การลงโทษแก้แค้นในมุมมองพุทธปรัชญา

ผู้แต่ง

  • Atthanan Khanthawomg philosophy
  • สมหวัง แก้วสุฟอง ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การแก้แค้น, พุทธปรัชญา, การลงโทษ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นงานวิจัยเพื่อศึกษาวิเคราะห์การแก้แค้นในมุมมองทางพุทธปรัชญา เพื่อพิจารณาว่าพุทธปรัชญาจะมีมุมมองต่อการลงโทษแก้แค้นอย่างไรและอะไรคือสาเหตุที่พุทธปรัชญามีมุมมองดังกล่าว โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยเน้นศึกษาจากเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพุทธปรัชญาทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ จากการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมพุทธปรัชญาจะมีมุมมองที่ปฏิเสธการลงโทษแก้แค้น แต่หากพิจารณาให้ลึกลงไปแล้ว อาจยอมรับการแก้แค้นในบางรูปแบบ โดยส่วนที่พุทธปรัชญาปฏิเสธนั้นมาจากหลักคำสอนในเรื่อง “ทุกข์” โดยทุกข์มีสาเหตุจากตัณหา อุปาทาน กล่าวคือ ความพอใจความความยินดียินร้ายและถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ซึ่งหมายรวมเอาการแก้แค้นไว้ในนั้นด้วย และจากการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระวินัย อย่างไรก็ตาม แม้จะปรากฏหลักฐานว่าพุทธปรัชญาจะมีระเบียบวิธีเพ่งโทษต่อผู้ที่ทำความผิด แต่ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้กระทำผิดกลับตัว โดยเชื่อว่ามนุษย์นั้นสามารถฝึกตนได้ ส่วนในมุมมองพุทธปรัชญาอาจยอมรับการแก้แค้นในบางรูปแบบนั้นมาจากการศึกษาในเรื่องกฎแห่งกรรม ซึ่งสรุปได้ว่าหากใครทำกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมสนองต่อการกระทำนั้นอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง ดุจเป็นเงาที่ติดตามตัวเขา โดยเชื่อว่ากรรมคือสิ่งที่คอยจัดสรรผลลัพธ์ของการกระทำต่าง ๆ ไว้อย่างเหมาะสม

References

ก. เอกสารปฐมภูมิ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระพุทธโฆษเถระ รจนา. (2554). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. พิมพ์ครั้งที่ 10. สมเด็จพระพุฒาจารย์

(อาจ อาสภมหาเถร) แปล. กรุงเทพฯ : ธนาเพลส จำกัด

ข. เอกสารทุติยภูมิ

ชาญณรงค์ บุญหนุน. (2561). “ความเป็นธรรมในทัศนะของพุทธศาสนาเถรวาท”. วารสารปณิธาน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 14, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) : 362-399.

ชาญณรงค์ บุญหนุนและคณะ. (2554). โครงการ “อารมณ์กับจริยศาสตร์”. (รายงานผลการวิจัย).

กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). 2559. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ :

เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ : นานมี

บุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

สกล นิศารัตน์. (2545).กฎหมายอาญาและการลงโทษที่เหมาะสม : แนวความคิดทางด้านปรัชญา

และความยุติธรรมทางสังคม. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์).

สมภาร พรมทา. (2543). ทุกข์ในพุทธปรัชญา : มุมมองจากลัทธิดาร์วิน. (รายงานผลการวิจัย)

กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

______ (2548). “พุทธศาสนากับโทษประหารชีวิต”. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย 12, 3 (กันยายน-ธันวาคม) : 5-116.

Robert Nozick. (1981). Philosophical Explanations. Harvard University Press.

Massachusetts : Harvard University Press.

ค. เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (256...). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (ฉบับข้อมูล

คอมพิวเตอร์ครั้งที่ 24) พิมพ์ครั้งที่ 55 สืบค้น 27 มีนาคม 2566 https://

www.watnyanaves.net/uploads/File/books/

pdfbuddhadhamma_extended_edition.pdf

Finnis, J. (1999). Retribution: Punishment's Formative Aim. The American Journal of

Jurisprudence, 44,1 : 91-103. สืบค้น 27 พฤษภาคม 2566 https://doi.org/10.1093/aj/44.1.91

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023