เอเจนซี่ของครอสเดรสประเทศไทยผ่านทัศนะของฮันนาห์ อาเรนดท์

ผู้แต่ง

  • Panthanit Jaithon -
  • อำนวยพร กิจพรมมา ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

องค์ประธาน, เอเจนซี่, การแสดงตัวตน, พื้นที่ส่วนตัว, พื้นที่สาธารณะ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องเอเจนซี่ของครอสเดรสประเทศไทยในทัศนะของฮันนาห์ อาเรนดท์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เอเจนซี่ของครอสเดรสไทยผ่านทัศนะเรื่องพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะของฮันนาห์ อาเรนดท์  โดยการค้นคว้าจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องประกอบกับการสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มครอสเดรสผู้ซึ่งเป็นผู้ชายแท้โดยทั้งทางจิตใจและทางกายภาพแต่มีความชื่นชอบหรือมีรสนิยมแต่งเป็นผู้หญิงขึ้นมาเป็นกลุ่มศึกษาเอเจนซี่ ผลการศึกษาพบว่าเอเจนซี่ของพวกเธอคือความสามารถในการแสดงตัวตนผ่านร่างที่แต่งเป็นหญิงและร่างนี้กลายเป็นองค์ประธาน (subject) ที่ซึ่งมีชีวิตและมีความสามารถที่จะดำเนินชีวิตได้ทั้งในพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ และองค์ประธานที่แต่งหญิงคือชีวิตใหม่ อันเป็นผลจากการเรียนรู้ความแตกต่างของสภาวะระหว่างความเป็นชายแท้ในร่างดั้งเดิมกับความเป็นผู้หญิงจากเสื้อผ้า สถานการณ์ของผู้หญิง และผู้คนที่ปะทะสังสรรค์กับเธอในฐานะที่เธอคือผู้หญิง ผลการวิจัยมีสอดคล้องกับทัศนะของอาเรนดท์ โดยผู้วิจัยพบว่าภายในพื้นที่ส่วนตัวเอเจนซี่ของครอสเดรสสามารถเกิดขึ้นได้และดำเนินการได้อย่างเป็นอิสระ ส่วนภายในพื้นที่สาธารณะสามารถดำเนินการได้อย่างมีเงื่อนไขภายใต้สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมทางสังคมที่พวกเธอได้นำร่างกายที่แต่งเป็นหญิงออกไปปะทะสังสรรค์

References

ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2554). คนข้ามเพศ : ตัวตน วัฒนธรรมย่อย และพื้นที่ทางสังคม. Damrong Journal,

-125.

พรเทพ แพรขาว, นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, สหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ, สุระ อินตามูล และสุไรพร ชลวิไล. (2556).

เพศหลากเฉดสี : พหุวัฒนธรรมทางเพศในสังคมไทย = Cultural pluralism and sex/gender diversity in Thailand. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

พิศาล มุกดารัศมี. (2561). Vita Activa : การรื้อฟื้น "มนุษย์สภาวะ" ของฮันนาห์ อาเรนดท์. กรุงเทพมหานคร:

Illuminations Editions.

สุไลพร ชลวิไล และ อโนพร เครือแตง. (2562). เพศแห่งสยาม: ประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศ.

กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

AgeUK. (2023, July). ageuk. Retrieved from Trans issues and later life :

https://www.ageuk.org.uk/globalassets/ageuk/documents/factsheets/fs16_trans_issues_a

nd_later_life_fcs.pdf

Alberta L Reynolds Ms and Sandra L. Caron. (2000). How Intimate Relationships Are Impacted

When Heterosexual Men Crossdress. Journal of Psychology & Human Sexuality , 66-77.

Allen, A. (2002). Power, Subjectivity, and Agency: Between Arendt and Foucault. International

Journal of Philosophical Studies, 131-149.

Arendt, H. (1958). The Human Condition. United States: University of Chicago Press.

Ballesteros, A. (2018). Hannah Arendt: from Property to Capital … and Back? Archiv für Rechts-

und Sozialphilosophie , 184-201.

Beemyn, B. G. (2004). Cross-Dressing. Retrieved from www.glbtqarchive.com:

http://www.glbtqarchive.com/ssh/cross_dressing_ssh_S.pdf

Bignall, S. (2010). Postcolonial Agency: Critique and Constructivism. United Kingdom: Edinburgh

University Press.

Canovan, M. (1985). POLITICS AS CULTURE: HANNAH ARENDT AND THE PUBLIC REALM.

History of Political Thought, 617-642.

Cremin, C. (2017). Man-Made Woman The Dialectics of Cross-Dressing. Pluto Press.

Farooq, Q. (2020). Eroticism and Mysteries of Cross-Dressing: Increasing Trends of Male to

Female Cross-Dressing in Pakistani Society. European Scientific Journal, 90-101.

HAVELKOVÁ, H. (1996). Ignored But Assumed. Family and Gender Between Public and Private

Realm. Czech Sociological Review, 63-79.

Joseph Kling. (1995). Review: Structure, Agency, and Marxist Understandings of the City. Vol. 57,

No. 1 (Winter, 1995), pp. 143-14

Thuma, A. (2011). Hannah Arendt, Agency, and the Public Space. IWM Junior Visiting Fellows’

Conference Proceedings, Vol. XXIX (pp. 1-9). IWM.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024