ความ เปลี่ยนแปลงทางสุนทรียทัศน์ในหนังตะลุงภาคใต้
บทสะท้อนคิดจากมโนทัศน์เรื่องการเล่นของฮันส์-เก-ออร์ก กาดาเมอร์
คำสำคัญ:
การเล่น, หนังตะลุง, กาดาเมอร์, สุนทรียทัศน์บทคัดย่อ
บทความเรื่องความเปลี่ยนแปลงทางสุนทรียทัศน์ในหนังตะลุงภาคใต้ : บทสะท้อนคิดจากมโนทัศน์การเล่นของฮันส์-เก-ออร์ก กาดาเมอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางสุนทรียทัศน์ในหนังตะลุงภาคใต้, ศึกษามโนทัศน์การเล่นของกาดาเมอร์ และเพื่อสะท้อนคิดมโนทัศน์การเล่นของกาดาเมอร์จากหนังตะลุงภาคใต้ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยเน้นศึกษาจากตำรา เอกสารเชิงวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า ณ จุดเริ่มต้นหนังตะลุงภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ทำให้มีลักษณะเป็นการแสดงที่มุ่งสั่งสอนศีลธรรมแก่ผู้ชม ซึ่งเนื้อเรื่อง ตัวหนัง ไม่ได้มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับชีวิตประจำวัน ในยุคต่อมาหนังตะลุงได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเนื้อเรื่อง ตัวหนัง วิธีการนำเสนอทำให้เป็นการเล่นที่มีการโต้ตอบ และเกี่ยวข้องกับชีวิตจริงมากขึ้น เมื่อทำความเข้าใจการเล่นจากมโนทัศน์ของกาดาเมอร์จะพบว่า การเล่นคือการทำความเข้าใจงานศิลปะในรูปแบบหนึ่งผ่านการเข้าไปมีส่วนร่วมที่ไม่ได้ยึดโยงกับการตัดสินของผู้ชมในฐานะองค์ประธานแห่งการรับรู้ ตัวงานศิลปะเองก็มีความสำคัญไม่ใช่แค่วัตถุที่รอคอยการถูกตัดสิน ในขอบเขตการเล่นจะเห็นได้ถึงการเคลื่อนไหวไปมาระหว่างผู้เล่นที่เกิดขึ้นเสมอ แสดงให้เห็นว่าสุนทรียทัศน์ของหนังตะลุงภาคใต้ในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงจากการแสดงที่เป็นของสูงมีความศักดิ์สิทธิ์มาเป็นการเล่นที่สามารถโต้ตอบไปมาและอยู่ในระนาบเดียวกันกับผู้ชม
References
กลิ่น คงเหมือนเพชร. (2562). คนเล่นเงา. ศิรินาถ ก๊อปปี้เซ็นเตอร์.
กีรติ บุญเจือ. (2522). ปรัชญาศิลปะ. ไทยวัฒนพานิช.
จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย. (2558) หนังตะลุงภาคใต้: รากเหง้าและเบ้าหลอม "ตัวตนของคนใต้". สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 14(2), 11-30.
นิติ มณีกาญจน์. (2556). ความจริง” และ “วิธีการ”: แนวคิดการตีความตัวบทของHans-Georg Gadamer. วารสารสังคมศาสตร์, 241-250.
พิทยา บุษรารัตน์. (2546) การแสดงพื้นบ้าน: การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรมบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา กรณีศึกษาหนังตะลุงและโนราช่วงการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงปัจจุบัน (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พิพัฒน์ สุยะ. (บรรณาธิการ). (2566). วิธีวิทยาทางปรัชญา. โครงการวิธีวิทยาทางปรัชญา.
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์ . (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 17.
ไมตรี จันทรา. (2548) รูปแบบการแสดงหนังตะลุงที่พึงประสงค์ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ยงยุธ ชูแว่น. (บรรณาธิการ). (2541). โลกของลุ่มทะเลสาบ สำนักพิมพ์นาคร.
ลักษณวัต ปาละรัตน์. (2561). สุนทรียศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่3). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ลูกทุ่งวัฒนธรรม Channel (2564, ธันวาคม). แนะนำทักษะการใช้เสียง ตัวละครหนังตะลุงแบบหนังน้องเดียว. สืบค้น วันที่ 10 ตุลาคม 2565, จาก https://youtu. be/ZbBDpXxLYAI?si=Ob C96 TXlIg VLkQ7C
ลูกทุ่งวัฒนธรรม Channel (2565, พฤษภาคม). หนังตะลุงน้องเดียว ลูกทุ่งวัฒนธรรม ตอน ฮาได้เรื่องมุกการเมืองโดนใจ. สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 ตุลาคม 2565, จาก https://youtu.be/dEGssTX-u_k?si=lLQ-k2IcZFtCuASe
วิเชียร ณ นคร. (2554). หนังตะลุงที่ใช้กลอนมุดโตในปัจจุบัน. รูสมิแล, 11(3), 65-68.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (2544, ธันวาคม). เล่น. ใน dictionary.orsg.go.th. สืบค้นจาก https://dictionary.orst.go.th/index.php
สุกรี เกษรเกศรา. (2561). ส่องแสง-แลเงา อดีตที่ทอดยาวถึงปัจจุบันสู่การสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
สุพจน์ จิตสุทธิญาณ. (2564). สุนทรียศาสตร์ เบื้องต้น. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อเนก นาวิกมูล. (2546) หนังตะลุง-หนังใหญ่. พิมพ์คำสำนักพิมพ์
อัศวิน ศิลปะเมธากุล. (2556). การทำรูปหนังตะลุงร่วมสมัย. โรงพิมพ์ปัตตานีการช่าง
Gadamer, H. G. (2004). Truth and Method. (3 rd ed.). Translated by Weisheimer, J., & and Marshall, G. D. Continuum.
Monica, V. (2010). Gadamer's Ethic of Play Hermeneutics and other. Lexington Books.
Cambridge University Press. (n.d.). play. In dictionary. Cambridge.org. Retrieved from https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/play.
Palmer R. E. (1969). Hermeneutics interpretation Theory in Schleiermacher, Dilthey, Heidegger, and Gadamer. Northwestern University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th