การ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโครงการวัดบันดาลใจ
คำสำคัญ:
การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, กิจกรรมการเรียนรู้, โครงการวัดบันดาลใจบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา สาเหตุ อุปสรรคการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ โครงการวัดบันดาลใจ 2) ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้โครงการวัดบันดาลใจ 3) เสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ในโครงการวัดบันดาลใจ พื้นที่วิจัยได้แก่ โรงเรียนพุทธศาสตร์ วัดบุญชุม ตำบลห้วยลาน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสาน (Mixed Method) ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ 1) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 38 รูป/คน 2) กลุ่มเป้าหมายทดสอบโปรแกรมกิจกรรม 114 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์ แบบวัดความสุขเชิงพุทธ แบบประเมินความพึงพอใจ ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้มีลักษณะไม่เป็นทางการ ไม่เน้นวิชาการ แต่เน้นกิจกรรมสังสรรค์ นันทนาการ และการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มาพบปะเพื่อนฝูง พูดคุย แลกเปลี่ยนทัศนคติ ตลอดถึงความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ 2) กิจกรรมการเรียนรู้และหลักสูตรที่จะใช้ ต้องมาจากความร่วมมือกับเครือข่าย การพัฒนาหรือออกแบบหลักสูตรใดๆ จะต้องตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ที่สำคัญต้องเป็นกิจกรรมง่ายๆ สิ่งที่ง่ายๆ เข้ากับวิถีชีวิตใช้งานได้จริง มีกิจกรรมหลากหลาย มีวัสดุอุปกรณ์ มีงบประมาณ มีวิทยากร จิตอาสา เน้นกิจกรรมภาคปฏิบัติ มีการสาธิต มีตัวอย่าง มีของรางวัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ 3) รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วมให้ครอบคลุมมิติ ทั้งด้านกาย ศีล จิต และปัญญา แบบเป็นองค์รวมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2566). แผนปฏิบัติราชการกรมกิจการผู้สูงอายุ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570). สืบค้นจากhttps://www.dop.go.th/download/laws/th1691739659-845_0.pdf
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). การจัดให้มีระบบขนส่งมวลชนที่เอื้อให้คนพิการและผู้สูงอายุสามารถใช้บริการได้อย่างสะดวกและเพียงพอ. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/know/15/645.
กิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2562). สภาพปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/168981/157464
นัชชา เรืองเกียรติกุล, (2565). การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน ประเทศญี่ปุ่น. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2565; 5(4):259-266. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/260426/176078
ประเวศ วะสี. บนเส้นทางใหม่การส่งเสริมสุขภาพอภิวัฒน์ชีวิตและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน, 2542).
พระมหาธณัชพงศ์ สุพฺรหฺมปญฺโญ (คิดอ่าน). (2565). แนวทางการพัฒนาพื้นที่วัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะของชุมชน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
ภารดี นานาศิลป์. (2558). แกนความรู้การพยาบาลผู้สูงอายุ: ผู้สูงอายุคือใคร อายุ หรือ ปัจจัยใดช่วยกำหนด. วารสารพยาบาล พยาบาลสาร. ปีที่ 42 ฉบับพิเศษ ธันวาคม. จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57311/47524
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สถาบันอาศรมศิลป์. (2567). โครงการวัดบันดาลใจ. สืบค้นจาก https://www.watbundanjai.org.
สุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์. (2565). แนวทางในการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ ในรูปแบบห้องเรียนหลากหลายวัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม. จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/259892/175440
Fern AK. Benefits of physical activity programming modifications to enhance the exercise experience. ACSM’s Heal Fit. 2000; 13:12–6.
Frances W, Caren JF, Scott S, Ruth G-M, Reiko H, Yomei N, et al. Japanese elders’ perceptions of the impact of Home and Community based Long Term Care services on quality of life and independence. [Internet]. [cited 2019 Nov 1]. EJCJS 2013;13(3). Available from: http://www.japanesestudies.org.uk/ejcjs/vol13/iss3/wilby.html
Gruenenfelder-Steiger AE, Katana M, Martin AA, Aschwanden D, Koska JL, Kündig Y, et al. Physical activity and depressive mood in the daily life of older adults. GeroPsych. 2017; 30:119–29.
WHO (2002) Active Ageing, A Policy Framework. Geneva, World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th