กลยุทธ์สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ “หัวใจกตัญญู” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมชนบท จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ชวลิต ขอดศิริ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ https://orcid.org/0000-0001-8907-8928
  • วชิรา เครือคำอ้าย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ , สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ , หัวใจกตัญญู , คุณภาพชีวิต , ผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ “หัวใจกตัญญู” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมชนบท จังหวัดเชียงใหม่ 2) การใช้แผนกลยุทธ์สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ “หัวใจกตัญญู” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมชนบท จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เสนอแนวทางนโยบายสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ “หัวใจกตัญญู” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมชนบท จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัย
และพัฒนา มีการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายที่ประกอบด้วยผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 30 คน ที่เป็นสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่ วิธีการเก็บข้อมูลประกอบด้วย การศึกษาเอกสารพื้นฐานการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า มีการนำหลักการของสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ ทั้งหมด 5 กลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย การบริหารจัดการสื่อเทคโนโลยี การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ คณะกรรมการดำเนินงานสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ สมาชิกสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์
และเครือข่ายสัมพันธ์ โดยการปรับใช้แผนกลยุทธ์สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์“หัวใจกตัญญู” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมชนบท และเสนอแนวทางนโยบาย
ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2567) และแนวทางนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชนระดับท้องถิ่น ภูมิภาคและประเทศ

Author Biography

ชวลิต ขอดศิริ, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ภาควิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545-2564.

ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : เทพเพ็ญวานิสย์.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). ประชากรสูงอายุไทย : ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ : กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ

มนุษย์.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). กลยุทธ์การสร้างความเข้มแข็งของ

เครือข่ายผู้สูงอายุของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สืบค้น 20 สิงหาคม 2566,

จาก https://drive.google.com/file/d/145P4YtwE_KqznCkvSwYoDaDNQ_8Y1_Fv/view

จรีนุช จินารัตน์. (2546). การดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องของชมรมผู้สูงอายุ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ:

กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุบ้านปากน้ำ ต.กุดลาด อ.เมือง จ.อุบลราชธานี. สืบค้น 20 สิงหาคม 2566,

จาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/MU.the.2003.56

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). สังคมสูงวัยกับความท้าทายของตลาดแรงงานไทย. โครงการศึกษา

ด้านโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีนัยต่อการดำเนินนโยบาย. กรุงเทพฯ : สายนโยบายการเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย.

นภเรณู (สัจจรัตน์) ธีระฐิติ และพจนา พิชิตปัจจา. (2560). ทิศทางและนโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ของผู้สูงอายุในประเทศไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. นครปฐม :

มหาวิทยาลัยมหิดล.

บรรลุ ศิริพานิช. (2560). ผู้สูงอายุไทย : ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรของสังคม. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.

พัชรา สังข์ศรี. (2555). แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุในภาคกลาง.

สืบค้น 20 สิงหาคม 2566, จาก

https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/MCRU.res.2012.4

พันนิภา บุญจริง. (2558). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ ตำบลธาตุน้อย อำเภอ

เขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 8(2), 1-7.

ภัทรพรรณ ทำดี. (2560). ตัวตน สังคม วัฒนธรรม : เงื่อนไขสู่การสูงวัยอย่างมีศักยภาพของผู้สูงอายุ

ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์. 47(2), 109-131.

มานิตย์ ซาชิโย. (2555). การเรียนรู้ตลอดชีวิตและพระพุทธศาสนาบูรณาการการพัฒนาสังคม

เพื่อการพึ่งตนเองภายใต้กลไกขับเคลื่อนประชารัฐ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์.

(4), 288-302.

วิมล ชาตะมีนา, วชิรา วราศรัย และรุ่งทิพย์ จินดาพล. (2551). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหาร

จัดการและดำเนินโครงการของ อบจ.แพร่ และของ อบจ.พิษณุโลก. รายงานวิจัยเลขที่

RDG5040021. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สุชาติ ลี้ตระกูล, นาวิน พรมใจสา, ภูริพัฒน์ แก้วศรี และธัญณชน ใจบุญตัน. (2561). การขับเคลื่อน

เครือข่ายทางสังคมในการสร้างการรับรู้และการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุที่ยากจน

ในชุมชนเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ. 12(2). 15-27.

สุภารักษ์ จูตระกูล. (2559). ครอบครัวกับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล (Digital Literacy) ของดิจิทัลเนทีฟ

(Digital Natives). วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 11(1), 99-118.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). รายงานการวิจัยเปรียบเทียบ

เพื่อพัฒนานโยบาย เรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ :

พริกหวานกราฟฟิค.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024