ต้นไม้ประจำคนตาย : การอนุรักษ์เชิงพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • รัตนะ ปัญญาภา รองศาสตราจารย์ ดร.รัตนะ ปัญญาภา https://orcid.org/0000-0001-7801-9340

คำสำคัญ:

ต้นไม้, คนตาย, พุทธบูรณาการ, สิ่งแวดล้อม, การพัฒนาอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอการอนุรักษ์เชิงพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยการปลูกต้นไม้ประจำคนตาย โดยสังเคราะห์จากแนวคิดกฎธรรมชาติในพระพุทธศาสนากับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์เชิงพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยการปลูกต้นไม้ประจำคนตายมีองค์ประกอบสำคัญสามประการ คือ 1) หลักการ คือ ชีวิตเกิดจากธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และสุดท้ายต้องกลับคืนสู่ธรรมชาติ การดำรงชีวิตควรดำเนินไปด้วยความไม่ประมาท และหลังจากเสียชีวิตแล้ว ร่างกายหลังความตายควรจะมีประโยชน์ต่อโลกให้มากที่สุด 2) คุณค่าของต้นไม้ประจำคนตายมีสามประการ คือ เป็นสื่อการเรียนรู้ให้ผู้ยังมีชีวิตอยู่ได้เรียนรู้กฎธรรมชาติ, เป็นเครื่องอนุสรณ์ถึงผู้ตายและถือว่าเป็นตัวแทนของผู้ตาย, และ เป็นการปลูกป่าเพิ่มขึ้นและเป็นการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน และ 3) วิธีการ: ใช้พวงหรีดเป็นพวงหรีดต้นไม้ แล้วนำไปปลูกในพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่สาธารณะโดยนำเถ้ากระดูกของคนตายไปผสมกับดินในหลุมปลูกต้นไม้ วิธีการนี้เป็นการคืนร่างกายมนุษย์กลับคืนสู่ธรรมชาติคือดินและเป็นการบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้ตายในรูปแบบใหม่ ที่ปรากฏผลเชิงประจักษ์ในแง่ของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

References

กรมอนามัย. (2552). คู่มือการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในวัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.

คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2543). วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1. พิมพ์ครั้ง ที่ 10. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2548). อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา ฉบับแปลเป็นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

บีบีซีนิวส์. (2564). โควิด-19 : ผู้คนหันมาใช้บริการทำศพแบบทางเลือกมากขึ้นในยุคโรคระบาด. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.bbc.com/thai/international-56973694

บีบีซีนิวส์. (2565). บริการโปรยเถ้ากระดูกด้วยโดรน มิติใหม่ในธุรกิจงานศพ. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.bbc.com/thai/international-63605729

ประนอม ปยะสาธุกิจ. (2554). วัดกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางการจัดการ. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2566, จาก http://reo06.mnre.go.th/newweb/

ผู้จัดการออนไลน์. (2560). งานศพต้นแบบ! อดีต ผอ.กศน.เลยสั่งเสียก่อนตาย ขอต้นไม้เพื่อปลูกป่าแทนพวงหรีด. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2566, จาก https://mgronline.com/local/detail/9600000071600

พระครูภัทรจิตตาภรณ์, วิเชียร นามการ, พระครูอัครศีลวิสุทธิ์, สุทธิวิทย์ จันทร์ภิรมย์, พระสุวิจักขณ์ กุลยศชยังกูร. (2564). ศึกษาประเพณี พิธีกรรมกับคติความเชื่องานฌาปนกิจศพในกระแสบริโภคนิยม ของวัดหนองไผ่ ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่” วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ณ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 963-973.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พีพีทีวีออนไลน์. (2565). ห้ามลอยอังคารลงน้ำมูล เหตุกระทบสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2566, จากhttps://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/168527

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มิ่งขวัญ รัตนคช. (2562). โครงการปลูกต้นไม้ด้วยเถ้ากระดูก ภารกิจคืนร่างกายมนุษย์สู่ธรรมชาติที่เปลี่ยนความรัก ปรารถนาดี ต่อผู้ตายให้กลายเป็นป่า. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2566, จาก https://readthecloud.co/yod-lauan/ (The Cloud: The Magazine on Cloud about

Local Creative Culture and Better Living)

รัชพล ศิริรัตน์พิริยะ. 2566). ความเชื่อ ประเพณี และวิถีปฏิบัติต่ออัฐิของพุทธศาสนิกชนไทย [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(1), 140-153.

รัตนะ ปัญญาภา. (2562). รูปแบบพวงหรีดเชิงสร้างสรรค์สำหรับงานศพชาวพุทธในชุมชนชนบท จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: ทองพูลทรัพย์การพิมพ์.

รุจิราภา งามสระคู. (2561). โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาต้นแบบพวงหรีดเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 252-266.

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2561). อยู่ก็เป็นปัญหา ตายยิ่งเป็นภาระ. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.the101.world/green-burial-2/

วิชิตา คะแนนสิน และ ณัฐมน สุนทรมีเสถียร. (2564). งานศพวิถีใหม่ เมื่อเราเลือกได้ว่าตายแล้วจะไปที่ชอบที่ชอบ. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2566, จาก https://becommon.co/culture/living-alternative-burial/#accept

โอชิ จ่อวาลู. (2562). ต้นไม้มีสะดือ: การเกิดของเด็กประปากะเญอที่ช่วยรักษาป่าและต้นไม้ธรรมขาติซึ่งเกี่ยวข้องกับชาวประปากะเญอตั้งแต่เกิดจนตาย. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2566, จาก Https://Readthecloud.Co/Umbilical-Cord-Trees/

Bernd Debusmann Jr. ‘More and more people don’t want a traditional burial’. Retrieved May 4, 2023, from https://bbc.in/3xs9l81

Gunseli Yalcinkaya. (2019). Egg-shaped burial pod aims to “change our approach to death”. Retrieved May 4, 2023, from https://www.dezeen.com/2019/03/31/capsula-mundi-egg-shaped-burial-pod/

Katy Dartford. (2021). The first ever human composting centre opens this year. Retrieved May 4, 2023, from https://www.euronews.com/green/2021/02/05/truly-becoming-one-with-nature-you-can-now-be-composted-when-you-die

Melissa Breyer, 2019) loating Ice Urn Makes for a Unique Eco-Friendly Memorial. Retrieved May 4, 2023, from https://www.treehugger.com/floating-ice-urn-makes-uniquely-eco-friendly-memorial-4854050

Rozina Sini. (2019). Would you get buried in a mushroom suit like Luke Perry?. Retrieved May 4, 2023, from https://www.bbc.com/news/48140812

Stephanie Pappas. (2011). After Death: 8 Burial Alternatives That Are Going Mainstream. Retrieved May 4, 2023, from https://www.livescience.com/15980-death-8-burial-alternatives.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023