แนวคิดเรื่องอจินไตยในพระพุทธศาสนาเถรวาท: ความหมายและความเข้าใจ
คำสำคัญ:
อจินฺเตยฺย, อจินไตย, ความหมาย, การตีความ, คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทบทคัดย่อ
คำว่า อจินฺเตยฺย (อจินไตย) ในการรับรู้ของชาวพุทธแปลว่า สิ่งไม่ควรคิด เชื่อมโยงไปสู่อจินฺเตยยสูตรในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ซึ่งพจนานุกรมพระพุทธศาสนาในประเทศไทยต่างเห็นพ้องกันด้วยเหตุผลจากไวยากรณ์ของภาษาบาลีว่าต้องแปลเป็น “ไม่ควรคิด” หรือ “ไม่พึงคิด” แต่ความหมายจากการแปลเป็นภาษาไทยในปัจจุบัน เมื่อนำไปใช้กับบริบทในพระสูตรอื่นที่แปลด้วยวิธีการทับศัพท์กลับไม่สอดคล้องกับบริบท ในบทความฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาเชิงเอกสารผ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทที่ปรากฏการใช้งานคำว่า อจินไตยในที่ต่าง ๆ แล้วนำมาศึกษา ตีความตามแนวคิด 1) การตีความตัวบทผ่านระบบภาษาของคัมภีร์ 2) การเชื่อมโยงข้อความในตัวบทอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน และ 3) การตีความตามเจตนารมณ์ของผู้บันทึกหรือผู้สอน แล้วจึงวิเคราะห์เพื่อให้เห็นนัยยะต่าง ๆ ของคำว่า อจินไตย จากความหมายเดิม และให้ความเห็นเป็นความหมายเพิ่มเติมจากบริบท
ผลการศึกษาพบว่า ระบบภาษาของคำว่า อจินฺเตยฺย จากไวยากรณ์บาลีทุกสายถูกบังคับให้แปลว่า “ไม่ควรคิด” หรือ “ไม่พึงคิด” ส่วนการตีความด้วยการเชื่อมโยงข้อความจากตัวบทอื่น และการตีความตามเจตนารมณ์ของผู้สอน ทำให้พบความหมายใหม่จาก 3 นัยยะ คือ 1) นัยยะของการห้าม ด้วยคำว่า “ไม่ควรคิด” โดยห้ามในสิ่งที่ไม่สามารถใช้วิสัยแห่งปฏิปทาที่ต่ำไปคิดหรือรู้ในเรื่องที่วิสัยแห่งปฏิปทาที่สูงกว่ารู้ได้ 2) นัยยะของการเปรียบเทียบคุณค่า ด้วยคำว่า “มีคุณค่ามากจนไม่สามารถคิดได้” จากประสบการณ์ในอดีตกับประสบการณ์ใหม่ที่พึ่งได้รับรู้แล้วเปรียบเทียบคุณค่า และ 3) นัยยะของวัตถุที่มีคุณค่ามากในตัว ด้วยคำว่า “ไม่สามารถอธิบายได้” “มีอานุภาพมากจนไม่สามารถคิดได้” โดยส่วนใหญ่เป็นนามธรรมที่มีคุณค่ามากในตัวเองและมีอานุภาพจนไม่สามารถอธิบายได้ว่า มีอานุภาพมากเท่าใด เช่น การอธิบายอานุภาพธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานว่า มีอานุภาพเท่าใด ดังนั้น ความหมายเพิ่มเติมของคำว่า อจินฺเตยฺย คือ “ไม่สามารถคิดได้” จึงเป็นอีกความหมายที่ควรนำมาใช้ประกอบการศึกษาและอธิบายพระสูตรที่มีการใช้คำว่า อจินไตย แทนการทับศัพท์เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจบริบทที่ปรากฏพร้อมกับคำว่า อจินไตย ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
References
อักษรย่อ
PTS พระไตรปิฎกฉบับสมาคมบาลีปกรณ์
PTSD พจนานุกรมบาลี-อังกฤษของสมาคมบาลีปกรณ์ (Davids, T.W. Rhys and William Stede. The Pali Text Society's Pali-English Dictionary. The Pali Text Society, 1921-1925.)
Vim Vv คัมภีร์ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ฉบับสมาคมบาลีปกรณ์ (The Pali Text Society. Vimānavathu: Stories of the Mansions. Traslated by I.B. Horner. London: The Pali Text Society, 2005.)
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
จอร์จ ดี. บอนด์. (ม.ป.ป.) หลักการตีความในเนติปกรณ์ และเปฏโกปเทส แปลโดย. พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://bookstore.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=455&articlegroup_id=102
โดนัลด์ เอส. โลเปส, "ศาสตร์แห่งการตีความแนวพุทธ," แปลโดย. พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 27 มีนาคม 2558, https://www.mcu.ac.th/article/detail/513.
บุญสืบ อินสาร. (2555). พจนานุกรมบาลี-ไทย ธรรมบทภาค 1-4. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ประยุทธ์ หลงสมบุญ. (2546). พจนานุกรม มคธ-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสาร จำกัด.
นิติ มณีกาญจน์. (2556). “ความจริง” และ “วิธีการ” : แนวคิดการตีความตัวบทของ Hans-Georg Gadamer. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1), บทคัดย่อ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2536). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
. (2555). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. (พิมพ์ครั้งที่ 6) กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระครูสังฆรักษ์พีรยุทธ ญาณวโร. (2557). ศึกษาสติและสัมปชัญญะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2558). ไวยากรณ์บาลี ตามแนวกัจจายนวยากรณ์ โมคคัลลานวยากรณ์ สัททนีติปกรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย: นครปฐม.
สุชญา ศิริธัญภร. (2557). วิจารณ์สดุดีคัมภีร์เนตติปกรณ์. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 1(2), 143-155.
อุทัย สติมั่น. (2561). จักกวัตติสูตร: ศึกษาวิเคราะห์บนฐานทฤษฎีอรรถปริวรรตศาสตร์. วารสารธรรมธารา, 4(1), 37.
ภาษาอังกฤษ
Davids, T.W. Rhys and William Stede. (1921-1925). The Pali Text Society's Pali-English Dictionary. The Pali Text Society.
Rachasak Jirawat. (2560). Prescriptive Grammar in Spoken English and Its Role in the Classroom. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 32(2), 27-40.
The Pali Text Society. (2005). Vimānavathu: Stories of the Mansions. Traslated by I.B. Horner. London: The Pali Text Society.
The Stanford Encyclopedia of Philosophy. (2017). Friedrich Daniel Ernst Schleiermacher. Retrieved April 21, 2022, from https://plato.stanford.edu/entries/schleiermacher/#HermIeTheoInte.
Walters, Jonathan S. (2018). Legends of the Buddhist Saints. Jonathan S’ Walters and Whiteman College.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารปณิธาน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th