเทศนาในวันดิถีขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 มีระยะเวลาสองเดือน ด้วยเหตุนี้ พระพุทธโฆสาจารย์ผู้เป็นพระสงฆ์ของนิกายเถรวาทอาจเห็นว่าช่วงระยะเวลาที่ปรากฏในพระไตรปิฎกยังพร่องอยู่ประมาณหนึ่งเดือนซึ่งไม่ปรากฏว่าพระบรมศาสดาทรงบำเพ็ญพุทธกิจใด ณ สถานที่ใด จึงได้เรียบเรียงคัมภีร์อรรถกถาขึ้นโดยการประมวลข้อมูลและข้อวินิจฉัยของพระเถระฝ่ายเถรวาท เช่น คัมภีร์อรรถกถาโบราณ เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อมูลที่ท่านคุ้นเคยมาก่อนแล้ว โดยไม่ได้อาศัยข้อมูลจากมหายานเพราะในเวลานั้นกำลังเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนานิกายมหายานนั้นเป็นไปทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย แต่พุทธศาสนานิกายเถรวาทเจริญรุ่งเรืองไปทางทิศใต้ของประเทศอินเดีย เพื่ออธิบายเรื่องราวการเสวยวิมุติสุขจาก 4 สัปดาห์เป็น 7 สัปดาห์ว่า จากโพธิบัลลังก์ถึงต้นอชปาลนิโครธนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้เสด็จไปในทันทีทันใด แต่ยังทรงบำเพ็ญพุทธกิจส่วนพระองค์อยู่โดยรอบโพธิบัลลังก์ต่ออีก 3 สัปดาห์ ได้แก่ อนิมิสเจดีย์ รัตนจงกรมเจดีย์ และรัตนฆรเจดีย์ จากนั้นจึงเสด็จไปประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ต้นอชปาลนิโครธในสัปดาห์ที่ 5 ต้นมุจจลินท์ในสัปดาห์ที่ 6 และต้นราชยตนะในสัปดาห์ที่ 7 ตามลำดับ กระทั่งในสัปดาห์ที่ 8 ได้ทรงพระดำเนินไปทรงแสดงปฐมเทศนาในดิถีขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เรื่องราวนี้เป็นที่มาของสัตตมหาสถานอันเป็นต้นเค้าของคัมภีร์พุทธประวัติที่รจนาขึ้นในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

References

กนกวรรณ ทองตะโก. (2565, 13 ตุลาคม). อรรถกถา. http://legacy.orst.go.th/?knowledges=อรรถกถา-19-สิงหาคม-2553

กรมศิลปากร. (2556). พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวิจารณ์เทียบลัทธิพระพุทธศาสนาฝ่ายหีนยานกับมหายาน และเรื่องสร้างพระบฏหลวง(พิมพ์ครั้งที่ 5). ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.

เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2555). สัตตมหาสถาน: พุทธประวัติตอนเสวยวิมุตติสุขกับศิลปกรรมอินเดียและเอเชียอาคเนย์. เมืองโบราณ.

บรรจบ บรรณรุจิ. (2559). พุทธปาฏิหาริย์ ตำนานหรือเรื่องจริง (พิมพ์ครั้งที่ 2). อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ปัญจานิญช์ [punjanin]. (2563, 17 กันยายน). "อภิธรรม" #1 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). [วีดิทัศน์]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=sbTyiJg1YHc

พระธรรมโสภณ (ฟื้น ปาสาทิโก). (2561). วิสาขา มิคารมาตา เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2) (พิมพ์ใน

สังเวชนียวาร วันชินวรสิริวัฒนานุสรณ์ 25 สิงหาคม พ.ศ.2561). โรงพิมพ์มหามกุฏ-

ราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). อรรถกถาภาษาไทยวินัยปิฎก เล่ม 1 ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). อรรถกถาภาษาไทยวินัยปิฎก เล่ม 3 ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (2557). พุทธประวัติ เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 56). โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วัชระ งามจิตรเจริญ. (2561). พุทธศาสนาเถรวาท (พิมพ์ครั้งที่ 4). พิมพ์ดีการพิมพ์

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม. (2558). พระปฐมสมโพธิกถา จัดพิมพ์ในการออกเมรุพระราชทานเพลิงศพพระธรรมปัญญาภรณ์ (ถาวร ติสฺสานุกโร เจริญพานิช) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน วันที่ 10 พฤษภาคม 2558. สหธรรมิก.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2565). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 37). ผลิธัมม์.

สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. (2565). ธรรมศึกษา ชั้นตรี ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป พุทธศักราช 2564. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2560). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน (จัดพิมพ์ในวาระ 100 ปีชาตกาลของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ). [ม.ป.ท.].

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2542). วิธีศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก ใน เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก.

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2544). บางแง่มุมเกี่ยวกับพระพุทธองค์. หจก.หอรัตนชัยการพิมพ์.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2565). คำอธิบายพระไตรปิฎก (พิมพ์ครั้งที่ 10) (พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต). สยามปริทัศน์.

เสถียร โพธินันทะ. (2543). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์มหามกุฏ-

ราชวิทยาลัย.

แสง มนวิทูร (ผู้แปล). (2558). คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ภาคภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2) (พิมพ์โดยเสด็จพระกุศลในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันพุธที่ 16 ธันวาคม พุทธศักราช 2558). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023